Understanding the Dynamics of Water to Prevent Flood
- Geerati Tiasiri
- November 27, 2012
- Ponder
- Bangkok Flood, FENN DESIGNERS, Flood, Flood Prevention, Geerati Tiasiri, water
- 0 Comments
คนส่วนใหญ่คงจำได้เรื่องฝนพันปีที่เคยท่วมทำความเสียหายให้แก่ประเทศไทย และ กรุงเทพมากมาย เมื่อสมัยที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ปี 2528
และทุกคนคงจำได้ไม่ลืมเลือนถึงความตระหนกกลัว เมื่อปีที่แล้ว(2554) ที่มวลน้ำเหนือไหลบ่าเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร ผสมโรงกับน้ำฝนที่ไหลหลั่งลงมาจากฟากฟ้าวันแล้ววันเล่า เท่าที่จำความได้ ยังไม่เคยมีปีไหนที่น้ำเหนือจะไหลบ่าลงมาด้วยมวลน้ำที่มากมายมหาศาลขนาดนี้
จาก 2 เหตุการณ์ที่กล่าวถึงข้างต้น ต่างเกิดจากธรรมชาติ ช่างโหดร้ายเหลือเกิน ที่ทำให้ฝนตกมากผิดปรกติ เหตุการณ์แรกเขื่อนที่อยู่ด้านเหนือน้ำ ได้รับการบริหารจัดการอย่างดี เก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนในปริมาณที่เหมาะสม กรุงเทพจึงต่อสู้กับภัยจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ส่วนเหตุการณ์ที่ 2 ที่ผ่านเราไปหยกๆ เขื่อนต่างๆ ไม่ได้รับการบริหารจัดการที่เหมาะสม หรืออีกนัยหนึ่งคือ เขื่อนทุกเขื่อนต่างเก็บกักน้ำไว้เต็มปริมาณความจุของตัวเขื่อน เมื่อเกิดเหตุผิดปรกติ คือ มีดีเปรสชั่นเกิดขึ้น 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน และด้วยเคราะห์กรรมซ้ำเติม ที่ทำให้ปริมาณน้ำฝนจำนวนมหาศาลไปตกหลังเขื่อน หมายความว่า เขื่อนเหล่านั้นที่มีน้ำเต็มเขื่อนอยู่แล้ว ไม่สามารถรับน้ำฝนที่ไหลเข้าเขื่อนเพิ่มเติมได้อีก ต่างต้องรีบปล่อยน้ำออกจากเขื่อน อย่างมากมายเพราะกลัวเขื่อนพังทลาย เป็นธรรมดาที่น้ำย่อมไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ น้ำจากเขื่อน จึงไหลท่วมจังหวัดต่างๆ ที่อยู่ท้ายเขื่อน อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทมุธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานครในที่สุด
ดังนั้น เราต้องตั้งสติให้ดี วิเคราะห์ให้ถูกจุดว่า จะรับมืออย่างไรกับธรรมชาติ หน่วยงานของรัฐต้องมีวิสัยทัศน์ ที่ถูกต้องเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน
จากเหตุการณ์ที่กล่าวถึง มีอยู่ 2 ส่วนที่สำคัญที่เราต้องวิเคราะห์ให้ดี
- ทำอย่างไรเมื่อฝนตกในพื้นที่กรุงเทพแล้ว กทม สามารถสูบน้ำออกสู่ทะเลภายในเวลาอันรวดเร็ว
- ทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้น้ำเหนือ ไหลลงมาท่วม กทม ได้
สำหรับประการแรก เท่าที่ที่ผ่านมา สำนักการระบายน้ำของกทม ได้บริหารจัดการเป็นอย่างดี อาจจะมีบางครั้งที่มีน้ำท่วมขังบ้างบางพื้นที่ หลังจากฝนจำนวนมหาศาลได้ตกลงมา และสำนักการระบายน้ำได้สูบน้ำออกภายในเวลาไม่เกิน 1 ชม อยู่แล้ว และส่วนเพิ่มเติมที่กทมควรทำการอย่างเร่งด่วนซึ่งผมเชื่อว่าสามารถช่วยผ่อนคลายได้อย่างดี และลงทุนน้อยมากคือ การลอกท่อระบายน้ำ และการขุดลอก คู คลอง หนอง บึง ต่างๆ ให้สามารถมีพื้นที่ และสามารถรองรับปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อฝนตกลงมาจะได้ไปอยู่ตาม คู คลอง หนอง บึงนั้น
ส่วนน้ำเหนือหลากในประการที่ 2 นั้น จะเห็นได้ว่า หน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน กล่าวคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมเจ้าท่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็ได้มีการประสานงานร่วมกันมาเป็นเวลาช้านาน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ไม่เคยมีน้ำเหนือไหลหลากมากมายอย่างในปี 2554 เลย เอาหละนับเป็นความโชคร้ายของพวกเราชาวกรุงเทพทุกคนที่ ปี 2554 นั้น เกิดปรากฏการณ์ผิดปรกติ มีดีเปรสชั่นเกิดขึ้นซ้ำซ้อนกัน หลายต่อหลายครั้งภายในช่วงเวลาสั้นๆ และต่อเนื่องกัน ทำให้หน่วยงานภาครัฐรับมือไม่ทัน เอาไม่อยู่ ผลคือน้ำท่วมอย่างที่เห็น ผมเห็นว่าปีนี้ หน่วยงานราชการท่านได้ร่วมกันบริหารจัดการอย่างดี จะเห็นได้จากการที่ไม่มีร่องรอยของการเกิดน้ำหลากไหลลงมาแวะเวียนแถวๆ กทม เลย อย่างไรก็ตามบางท่านอาจจะโต้แย้งว่า เพราะปีนี้ ไม่มี ดีเปรสชั่นอย่างปีที่ผ่านมา กทมจึงรอดมาได้
นับเป็นข่าวดีอีกอย่างหนึ่งคือ รัฐบาลโดย กำลังว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาศึกษา และกำหนดแนวทางเพื่อทำการป้องกัน การเกิดน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ผมคิดถึงประเด็นส่วนสำคัญที่กล่าวถึงข้างต้น เพื่อให้เขื่อนที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น ทำการกักเก็บน้ำให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม สำหรับส่งน้ำให้แก่พื้นที่เกษตรกรรม การอุปโภคและบริโภค(ผลิตน้ำประปา) รักษาระดับน้ำไว้ ตามแม่น้ำ ลำคลอง และการนำน้ำดิบไปไล่น้ำเค็ม หมายถึงการกำหนดระยะเวลา และปริมาณน้ำที่จำเป็นต้องกักเก็บ และปล่อยทิ้งออกไป โดยไม่เก็บกักในปริมาณมากเกินไป บริหารจัดการอย่างเหมาะสม ถึงแม้นจะมีหรือเกิดเหตุการณ์สุดวิสัย อย่างที่เคยเกิดขึ้นในปี 2554 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตผู้ดูแลเขื่อนต่างๆ ก็จะสามารถรับมือกับสถาณการณ์น้ำไว้ได้ จากจุดนี้ จึงเป็นข้อคิดที่ดีให้เราได้วิเคราะห์ เพิ่มเติมคือ กรณีที่มีดีเปรสชั้นเกิดขึ้น อย่างปี 2554 หมายถึง เขื่อนขนาดใหญ่ อย่างเขื่อนสิริกิติ์ และ เขื่อนภูมิพล ต่างไม่มีศักยภาพที่จะรองรับปริมาณน้ำพิเศษที่เกิดขึ้นนี้ได้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะตัองสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้น เพื่อมาช่วยเสริมรับเอาปริมาณน้ำส่วนต่างนี้ไว้ใช้ในฤดูแล้ง และผลิตไฟฟ้าสะอาดเพิ่มเติมให้กับประเทศชาติ ไม่ต้องปล่อยทรัพยากรน้ำที่มีค่านี้ทิ้งไป และไปท่วมพื้นที่ที่ต่ำลงไป ถึงเวลาหรือยังที่ กลุ่ม NGO จะมีใจกว้างพอและให้เกียรตินักวิชาการได้ทำการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ โดยยกเลิกการต่อต้าน ไม่มาประท้วงคอยกีดขวางการก่อสร้างเขื่อน เพื่อให้รัฐทำการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน นโยบายการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เพื่อเก็บกักน้ำจากแม่น้ำยม และเขื่อนสะแกกรัง เก็บกักน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง จะได้สัมฤทธ์ผลเสียที จริงอยู่การก่อสร้างเขื่อนทำให้สิ่งแวดล้อม และนิเวศน์วิทยาเปลี่ยนแปลงไป แต่อย่าลืมว่า สิ่งมีชีวิตสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
This is fantastic! Keep up the good work. ❤️
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…