­
Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Roof, Balcony, and Roof Gutter

ระยะสัปดาห์หนึ่งที่ผ่านมานี้ ดูเหมือนว่าจะมีฝนตกช่วงเย็นและช่วงดึกอยู่แทบทุกวัน จนทำให้หลายสถานที่มีน้ำท่วมอันเกิดมาจากฝนตกลงมาอย่างหนัก และในเวลาเดียวกันคงมีบ้านของหลาย ๆ ท่านเกิดน้ำท่วมขังชั่วคราวไปจนถึงเกิดน้ำซึมตามหลังคาดาดฟ้า หรือเกิดการรั่วซึมของน้ำตามบริเวณที่เป็นหลังคา การรั่วซึมของน้ำฝนยังคงเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีการต่อเติมอาคาร ไปจนถึงบริเวณที่อาคารมีการแบ่งแยกโครงสร้างที่เป็นผืนขนาดใหญ่ จากที่กล่าวมาข้างต้น อาคารโครงการขนาดใหญ่ มักจะมีช่างที่ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงหรือซ่อมแซมประจำอาคารไว้คอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่บ้านพักอาศัยส่วนใหญ่มักจะไม่มีช่างประจำหมู่บ้าน ซึ่งคงต้องฝากความหวังเอาไว้กับผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านและผู้ออกแบบที่จะออกแบบให้ดีและมีการสร้างอาคารด้วยฝีมือของช่างอาชีพ การออกแบบที่ดีจึงควรมีการกำหนดระบบกันซึมของหลังคาไว้อย่างเหมาะสม หลังคาคอนกรีตที่อยู่ภายนอกอาคารต้องการการทำระบบกันซึมเพื่อป้องกันน้ำซึมจากผิวหน้าด้านบนเข้าไปที่เนื้อคอนกรีตและเหล็กเสริมภายใน อันเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมที่เหล็กเสริมในคอนกรีต หลังคากระเบื้องก็ต้องมีการปูโดยดูจากทิศทางของลมและมีการทำหลังคาปีกนกที่ถูกต้องเพื่อช่วยลดปัญหาของการเกิดน้ำไหลย้อน รั่ว ซึม ของหลังคาลงสู่พื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน จากที่กล่าวมา เจ้าของบ้านควรดูให้ดีและให้มีการออกแบบที่ป้องกันปัญหาของน้ำรั่วซึม ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี การปูกระเบื้องหลังคา 1. หลังคากระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องลอนคู่ ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบให้มีตะเฆ่ราง (รางน้ำ) อยู่เหนือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน 2. หลังคาคอนกรีตหรือดาดฟ้า ควรทำระบบกันซึมและมีการลาดเอียงพื้นหลังคาลงสู่ รูระบายน้ำที่พื้น เพื่อหลีกเลี่ยงการขังตัวของน้ำ รูระบายน้ำฝนต้องมีการการป้องกันเศษขยะหรือวัสดุที่มาปิดบังได้ กรณีมีการก่อผนังกันตก จะต้องมีการทำรูระบายน้ำล้น (overflow) เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง 3. ระเบียงของห้องนอนที่มีการใช้พื้นไม้ ควรออกแบบให้มีรูระบายน้ำล้นเสริมด้วยเสมอเพื่อป้องกับน้ำท่วมขังจนเข้าท่วมห้องนอนได้ ผนังหรือราวกันตกที่เป็นแบบทึบ ไม่ควรสร้างสูงเกินกว่าระดับของพื้นไม้ ควรให้ขอบผนังต่ำกว่าระดับพื้นห้องที่เป็นไม้ไม้น้อยกว่า 50 มม เสมอ 4. ถ้ามีหลังคาเหนือระเบียงห้องนอน ควรให้แน่ใจว่าไม่มีน้ำฝนไหลจากชายหลังคาลงสู่พื้นของระเบียงห้องนอนหรือผนัง  น้ำฝนเหล่านี้นอกจากสามารถสร้างความสกปรกให้กับผนังแล้วยังสร้างการรั่วซึมของน้ำผ่านผนังและการรั่วซึมจากน้ำท่วมขังได้ ระเบียงที่มีน้ำฝนตกลงมาจากชายคาราวกันตกผนังกระจกที่สามารถกักเก็บน้ำฝนได้  

Continue Reading

How to Design Car Parking for Low-Rise Buildings

 ผมเป็นคนหนึ่งที่ต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไปเที่ยวพักผ่อนหรือไปดูสถานที่ก่อสร้างครับ หลายครั้งที่ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ก็มักจะมองหาร้านอาหารอร่อย ๆ ทาน บางครั้งก็จอดในลานจอดรถ บางครั้งก็จอดข้างถนน บางครั้งก็จอดในอาคารจอดรถยนต์ บ่อยครั้งที่หาที่จอดรถไม่ได้   วันนี้จึงอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกันที่จอดรถยนต์ของอาคารขนาดเล็กครับ บ้านเรายังมี อพาร์ทเมนท์ ร้านอาหาร super market หรือร้านกาแฟ ขนาดเล็กกระจายอยู่ตามซอยหรือถนนทั่วไป อาคารหลายแห่งก็ได้มีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เอาไว้บริการลูกค้าไว้หลายแบบ ที่พอจะแบ่งรูปแบบได้ดังนี้ 1. จอดรถด้านหน้าอาคาร สำหรับอาคารขนาดเล็ก ไม่มีพื้นที่โครงการใหญ่มากและมีที่ดินหน้ากว้างติดถนน การจอดรถแบบเฉียงไปตามแนวถนนดูจะเป็นสิ่งที่น่าจะจัดทำ เพราะใช้พื้นที่ในการจอดรถยนต์น้อย สามารถใช้พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ว่างด้านหน้าอาคาร และไม่นับเป็นพื้นที่อาคารอีกด้วย แต่การจอดรถแบบนี้อาจสร้างปัญหาให้กับการจราจรได้โดยง่าย ทุกครั้งที่มีการเข้าจอดหรือออกจากที่จอดรถ จะมีการชะลอตัวของการจราจร บางครั้งสามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย 2. จัดที่จอดรถและทางวิ่งบนที่ว่างของโครงการและสร้างอาคารไว้ด้านหนึ่งหรือโดยรอบ วิธีนี้เหมาะกับโครงการขนาดไม่ใหญ่มาก การจัดที่จอดรถแบบนี้จะได้พื้นที่จอดรถที่มีราคาค่าก่อสร้างต่ำ ไม่ต้องนำพื้นที่นี้มาคิดเป็นพื้นที่อาคาร ทำให้จัดที่จอดรถชิดเขตที่ดินได้ สำหรับโครงการที่ติดปัญหาเรื่องขนาดพื้นที่อาคารและการออกแบบอาคารที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก็สามารถใช้แนวทางนี้ได้ 3. จัดที่จอดรถยนต์ใต้อาคาร การจัดที่จอดรถยนต์แบบนี้ได้ประโยชน์ต่อผู้จอดที่มีร่มเงาอาคารและที่กันฝน เหมาะสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถจัดที่จอดรถยนต์ตามความต้องการไว้บนพื้นที่ชั้นเดียว การออกแบบเมื่อมีที่จอดรถยนต์เกิน 7 คัน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอาคารในเรื่องระยะร่น และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากกว่า 4. จัดที่จอดรถยนต์นอกอาคารและจัดสร้างหลังคาคลุม รูปแบบที่จอดรถแบบนี้มีเห็นได้ทั่วไป หลังคามีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างแบบถาวรที่เป็นเหล็ก กระเบื้อง ไปจนถึงหลังคาแบบกึ่งถาวรที่ใช้ตาข่ายพลาสติกมาทำหลังคา …

Continue Reading

Locker Room Flooring

ระยะหลังได้มีโอกาสไปใช้สปอร์ตคลับบ่อยครั้งครับ เลยพบเจอพื้นห้องที่มีการสร้างระดับพื้นไว้แตกต่างกัน บางจุดเกิดจากความตั้งใจ บางจุดเกิดจากการออกแบบแล้วมีปัญหาจึงมาแก้ปัญหาภายหลัง บางจุดเกิดด้วยความบังเอิญ ตามการออกแบบ เรามักออกแบบให้พื้นห้องน้ำมีการลดระดับพื้นเพื่อให้สามารถล้างพื้นได้โดยน้ำไม่ไหลออกมาภายนอก  แต่ในบางจุดที่ต้องการสำหรับเป็นพื้นที่ของห้องเปลี่ยนชุด จะมีการออกแบบเสมือนหนึ่งเป็นส่วนแห้ง ที่จะใช้เป็นที่วางตู้เก็บเสื้อผ้า เก้าอี้นั่ง บริเวณเปลี่ยนชุด ถ้าจะกล่าวโดยรวมเราอาจจะแบ่งพื้นที่ภายในห้องล๊อคเกอร์ออกได้ดังนี้ 1. พื้นที่บริเวณเปลี่ยนชุด ส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วย บริเวณเปลี่ยนชุด ที่นั่ง บริเวณที่แต่งตัว พื้นที่ส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นพื้นที่แห้งที่ผู้มาใช้จะนั่งเปลี่ยนชุด แต่งตัว ก่อนและหลังเข้าใช้สปอร์ตคลับ แต่เนื่องจากผู้ใช้อาจจะอาบน้ำทำให้เท้าเปียก สามารถเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้จึงทำให้มีบางโครงการเลือกใช้ กระเบื้องยาง (vinyl tile) บางแห่งมีการปูกระเบื้องผิวหยาบกันลื่นเพื่อช่วยลดปัญหาและอุบัติเหตุ  รูปซ้ายมือมีการเน้นสีตรงพื้นต่างระดับในขณะที่รูปขวามือจุดทางเข้าห้องส้วมมีการยกขอบพื้นขึ้นมาและลดระดับพื้นลงไปอีก จะเห็นได้ว่าไม่มีความจำเป็นที่จะยกขอบพื้นตรงทางเข้าห้องส้วม 2. พื้นที่ห้องส้วม โถปัสสาวะ และอ่างล้างหน้า ส่วนของพื้นที่นี้มีแนวคิดได้ 2 แบบ คือใช้ห้องส้วมและอ่างล้างหน้าเฉพาะผู้ที่มาใช้ห้องล๊อคเกอร์ หรือ ออกแบบให้สามารถใช้ร่วมกันระหว่างผู้มาใช้ห้องล๊อคเกอร์และบุคคลภายนอกทั่วไป เมื่อถูกนำมาใช้งานจริงร่วมกันกับบุคคลภายนอกอาจเกิดปัญหาความไม่เรียบร้อยจากการแต่งตัว และการที่ไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ห้องส้วมร่วมกัน ควรออกแบบให้แยกตำแหน่งแต่อยู่ในบริเวณใกล้กันแทน นอกจากนี้การออกแบบควรออกแบบให้วัสดุปูพื้นเป็นแบบไม่ลื่นและสามารถรองรับการทำความสะอาดด้วยการฉีดน้ำ ไล่สิ่งสกปรกได้ง่าย 3. พื้นที่ส่วนห้องอาบน้ำ ส่วนใหญ่มักจะมีการลดระดับพื้นภายในห้องอาบน้ำให้เป็นส่วนแห้งและส่วนเปียก บางที่มีการยกขอบพื้นขึ้นมา บางที่ยกพื้นแล้วแบ่งเป็นส่วนแห้งแยกระดับพื้นออกจากส่วนที่อาบน้ำ ตามรูปซ้ายมือจะเห็นได้ว่าเป็นการทำพื้นของห้องอาบน้ำยกขอบขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำไหลออกมาบริเวณทางเดินในขณะที่รูปขวามือมีการทำพื้นที่แห้งยกสูงขึ้นและลดระดับพื้นด้านในให้เป็นที่อาบน้ำโดยมีผ้าม่านเป็นตัวแบ่งแยกพื้นที่ ซึ่งได้ผลค่อนข้างดีในการป้องกันน้ำไหลออกมา กล่าวโดยสรุป การออกแบบพื้นห้องล๊อคเกอร์ควรทำให้มีพื้นต่างระดับน้อยที่สุดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่น กรณีมีการเปลี่ยนชนิดของวัสดุพื้นผิวจากผิวหยาบมาเป็นผิวเรียบ ควรมีจุที่ติดพรมเช็ดเท้าเพื่อให้เท้าแห้ง ไม่เกิดการลื่น พื้นของห้องอาบน้ำ อาจทำพื้นส่วนแห้งเท่ากับพื้นภายนอกแล้วค่อยลดระดับพื้นภายในส่วนที่อาบน้ำ เพื่อให้สามารถล้างพื้นห้องน้ำแล้วไล่น้ำลงไปยัง …

Continue Reading

Footpaths becoming markets

วันนี้ยังคงอยู่ตามท้องถนนครับ ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ มีการกำหนดให้เป็นเขตห้ามจอดรถยนต์ เวลาเราขับรถผ่านร้านอาหารอร่อย ๆ เลยทำให้พลาดโอกาสแวะชิมรสชาด บางซอยจอดรถแล้วโดนตำรวจจราจรมาล๊อคล้อก็อาจจะทำให้อาหารลดความอร่อยลงไปได้ ทางเท้าในปัจจุบัน จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นทางเดินใต้ชายคาหน้าตึกแถว ตามกรรมสิทธ์แล้วเป็นของตึกแถวแต่จากสภาพการใช้งานจริงก็ได้กลายเป็นทางสาธารณะไปแล้วบางพื้นที่ทางร้านค้าเจ้าของตึกแถวก็มีการนำของออกมาตั้งขายทำให้พื้นที่ทางเท้าลดลง อย่างไรก็ดี ในบางพื้นที่ทางราชการกลับมาการทำพื้นที่ทางเท้ามาทำที่ขายของ บางที่เป็นแค่การตีเส้นกำหนดแนวขายของ บางที่มีการทำหลังคาขนาดใหญ่คลุม กลายเป็นอาคารบนทางเท้าขายของกันอย่างถาวร สิ่งก่อสร้างนี้เกิดขึ้นที่ทางเท้าหน้าตลาดคลองเตย ตลาดสดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ได้มีการสร้างและใช้งานไปนานแล้วและในปัจจุบันกำลังมีการขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยสร้างบนทางเท้าอีกเช่นเคย ถ้าท่านทั้งหลายได้มีโอกาสขับรถบนถนนพระราม 4 จะทราบดีว่าถนนที่ขับมาจากแยกเกษมราษฎร์ที่มี 4 ช่องทางจราจร จะมารวมกับจุดสิ้นสุดของถนนทางรถไฟเก่าที่มี 2 ช่องจราจร แล้วถูกลดขนาดถนนเหลือ 3 ช่องจราจรบริเวณตลาดสดคลองเตยที่มีการจราจรคับคั่ง แต่ความจริงแล้วยังคงมีการเสียผิวทางจราจรอีกหนึ่งช่องทางด้านซ้ายไปกับที่จอดรถสามล้อเครื่อง ป้ายรถประจำทาง หรือจากรถยนต์ที่มีการจอดซื้อสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสภาพการจราจรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงคือ ตำแหน่งและพื้นที่จอดรถยนต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ที่จอดรถก็ยังคงจำเป็นสำหรับประชาชนที่ใช้บริการในจุดนั้น ๆ รวมไปถึงเส้นทางของการลำเลียงสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจะนำพื้นที่ทางเท้ากลับไปเป็นพื้นที่ใช้สอยจึงควรมีการพิจารณาเป็นพิเศษรวมไปถึงการจัดเตรียมพื้นที่จอดรถยนต์ไว้อย่างพอเพียง อาจจะต้องมีการซื้อตึกแถวบางส่วนในบริเวณดังกล่าวหรือบริหารพื้นที่โล่งด้วยวิธีการพบกันครึ่งทางระหว่างพื้นที่ขายของบนทางเท้ากับที่จอดรถ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

Continue Reading

Roads and Manholes

  ทุกครั้งที่ขับรถเข้าหรือออกจากซอยตอนมาทำงานและกลับบ้าน ก็นึกในใจทุกครั้งว่า ทำไมทางราชการต้องทำถนนโดยให้มีท่อระบายน้ำและบรรดาฝาต่าง ๆ ของระบบสาธารณูปโภคมาอยู่ในผิวทางจราจรด้วย ทำไมไม่ทำถนนลาดยางให้เรียบเหมือนกับทางเดินในอาคารบ้าง ผมพยายามเข้าใจครับกับถนนซอยบางเส้นที่มีการขยายเส้นทางให้มีขนาดกว้างขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดก็ต้องนำบ่อพักท่อระบายน้ำมาอยู่ร่วมกับถนน เลยเกิดแนวความคิดว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างฝาบ่อพักต่าง ๆ ให้อยู่ในระนาบเดียวกับถนนหรือมีความต่างระดับกันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนได้มีโอกาสได้เห็นการทำงานปรับปรุงผิวทางจราจาตามซอยต่าง ๆ แถวบ้าน โดยหลักการทั่วไปจะเป็นการเสริมฝาบ่อพัก จากนั้นจะเสริมผิวจราจรด้วยยางมะตอยและใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการบดอัดผิวให้เรียบ     เท่าที่ดูการทำงานของคนงานพบว่า เมื่อทำการปรับระดับฝาบ่อพัก จะมีการยกฝาบ่อพักเดิมทิ้งไป และสกัดคอนกรีตของเดิมเพื่อก่อสร้างขอบบ่อพักใหม่ แต่ไม่พบว่ามีการถ่ายระดับของถนนมาเป็นระยะอ้างอิงของขอบบ่อพักใหม่ ตรงจุดนี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้ฝาบ่อพักไม่ได้ระดับกับผิวจราจร รวมไปถึงการระบายน้ำไม่หมดไปจากผิวจราจร ถ้าดูจากรูปฝาบ่อระบายน้ำจะเห็นได้ว่า จะมีส่วนของฝาบ่อพักและตัวบ่อพัก และจบด้วยผิวถนนยางมะตอย เนื่องจากเป็นการทำงาน 3 ครั้งจึงมีโอกาสมากที่จะได้ระดับต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการที่ไม่มีแบบขยายการทำขอบบ่ออย่างถูกต้อง จึงได้ผลลัพธ์ของการก่อสร้างแบบที่เห็น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการประสานงานกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น เช่น องค์การโทรศัพท์ในการยกระดับฝาบ่อพัก จนท้ายที่สุดเราก็ได้ถนนตามรูปข้างล่าง จะเห็นได้ว่าระดับของฝาบ่อต่ำกว่าระดับถนนที่ลาดยางใหม่อย่างชัดเจน อันก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังตรงบริเวณฝาบ่อ การที่ฝาบ่อที่เป็นเหล็กเปียกน้ำหรือมีน้ำท่วงขังอาจก่อให้เกิดความอันตรายกับรถจักรยานหรือจักรยานยนต์ลื่นล้นได้ตรงบริเวณดังกล่าว ทางออกหนึ่งที่อยากจะเสนอคือการออกแบบฝาบ่อพักต่าง ๆ ใหม่โดยออกแบบให้สามารถปรับระดับขึ้นสูงกว่าเดิมเพื่อให้การทำผิวถนนยางมะตอยได้พอดีกันตามแบบร่างด้านล่าง แนวทางคือ ออกแบบฝาบ่อพักโดยให้มีการใช้สกรูตัวหนอนขนาดใหญ่ 4 ตัวติดตั้งบริเวณมุมทั้ง 4 ด้าน เพื่อใช้ไขปรับระดับความสูงของฝาบ่อพักให้สูงใกล้เคียงกับผิวถนน  สกรูตัวหนอนจะยึดกับน๊อตตัวเมียขนาดใหญ่ที่สร้างโดยยึดติดกับฝาบ่อ เมือไขสกรูตัวหนอนลงไป แกนของสกรูตัวหนอนจะดีดฝาบ่อให้สูงขั้น อย่างไรก็ดี การลาดยางผิวถนนยังต้องต้องมีการตรวจสอบความลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลลงไปยังฝาบ่อระบายน้ำ   จากแบบขยายข้างต้นเราก็จะได้ฝาบ่อพักที่ปรับระดับให้สูงขึ้นได้เพื่อรองรับการทำงานถนนยางมะตอยที่ทำระดับผิวสำเร็จได้ไม่ดี เพื่อลดปัญหาถนนและระดับฝาบ่อพักที่ไม่เท่ากัน  …

Continue Reading

Car Parking and Bike Lanes

วันนี้ขอเสนอเรื่องราวที่อาจจะชินตากับทุกท่านที่ใช้เส้นทางบนท้องถนนในตามเช้า สาย บ่าย เย็นครับ คงจะปฏิเสธได้ยากครับสำหรับการใช้รถยนต์ของประชาชนในเมืองใหญ่ ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็น บางครอบครัว ซื้อบ้านอยู่แนวรอบนอกของเมือง อยู่ในถนนซอยที่ไกลออกไป บางแห่งไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับ อันเกิดมาจาก บริษัทฯพัฒนาที่ดิน ไปลงทุนตรงนั้น โดยมองว่าต้นทุนของราคาที่ดินยังต่ำอยู่ อันก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา บนถนนรัชดาภิเษก จากสี่แยกอโศก มุ่งหน้า สี่แยกคลองเตย เป็นที่ตั้งของกลุ่มอาคารสำนักงานจำนวนหนึ่ง ที่ผมใช้เส้นทางเป็นประจำ เกือบทุกวันทำงานจะพบว่ามีการจอดรถยนต์ข้างทางซ้อนคันเพื่อรับส่ง จอดส่งของ จอดรถไปซื้อของ จอดลงไปซื้อหาอาหาร ตลอดเส้นทาง ทั้งที่มีการติดป้ายจราจรห้ามจอดตลอดเส้นทาง รถที่วิ่งด้วยความเร็วบนถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร จะถูกชะลอให้ช้าลงด้วยช่องกลับรถทางด้านขวามือติดกับเกาะกลางถนน จากนั้นจะถูกลดขนาดช่องทางจราจรจาก 4 ลงเหลือ 3 และ 2 ช่องทางบริเวณหน้าสถานที่เรียกว่า ตลาด สร้างปัญหาในการระบายการจราจรจาก ถนนอโศกที่มีขนาดถนนด้านในจริงเพียงฝั่งละ 2 ช่องทาง สิ่งที่เกิดขึ้นถือได้ว่าเป็นปัญหาทางจราจรที่เกิดจากผู้ใช้ เส้นทางไม่ปฏิบัตตามกฎจราจร รวมไปถึงเจ้าพนักงานที่ไม่ทำหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย และกลายเป็นการสร้างปัญหาจราจรให้ติดขัดโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีปัญหาของการทำผิวถนนที่ไม่เรียบ เป็นหลุม มีฝาท่อระบายน้ำที่ไม่ได้ระดับกับผิวถนนอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้เป็นการชะลอความเร็วของรถให้เคลื่อนที่ได้ช้าลง เปรียบเสมือนไขมันอุดตันในเส้นเลือด  บางแห่งใกล้สถานที่ก่อสร้างมีการนำกรวยยางมาวางเอาไว้เพื่อให้รถบรรทุกคอนกรีตมาจอดรอเทคอนกรีตบนถนนสาธารณะ บางแห่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาอำนวยความสะดวกของจราจรตอนรถคอนกรีตเข้ามายังหน่วยงานก่อสร้างก็เคยพบ จากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้สร้างปัญหาการจราจรให้ติดขัดมาก จนทางกรุงเทพมหานครได้เสนอแนวคิดใหม่ที่จะห้ามจอดรถยนต์ด้วยการทำทางวิ่งของรถจักรยานแทน …

Continue Reading

FAR & Development in India

ได้มีประสบการณ์ออกแบบงานในประเทศอินเดียมาซักระยะหนึ่งแล้วครับ จะว่าไปก็นานหลายปีแล้วเหมือนกัน จึงอยากนำเรื่องการออกแบบ วางผัง ของโครงการอาคารพักอาศัยในประเทศอินเดียมาเปรียบเทียบกับของบ้านเราครับ      ประเทศไทยมีการควบคุม FAR ในกฎหมายอาคารที่ 10:1 และในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการให้สัดส่วน FAR ต่างกันไป เช่น ในกรุงเทพฯ พื้นที่ในย่านพักอาศัยหนาแน่นมาก จะมี FAR ลดลงเหลือไม่เกิน 8:1 และลดหลั่นไปตามลำดับของความสำคัญของแต่ละพื้นที่ ทางด้านกฎหมายอาคารจะกำหนดให้มีพื้นที่อาคารปกคลุมดินและพื้นที่เปิดโล่งสำหรับอาคารพักอาศัยที่ 70:30 และมีการกำหนดให้มีระยะร่นของแนวอาคารห่างจากเขตที่ดินสำหรับอาคารสูงและใหญ่พิเศษที่ไม่น้อยกว่า 6 เมตร รวมไปถึงการอนุญาตให้สร้างอาคารได้สูงไม่เกินสองเท่าของความกว้างถนนด้านหน้าโครงการ นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดจากคณะกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมออกมาควบคุมพื้นที่สีเขียวที่เป็นสัดส่วนกับจำนวนผู้อยู่อาศัยในโครงการนั้น ๆ สำหรับอินเดีย ประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก มีการกำหนดรูปแบบของระยะร่นอาคารจากเขตที่ดิน รวมไปถึง FAR เอาไว้แตกต่างจากบ้านเราพอสมควรโดยยึดโยงกับขนาดความกว้างของถนน เช่น ถนนกว้าง 14.50-20.00 ม FAR 2.25:1 ในเขตพาณิชยกรรม และ 2.50:1 ในเขตอื่น ๆ ถนนกว้าง 20.00-24.00 ม FAR 2.50:1 ในเขตพาณิชยกรรม และ 2.75:1 ในเขตอื่น ๆ ถนนกว้างกว่า 24.00 ม FAR …

Continue Reading

Tactiles IV

  สัปดาห์นี้คงเป็นเรื่องของกระเบื้องสำหรับผู้พิการทางสายตาในส่วนทางเดินเท้าภายนอกอาคารครับ  การเดินไปตามตามเส้นทางเดินเท้าด้านข้างถนน คนธรรมดาอาจจะรู้สึกอึดอัดได้ในบางครั้งที่จะต้องพบกับสิ่งกีดขวางตามทางเท้า ไม่ว่าจะเป็น เสาป้ายต่าง ๆ ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่นับวันจะหาคนใช้ได้น้อยมากเนื่องจากการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีราคาถูกลงมาก ตู้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า ตู้สาขาของโทรศัพท์ ลวดสลิงหรือค้ำยังเหล็กที่ค้ำยันเสาไฟ เสาไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่สามารถจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ แต่จุดที่ทางเท้าจะต้องถูกตัดขาดเพื่อเป็นทางรถวิ่งเข้าออกอาคารหรือตามบ้านเรื่อนประชาชน นับได้ว่าเป็นจุดที่ค่อนข้างอันตรายเพราะเป็นจุดตัดระหว่างถนนกับทางเท้า จำเป็นที่จะต้องดูแลความปลอดภัยตรวจุดนี้เป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการอำนวยความสะดวกของผู้พิการทางสายตาในการข้ามถนน ตามทางเดินเท้า ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1200 มม ทางเดินราบได้ระดับ เมื่อใดก็ตามที่ทางเดินมีความลาดเอียงเมือพบกับพื้นต่างระดับ ก็จะต้องมีการเตรียม กระเบื้องแบบ Hazard warning tile เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาทราบ มีการทำได้หลายรูปแบบ เช่น แบบขนานกับถนน หรือ แบบตรงมุมโค้งของถนน ทางเดินเท้าบริเวณที่จะข้ามถนน ควรลดระดับเสมอเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเดินหกล้มและเพื่อใช้งานร่วมกับผู้พิการที่ใช้รถเข็น (wheel chair) ความลาดเอียงของทางลาดไม่เกิน 1: 12 ในกรณีที่ทางเท้ามีความกว้างไม่มากแบบในบ้านเรา การทำทางลาดจะมีระยะไม่เพียงพอ จึงต้องทำการลดระดับพื้นโดยลดระดับทางเท้าทั้งช่วงตามรูป   2. ทางเดินเท้าที่เข้าอาคารจะมีการเตรียมกระเบื้องปูพื้นเพื่อช่วยบอกเส้นทางเข้าสู่อาคารโดยมีระยะห่างที่ปลอดภัยจากแนวเปิดของบานประตูตามรูป 3.  ทางเดินข้ามถนน โอกาสที่ผู้พิการจะเดินข้ามถนนมีมากและเป็นเรื่องยากลำบากเพราะรถยนต์ที่วิ่งบนถนนมีความเร็วสูง การทำทางข้ามอาจแบ่งออกได้เป็นสองรูปแบบคือ 3.1 ทางเดินข้ามถนนที่มีการลดระดับทางเท้าลงเสมอถนนตามข้อ 1 กรณีที่ถนนมีเกาะกลางจะทำสัญญาณเสียงและราวเหล็กเพื่อบังคับการเดินของผู้พิการทางสายตาไม่ให้ลงไปบนพื้นผิวจราจร และในส่วนของถนนที่ไม่มีเกาะกลางเพื่อความปลอดภัยควรมีการทำราวเหล็กทั้งสองด้านด้วยเช่นกัน      3.2 ทางเดินข้ามถนนที่มีการยกระดับพื้นถนนเพื่อให้คนพิการทางสายตาและผู้ใช้รถเข็น …

Continue Reading

Tactiles III

  สัปดาห์นี้เราจะไปดูเรื่องของการป้องกันการเดินชนของผู้พิการทางสายตาจากส่วนตกแต่งภายในอาคารครับ บางเรื่องอาจเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึง การเดินไปตามสถานที่ต่าง ๆ มีของผู้พิการทางสายตาต้องอาศัยความจดจำของผู้พิการและสัญญลักษณ์ของเส้นทางบนพื้น หรือ ป้ายส่งเสียงเตือน รวมไปถึงป้ายอักษรเบลล์ อาคารสาธารณะทั่วไปมักจะมีการติดตั้งป้ายโฆษณายื่นออกมาจากผนัง รวมไปถึงบรรดาตู้สายดับเพลิงที่อาจจะมีการติดบนผนังให้ยื่นออกมาในบริเวณทางเดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับคนทั่วไป แต่เป็นสิ่งกีดขวางที่ผู้พิการทางสายตาอาจจะใช้ไม้เท้านำทางตรวจหาไม่พบ และทำให้เดินชน ได้รับบาดเจ็บได้ง่าย การเดินไปตามทางเดินดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่น่ามีอันตรายเกิดขึ้น แต่จุดที่เป็นพื้นที่หน้าประตูกลับเป็นอีกจุดที่สามารถเกิดการเดินชนของผู้พิการทางสายตา รวมไปถึงคนปกติทั่วไป โดยมาตรฐานในการออกแบบ เรามักจะทำหนดให้ประตูฉุกเฉินเปิดจากภายในห้องสู่ทางเดินเพื่อเดินต่อเนื่องไปยังทางหนีไฟ การออกแบบโดยกำหนดให้ประตูมีระยะร่นถอยเข้าไปเพียงพอที่จะไม่ให้บานประตูล้ำเข้ามาในเส้นทางเดินจึงนับเป็นเรื่องที่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ รวมไปถึงในช่องบันไดหนีไฟ การออกแบบที่ช่วยให้เกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุดย่อมสร้างความปลอดภัยมากที่สุดในการใช้งานของทุก ๆ คน รูปด้านล่างเป็นตัวอย่างการออกแบบโดยไม่ให้บานประตูเปิดเข้ามากีดขวางทางเดินของคนในช่องบันไดหนีไฟ อาคารที่มีการออกแบบบันไดแบบเปิดโล่งนับเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถสร้างอันตรายให้กับผู้พิการทางสายตาได้เช่นกัน การเดินไปตามทางเดินเมื่อเดินเข้าสู่พื้นที่ใต้บันได จะมีการเตรียมผนังหรือราวเหล็กเป็นแนวป้องกันไม่ให้เดินเข้าไปในระยะที่มีความสูงจากพื้นถึงท้องบันไดที่มีระยะน้อยกว่า 2 เมตร สำหรับคนตาดี การเดินไปตามสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน จะอาศัยการดูจากแผนที่ผังภายในอาคารนั้น ๆ แต่สำหรับผู้พิการ จะมีสามารถรับรู้จากป้ายเหล่านี้ได้ เว้นแต่จะใช้ป้ายแบบที่มีเสียงอธิบาย และส่วนมากก็จะมีเพียงแค่จุดเดียวของแต่ละอาคาร จุดต่าง ๆ ก็จะอาศัยป้ายบอกเส้นทาง ป้ายบอกทางหนีไฟ เป็นหลัก ป้ายที่เป็นอักษรเบลล์จึงเป็นสิ่งที่ควรมีการเตรียมเอาไว้ร่วมกับป้ายในอาคารเช่นกัน ป้ายบอกเส้นทางหนีไฟแบบอักษรเบลล์/caption

Continue Reading

Tactiles II

 วันนี้เรามาดูเรื่องกระเบื้องปูพื้นสำหรับผู้พิการทางสายตาต่อกันครับ  การใช้กระเบื้องปูพื้นเพื่อบอกเส้นทางให้กับผู้พิการทางสายตาอาจแบ่งได้ออกเป็นสองส่วนครับคือส่วนของภายในอาคาร และ ภายนอกอาคาร ส่วนภายในอาคารได้แก่ ทางเดินไปยังจุดต่าง ๆ ภายในอาคารเช่น ทางเดินไปยังบันไดหรือบันไดหนีไฟ ทางเดินไปห้องน้ำ ทางเดินไปตู้ขายบัตรรถไฟฟ้า ทางเดินไปยังช่องทางเข้าชานชาลา ทางเดินไปยังชานชาลารถไฟฟ้า ทางเดินทั่วไปภายนอกอาคารหรือทางเท้า จะมีการจัดเตรียม Hazard warning tile เอาไว้เพื่อเตือนผู้พิการทางสายตา ที่เดินสัญจรไปมาตามทางเท้าไว้หลายรูปแบบ อยากเริ่มในส่วนของภายในอาคารก่อนครับ ทางเดินภายในอาคารที่มีการจัดเตรียมกระเบื้องปูพื้นที่บอกเส้นทางสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่อยากยกตัวอย่างได้แก่ อาคารสถานีรถไฟฟ้า เนื่องจากเป็นอาคารสาธารณะที่มีการใช้งานทุกวันในการเดินทางไปทำงานหรือสถานที่ต่าง ๆ จุดปลายทาง โดยทั่วไปจะมีการเตรียมกระเบื้องปูพื้นมีดังนี้ จุดที่เป็นทางเข้าและออกสถานีรถไฟฟ้า และจุดที่บอกองค์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร (Directory board) จุดเริ่มต้นและปลายทางของบันได หรือ ลิฟท์ จุดเริ่มต้นและปลายทางของตู้หรือห้องขายตั๋วรถไฟฟ้า จุดเริ่มต้นและปลายทางของ ประตูเข้าชานชาลาสถานี จุดเริ่มต้นและปลายทางของห้องน้ำ จุดรอรถที่ชานชาลา บริเวณทางเข้าอาคารที่เป็นประตู การจัดระยะของกระเบื้องปูพื้นก็มีความแตกต่างกันและมุ่งผลในด้านความปลอดภัยของผู้พิการทางสายตาเช่นกัน มีการเตือนให้ทราบก่อนที่จะเดินเข้าสูงระยะการเปิดของประตู สิ่งเหล่านี้      เมื่อเข้าสู่ภายในอาคารแล้วพวกเขาคงต้องการทราบรายละเอียดตำแหน่งห้องต่าง ๆ ภายในอาคารครับ สิ่งเดียวที่สื่อสารกับเขาได้คือ Directory board ที่ใช้สำหรับผู้พิการทางสายตา หรือติดต่อสอบถามที่ประชาสัมพันธ์      การเดินไปยังจุดต่าง ๆ …

Continue Reading