Footpaths becoming markets
-
Tarkoon Suwansukhum
-
August 2, 2013
-
Wellness
-
Bangkok, City planning, Code, FENN DESIGNERS, Footpaths, Ponder, Safety, Tarkoon Suwansukhum, urban planning, Wellness
-
0 Comments
วันนี้ยังคงอยู่ตามท้องถนนครับ ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ มีการกำหนดให้เป็นเขตห้ามจอดรถยนต์ เวลาเราขับรถผ่านร้านอาหารอร่อย ๆ เลยทำให้พลาดโอกาสแวะชิมรสชาด บางซอยจอดรถแล้วโดนตำรวจจราจรมาล๊อคล้อก็อาจจะทำให้อาหารลดความอร่อยลงไปได้ ทางเท้าในปัจจุบัน จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นทางเดินใต้ชายคาหน้าตึกแถว ตามกรรมสิทธ์แล้วเป็นของตึกแถวแต่จากสภาพการใช้งานจริงก็ได้กลายเป็นทางสาธารณะไปแล้วบางพื้นที่ทางร้านค้าเจ้าของตึกแถวก็มีการนำของออกมาตั้งขายทำให้พื้นที่ทางเท้าลดลง อย่างไรก็ดี ในบางพื้นที่ทางราชการกลับมาการทำพื้นที่ทางเท้ามาทำที่ขายของ บางที่เป็นแค่การตีเส้นกำหนดแนวขายของ บางที่มีการทำหลังคาขนาดใหญ่คลุม กลายเป็นอาคารบนทางเท้าขายของกันอย่างถาวร สิ่งก่อสร้างนี้เกิดขึ้นที่ทางเท้าหน้าตลาดคลองเตย ตลาดสดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ได้มีการสร้างและใช้งานไปนานแล้วและในปัจจุบันกำลังมีการขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยสร้างบนทางเท้าอีกเช่นเคย ถ้าท่านทั้งหลายได้มีโอกาสขับรถบนถนนพระราม 4 จะทราบดีว่าถนนที่ขับมาจากแยกเกษมราษฎร์ที่มี 4 ช่องทางจราจร จะมารวมกับจุดสิ้นสุดของถนนทางรถไฟเก่าที่มี 2 ช่องจราจร แล้วถูกลดขนาดถนนเหลือ 3 ช่องจราจรบริเวณตลาดสดคลองเตยที่มีการจราจรคับคั่ง แต่ความจริงแล้วยังคงมีการเสียผิวทางจราจรอีกหนึ่งช่องทางด้านซ้ายไปกับที่จอดรถสามล้อเครื่อง ป้ายรถประจำทาง หรือจากรถยนต์ที่มีการจอดซื้อสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสภาพการจราจรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงคือ ตำแหน่งและพื้นที่จอดรถยนต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ที่จอดรถก็ยังคงจำเป็นสำหรับประชาชนที่ใช้บริการในจุดนั้น ๆ รวมไปถึงเส้นทางของการลำเลียงสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจะนำพื้นที่ทางเท้ากลับไปเป็นพื้นที่ใช้สอยจึงควรมีการพิจารณาเป็นพิเศษรวมไปถึงการจัดเตรียมพื้นที่จอดรถยนต์ไว้อย่างพอเพียง อาจจะต้องมีการซื้อตึกแถวบางส่วนในบริเวณดังกล่าวหรือบริหารพื้นที่โล่งด้วยวิธีการพบกันครึ่งทางระหว่างพื้นที่ขายของบนทางเท้ากับที่จอดรถ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
Continue Reading
Roads and Manholes
ทุกครั้งที่ขับรถเข้าหรือออกจากซอยตอนมาทำงานและกลับบ้าน ก็นึกในใจทุกครั้งว่า ทำไมทางราชการต้องทำถนนโดยให้มีท่อระบายน้ำและบรรดาฝาต่าง ๆ ของระบบสาธารณูปโภคมาอยู่ในผิวทางจราจรด้วย ทำไมไม่ทำถนนลาดยางให้เรียบเหมือนกับทางเดินในอาคารบ้าง ผมพยายามเข้าใจครับกับถนนซอยบางเส้นที่มีการขยายเส้นทางให้มีขนาดกว้างขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดก็ต้องนำบ่อพักท่อระบายน้ำมาอยู่ร่วมกับถนน เลยเกิดแนวความคิดว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างฝาบ่อพักต่าง ๆ ให้อยู่ในระนาบเดียวกับถนนหรือมีความต่างระดับกันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนได้มีโอกาสได้เห็นการทำงานปรับปรุงผิวทางจราจาตามซอยต่าง ๆ แถวบ้าน โดยหลักการทั่วไปจะเป็นการเสริมฝาบ่อพัก จากนั้นจะเสริมผิวจราจรด้วยยางมะตอยและใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการบดอัดผิวให้เรียบ เท่าที่ดูการทำงานของคนงานพบว่า เมื่อทำการปรับระดับฝาบ่อพัก จะมีการยกฝาบ่อพักเดิมทิ้งไป และสกัดคอนกรีตของเดิมเพื่อก่อสร้างขอบบ่อพักใหม่ แต่ไม่พบว่ามีการถ่ายระดับของถนนมาเป็นระยะอ้างอิงของขอบบ่อพักใหม่ ตรงจุดนี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้ฝาบ่อพักไม่ได้ระดับกับผิวจราจร รวมไปถึงการระบายน้ำไม่หมดไปจากผิวจราจร ถ้าดูจากรูปฝาบ่อระบายน้ำจะเห็นได้ว่า จะมีส่วนของฝาบ่อพักและตัวบ่อพัก และจบด้วยผิวถนนยางมะตอย เนื่องจากเป็นการทำงาน 3 ครั้งจึงมีโอกาสมากที่จะได้ระดับต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการที่ไม่มีแบบขยายการทำขอบบ่ออย่างถูกต้อง จึงได้ผลลัพธ์ของการก่อสร้างแบบที่เห็น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการประสานงานกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น เช่น องค์การโทรศัพท์ในการยกระดับฝาบ่อพัก จนท้ายที่สุดเราก็ได้ถนนตามรูปข้างล่าง จะเห็นได้ว่าระดับของฝาบ่อต่ำกว่าระดับถนนที่ลาดยางใหม่อย่างชัดเจน อันก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังตรงบริเวณฝาบ่อ การที่ฝาบ่อที่เป็นเหล็กเปียกน้ำหรือมีน้ำท่วงขังอาจก่อให้เกิดความอันตรายกับรถจักรยานหรือจักรยานยนต์ลื่นล้นได้ตรงบริเวณดังกล่าว ทางออกหนึ่งที่อยากจะเสนอคือการออกแบบฝาบ่อพักต่าง ๆ ใหม่โดยออกแบบให้สามารถปรับระดับขึ้นสูงกว่าเดิมเพื่อให้การทำผิวถนนยางมะตอยได้พอดีกันตามแบบร่างด้านล่าง แนวทางคือ ออกแบบฝาบ่อพักโดยให้มีการใช้สกรูตัวหนอนขนาดใหญ่ 4 ตัวติดตั้งบริเวณมุมทั้ง 4 ด้าน เพื่อใช้ไขปรับระดับความสูงของฝาบ่อพักให้สูงใกล้เคียงกับผิวถนน สกรูตัวหนอนจะยึดกับน๊อตตัวเมียขนาดใหญ่ที่สร้างโดยยึดติดกับฝาบ่อ เมือไขสกรูตัวหนอนลงไป แกนของสกรูตัวหนอนจะดีดฝาบ่อให้สูงขั้น อย่างไรก็ดี การลาดยางผิวถนนยังต้องต้องมีการตรวจสอบความลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลลงไปยังฝาบ่อระบายน้ำ จากแบบขยายข้างต้นเราก็จะได้ฝาบ่อพักที่ปรับระดับให้สูงขึ้นได้เพื่อรองรับการทำงานถนนยางมะตอยที่ทำระดับผิวสำเร็จได้ไม่ดี เพื่อลดปัญหาถนนและระดับฝาบ่อพักที่ไม่เท่ากัน …
Continue Reading
Housing: The Need
-
Dr. Chafia Ferhat
-
February 7, 2013
-
Ponder
-
Algeria, Bangkok housing, Dr. Chafia Ferhat, FENN DESIGNERS, government solutions, Housing, housing plans, housing provision business, Housing the poor, Thailand, urban planning
-
1 Comment
When I was young, growing in a country struggling with shortage of housing, I watched various attempts by the government trying to solve the problem but always failing, and even after 50 years of trying, they are still failing! The impacts of this lack of a basic shelter was having on the fabric of the society is appalling. Yesterday …
Continue Reading
The Life of a Pedestrian in Bangkok
ชีวิตของคนกรุงอย่างเราท่าน ในแต่ละวันย่อมมีโอกาสได้ลุกเดินออกไปบ้าง เพื่อประกอบธุระกิจการงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน แต่มีอย่างหนึ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเดินไปตามที่ต่างๆในกรุงเทพมหานครของเรา สภาพทางเท้า หรือ ฟุตบาท ที่ถูกร่วมกันใช้ประกอบกิจ ที่หลากหลาย บ้างก็ใช้เป็นที่พัก บ้างก็ทำเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นทั้งตลาด เป็นวินรถมอเตอร์ไซด์ ทำสวนส่วนตัวไว้หน้าบ้าน ท่ามกลางการใช้ประโยชน์บนทางเท้า อย่างมากคณานับ ความปลอดภัยของผู้เดินเท้า (pedestrian) ก็ค่อยๆ หายไป บางทีต้องเดินหลบร้านส้มตำที่อยู่บนทางเท้าลงไปเดินในถนนแทน แล้วก็เสี่ยงกับการถูกรถเฉี่ยวชน บางที่ ผจญกับทางเท้าที่กำลังซ่อมแซมโดยไม่มีป้ายเตือนบอกเหตุเลย หลายคนได้รับบาดเจ็บจากวัสดุก่อสร้างที่วางไว้อย่างระเกะระกะ บางคนเดินตกหลุมซึ่งเป็น บ่อพัก (manhole) ทางเท้าบางช่วงเสียหาย คนพิการต้องเดินทางอย่างทุลักทุเล ทางเท้าบางแห่งเจ้าของห้างใหญ่เอาป้ายโฆษณามากั้นไว้อย่างหน้าตาเฉย มีอะไรไหม ยังไม่ได้รวมถึงน้ำที่หยดลงมาจากกันสาดที่อยู่เหนือทางเท้าเมื่อเวลาฝนตก นี่คือความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางส่วนหนึ่งของคนกรุงเทพมหานคร แต่ทางเท้าหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ก็สวยงามน่ารื่นรมย์ อยากให้กรุงเทพของเราเป็นอย่างนี้ทั้งหมดจังเลย เราในฐานะนักออกแบบก็อยากเห็นกรุงเทพมหานคร มีทางเท้าสะอาด สวยงาม มีความปลอดภัยในการ เดินทาง ไม่มีคนที่เห็นแก่ตัว เอาสถานที่ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติ นำไปใช้สำหรับตัวเองผู้เดียวจนลืมนึกไปว่า คนอื่นก็ยังค้องใช้เช่นกัน และคนเดินบนทางเท้าหลายคนก็ได้ชำระภาษีให้แก่รัฐบาล เพื่อเป็นงบประมาณนำมาสร้างและบำรุงรักษาทางเท้าเหล่านั้นให้มีสภาพที่ดี เพื่อทุกคนจะได้มีโอกาสใช้ทางเท้าได้อย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิต
Continue Reading
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
This is fantastic! Keep up the good work. ❤️
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…