The Dangers of Road Constructions

เมื่อช่วงวันหยุดสงกรานต์ ที่ผ่านมาผมได้เดินทางออกจากบ้านไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ขับรถวิ่งผ่านไปตามถนน ร่มเกล้า ถนนสายนี้ คือส่วนหนึ่งของคันกั้นน้ำตามโครงการพระราชดำริ (King’s Dike) คือมีค่าระดับความสูงของถนน เทียบเท่ากับ + 2.5  เมตร จากค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (MHL)  แต่เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี พศ 2554 ช่วงเดือน ตค ถึง ธค ถึงแม้นว่า ระดับน้ำที่ท่วมสูงสุด ยังไม่สามารถขึ้นมาถึงระดับ + 2.5 เมตร ก็ตาม ทางการก็ได้ทำการติดตั้งแท่งคอนกรีตตรงกลางถนน จากถนนสายไหมมาสิ้นสุดที่ปลายถนนร่มเกล้า ใครนะช่างคิดผลาญเงินภาษีของเราท่านได้แยบยลอย่างน่าเสียดาย  ว่าการทำอย่างนี้ จะกันน้ำได้ เท่ากับเอาเงินไปเรียงทิ้งเอาไว้ ที่ยังไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์อันใดนอกจากการขีดเส้นเน้นชัดว่า พื้นที่อีกฝั่งของแท่งคอนกรีตคือพื้นที่น้ำท่วมได้ และพื้นที่ฝั่งตรงกันข้ามก็จะปั๊มน้ำเข้าไปในพื้นที่น้ำไท่วมได้นั้น เงินจำนวนที่ทางการทำการวางแท่งคอนกรีตนี้ มีจำนวนถึง  300 ล้านบาท ตัวเลขกลมๆ เงินจำนวนนี้สามารถสร้างสรรสิ่งที่ดีมีประโยช์นอย่างอื่นได้อีกมากนัก ที่ประเทศนี้ต้องการ

แต่นั่นไม่ใช้ ประเด็นที่จะพูดถึงในครั้งนี้  ความจริงตั้งใจจะเขียนเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ บนท้องถนนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มาตรการการเตือนและการป้องกันเพื่อให้ผู้ที่สัญจรไปมา ตลอดเวลาจะได้รับความเดือดร้อน และอุปสรรคในการขับขี่น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาค่ำคืน ดังนั้นผมจึงถือเอาการก่อสร้างแท่งคอนกรีตกันน้ำ เป็นกรณีศึกษา เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ที่หน่วยงานภาครัฐ ปล่อยให้ผู้รับเหมาทำการก่อสร้างอย่างหละหลวม โดยไม่มีการป้องกันแต่อย่างใด ดูภาพประกอบด้านล่าง บนถนนร่มเกล้า

01

บางช่วงเป็นหลุมที่ขุดค้างเพื่อเตรียมเทฐานดอนกรีตลึกประมาณ 25 ซม ได้  ดูในรูปซ้ายมือ เป็นระยะทางยาวเกือบ 20 เมตรหลายช่วง ถ้าใครขับมาไม่ระวังให้ดี หรือเสียหลัก ก็อาจจะตกลงไป เป็นอันตรายต่อ ชีวิต และ ถ้าโชคร้ายกระเด็นไปอีกฟากของถนน ที่มีรถสวนทางมาพอดีอาจเสียหายมากมาย ดูในรูปซ้ายมืออีกทีดูสิ ไม้แบบวางเกลื้อนถนนอย่างนั้น ส่วนรูปทางด้านขวามือนั้น โครงเหล็ก ที่กำลังทำค้างอยู่ ถ้ารถวิ่งมาแรงฟุ่งเข้าชนโอกาสรอดยาก เหล็ก ทั้งนั้น

02

ผมในฐานะที่เคยออกแบบงานสาธารณูปโภคให้แก่หน่วยราชการมามากมาย ทุกครั้งเราต้องคิดราคา ค่าจัดการมาตรการเตือน และป้องกันในระหว่างการก่อสร้างอย่างครบถ้วน ยกตัวอย่างเช่น การจัดทำป้ายเตือนทั้งหลายให้ผู้คนระมัดระวัง ว่ากำลังมีก่อสร้าง มีการติดไฟส่องสว่างให้เห็นเด่นชัดในเวลากลางคืน มีการวางแนวกั้นกันตก ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น  ค่าดำเนินการจัดทำเครื่องหมายเตือน และป้องกันนี้  สำหรับโครงการขนาดประมาณ 200-300 ล้านบาท ก็จะมีค่าสูงหลายล้านบาท ในรูปซ้ายมือที่เห็นส่วางนั้นเป็นเพราะไฟแสงสว่างของถนนต่างหาก ส่วนรูปขวามือ มืดตื้อเลย วันนั้นฝนตกด้วยถนนลื่นผมขับรถผ่านมายังภาวนาอย่าให้เหตุร้ายเกิดเลย อย่างเช่น กรณีสะพานแขวน   บริเวณวัดสะตือพุทธไสยาสน์บ้านท่างาม หมู่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ลวดสลิงขาดและได้พังครืนลงมา หลายชีวิต ต้องสังเวย ให้กับความไม่ใส่ใจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผมเชื่อว่าหลายท่าน ณที่นี้ ก็ไม่อยากให้เหตุร้ายเกิดขึ้น เจ้าของโครงการจะต้องเข็มงวดในเรื่องนี้ กันไว้ก่อนที่จะสาย

ถ้าทุกคนมีสามัญสำนึกในการทำงานที่ดี ไม่หวังแต่เพียงให้กระเป๋าตุงเท่านั้น เหตุร้ายหลายอย่างก็จะไม่เกิดขึ้น เช่น รถประจำทางประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ สาเหตุเกิดจากเพียง ล้อยางรถนั้นแทบจะโล้น ไม่มีดอกยางไว้ยึดเกาะถนน เวลาเบรคกระทันหันจึงเสียหลัก และตกลงข้างทาง ทำให้ชีวิตในรถทั้งหมดได้มีโอกาส ปลดเปลื้ยงความทุกข์จากโลกนี้ไปสู่โลกใหม่ในเวลาอันรวดเร็ว

จำนวนเงินค่าจัดทำการเตือนและป้องกันภัย ในระหว่างการก่อสร้างโครงการ หายไปไหน อยู่ที่ใคร???? ได้อันตรธานหายไป ในระหว่างการก่อสร้าง

Leave A Comment