Toxic Materials in Thailand, the Case of Asbestos Geerati Tiasiri October 26, 2012 Wellness architecture, ASBESTOS, Design, FENN DESIGNERS, Geerati Tiasiri, Planning, Residential, Structural Planning, Thailand, Toxic Materials 0 Comments แร่ใยหิน (asbestos) หลายคนก็คุ้นเคยและรู้จักอย่างดี แต่หลายคนก็อาจจะไม่รู้จักเลยว่าทำไมหินที่แข็งแกร่งมีใยหินด้วยหรือ แน่นอนบนความแข็งแกร่งก็ย่อมมีความอ่อนนุ่มแฝงอยู่เสมอในธรรมชาติโลกของเรานี้ลักษณะ ของแร่ใยหิน เป็นเยื้อไฟเบอร์ ดังในรูป แต่มีคุณสมบัติที่คงทนเนื่องจากเป็นหิน และพิเศษมากมาย กล่าวคือกันความร้อน และกันไฟ เช่น ใช้ถักทอเป็นเสื้อกันไฟสำหรับนักผจญเพลิง หรือใช้เป็นส่วนผสมในผ้าเบรคสำหรับยวดยานพาหนะ ท่อน้ำร้อนในโรงงาน แม้นกระทั่งในส่วนที่กันความร้อนในไดร์เป่าผม เตาไมโครเวฟ หรือ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นต้นวัสดุประสานเพิ่มความแข็งแรง เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีกำลังรับแรงดึงสูง และยืดหยุ่น เช่นใช้ในส่วนผสมกับซีเมนต์ แล้วนำมาทำขึ้นรูปเป็น ท่อระบายน้ำ หรือท่อน้ำประปา แผ่นกระเบื้องมุงหลังคาที่เรารู้จักมานานคือกระเบื้องลอนเล็ก ลอนคู่ เป็นต้น แผ่นกระเบื้องสำหรับทำฝ้าหรือเพดาน หรือส่วนผสมขึ้นรูปพลาสติกหลากหลายรูปแบบวัสดุฉนวนกันเสียง และกันไฟ เป็นสารผสมใช้ทำเป็นแผ่นวัสดุกันเสียง ใช้เป็นสารผสมฉีดพ่นหุ้มเหล็ก เพื่อให้สามารถกันเพลิงได้เป็นเวลานาน2-4 ชมเป็นสารไม่นำไฟฟ้า จึงใช้เป็นส่วนผสมของอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิดทนกรด จึงเหมาะอย่างยิ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ไม่ว่าจะเป็นท่อ แบตเตรี หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่ใช้งานโดยตรงกับสารเคมีราคาย่อมเยาว์เหมาะสำหรับเป็นส่วนผสมในวัสดุดังที่กล่าวข้างต้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีราคาที่คนส่วนใหญ่สามารถจับจ่ายได้ ในโลกนี้ ได้รู้จักแร่ใยหินไม่น้อยกว่า 4,000 ปี และประเทศอังกฤษได้ใช้ประโยขน์จากแร่ใยหินอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงต้นปี คศ 1700 (พศ 2243) เป็นต้นมา สำหรับประเทศไทยได้นำเอาวัสดุใยหินเข้ามาใช้งานอย่างแพร่หลาย นับเป็นเวลาร่วม 60 ปีเมื่อประมาณปีคศ 1906 (พศ 2449) ได้มีรายงานฉบับแรกที่นำเสนอว่ามีผู้เสียชีวิตอันเป็นผลเนื่องมาจาก สารใยหินนี้ ได้มีการค้นพบว่ามีผู้เสียชีวิตหลายรายเนื่องจากความล้มเหลวของปอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่ใยหิน ประเทศอังกฤษได้ออกข้อกำหนดจำกัดการใช้แร่ใยหินนี้ ในปีดศ 1930 (พศ 2473) และ10 ปีต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ดำเนินการในรูปแบบเดียวกัน เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐมีผู้เสียชีวิต ประมาณ 100,000 คน เนื่องจากสารใยหินนี้ เพราะใช้สารใยหินนี้ห่อหุ้มปล่องไฟ ปล่องกระสุนปืนใหญ่ และอาวุธอย่างอื่นอีกมากมาย ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้รับสารแร่เข้าสู่ร่างกาย การใช้แร่ใยหินก็ยังมีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เพิ่งมีการยกเลิกและห้ามนำเอาสารใยหินนี้มาเป็นวัสดุผสมต่อเนื่องกันมา ตั้งแต่ปี คศ 1980 (พศ 2523) เป็นต้นมา จนกระทั้งในปีปัจจุบันหลายๆประเทศเริ่มประกาศยกเลิก เช่น ประเทศไต้หวัน จะยกเลิกการใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ พศ 2556 ส่วนประเทศไทยได้มีดำริว่าจะยกเลิกการใช้สารแร่ดังกล่าวโดยกรมอนามัยกำหนดจะออกข้อกำหนดห้ามใช้แร่ใยหินในปีพศ 2555 อย่างไรก็ตามข้อกำหนดการห้ามใช้แร่ใยหินนี้ก็ยังไม่ได้คลอดออกมาอย่างเป็นทางการ การนำเข้าแร่ใยหินเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยก็ยังคงสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย และเป็นอันดับ 5 ในโลก ดังนั้นเมื่ออ่าน blog นี้ มาถึงตรงนี้ ขอให้ตระหนักเพื่อสุขภาพของท่านเองโปรดใช้วิจารณญาณ ในการเลือกใช้ ถ้าไม่มีฉลากเตือนไว้ กรุณาสอบถามจากผู้ขายหรือผู้ผลิตก่อนว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ท่านจะซื้อนั้นปลอดจากแร่ใยหินหรือเปล่า เนื่องจากผลกระทบขากแร่นี้ จะค่อยๆ เกิด บางรายส่งผลออกมาเมื่อได้รับสารแร่โดยตรงเป็นเวลาต่อเนื่องนับ 20 ปี Tags: architecture ASBESTOS Design FENN DESIGNERS Geerati Tiasiri Planning Residential Structural Planning Thailand Toxic Materials Related Posts Dr. Chafia Ferhat August 23, 2023 The Lost Heritage, Kolkata I wrote recently about the lost heritage in Bangkok and what I thought were the reaso .. Lydia Tiasiri September 17, 2023 Glass Pt.2: Vaguely Opaque! From simple particles of silica, glass has become one of the most used materials in the constru ..
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
This is fantastic! Keep up the good work. ❤️
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…