The Dangers of Construction

 

จะเห็นได้ว่าเมืองไทย ก็มี หอเอน เหมือนกัน แต่ในที่สุดหอเอนแห่งรังสิตของเราก็ต้องถูกทุบทิ้ง เสียทั้ง เงิน เสียทั้งเวลา ด้วยความประมาทในการก่อสร้าง อาคารนี้ ถูกประกาศเป็นอาคารอันตราย ดูภาพใกล้ของอาคาร ด้านล่าง

 

งานก่อสร้างโดยรวมมักจะมีความอันตรายอยู่ในตัวอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า ที่ใดมีการก่อสร้างที่นั่นมักจะติดป้ายประกาศเตือน อาจจะเหมือนดังข้างล่าง

 

ดังนั้นเมื่อทำงานอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างนอกจาก มีความตั้งใจทำงานอย่างไม่ประมาทแล้ว แล้วอุปกรณ์พื้นฐานจงสวมใส่อย่าได้ออมชอม ต้องสวมใส่ตลอดเวลาจนเป็นนิสัย ผมเคยทำงานที่ซาอุ ฯ เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว คนงานต้องปีนขึ้นไปผูกเหล็กเพื่อทำกำแพงสูงประมาณ 5 เมตร ได้ ปีนปายอย่างน่ากลัวเมื่อมองจากข้างล่าง เราต้องเรียกเขาลงมาให้ไปเบิกเข็มขัดนิรภัย ( Safety Belt) ใส่ ปรากฏว่า เขาใส่มันไว้เหมือนกัน แต่ไม่ได้ล็อคไว้กับเหล็ก แต่กลับคล้องไว้ที่บ่าแทน คล้ายๆกับว่า เมื่อนายช่างสั่งผมก็ทำตามแต่ไม่ได้ทำจริง โชคดี ช่างเหล็กคนนั้นไม่ได้ตกลงมา  ที่Site งาน เราจะแจกหมวก รองเท้านิรภัย และถุงมือหนังให้คนงานทุกคน ในตอนนั้นผมต้องคุมงานอยู่กับช่างและกรรมกร นับร้อยคน หมวกนิรภัย ( Hard Hat) ช่วยป้องกันศรีษะผมได้อย่างดี ผมเองก็ชอบเดินไปชน ไม้แบบ หรือสิ่งกีดขวาง ในSite งานประจำ และรองเท้าหุ้มเหล็ก (Safety Shoes) ก็ป้องกันไม่ให้ตะปูทิ่มเท้าผมหลายต่อหลายครั้ง แผ่นเหล็กใต้รองเท้า เวลาผมเหยียบเท้าลงก็ล้มตะปูที่ตั้งรอไว้ให้ราบลง ส่วนหัวเหล็กของรองเท้าก็กันนิ้วเท้าของผมไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในตอนนั้นระบบความปลอดภัยในการทำงาน (Site safety  System) ยังไม่ค่อยเคร่งครัดมากนัก กรรมกรบางคน พอทำงานเสร็จครบ 1 ปี ก็เดินทางกลับบ้าน นำเอารองเท้านิรภัยกลับไปฝากที่บ้านด้วย ตลอดเวลาทำงานเขาไม่เคยสวมมันเลย

เมื่อประมาณสิบกว่าปีก่อนผมได้รับทำการควบคุมกการก่อสร้างให้แก่โรงงานขนาดใหญ่ของชาวญี่ปุ่นที่นั่น ระบบความปลอดภัยเป็นเลิศ ทุกขบวนการ ทั้งๆที่ผมเคยทำงานที่โรงกลั่นน้ำมัน ถือว่าเข็มงวดแล้วแต่ยังไม่เท่างานที่ชาวญี่ปุ่นทำเลย ทั้งนี้ ระบบงานได้สอนเราว่าการก่อสร้างนี้อันตรายมาก แต่สามารถป้องกันได้ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุได้เลย และจะได้ไม่สูญเสียดังภาพข้างต้น