­
Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Tactiles IV

  สัปดาห์นี้คงเป็นเรื่องของกระเบื้องสำหรับผู้พิการทางสายตาในส่วนทางเดินเท้าภายนอกอาคารครับ  การเดินไปตามตามเส้นทางเดินเท้าด้านข้างถนน คนธรรมดาอาจจะรู้สึกอึดอัดได้ในบางครั้งที่จะต้องพบกับสิ่งกีดขวางตามทางเท้า ไม่ว่าจะเป็น เสาป้ายต่าง ๆ ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่นับวันจะหาคนใช้ได้น้อยมากเนื่องจากการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีราคาถูกลงมาก ตู้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า ตู้สาขาของโทรศัพท์ ลวดสลิงหรือค้ำยังเหล็กที่ค้ำยันเสาไฟ เสาไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่สามารถจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ แต่จุดที่ทางเท้าจะต้องถูกตัดขาดเพื่อเป็นทางรถวิ่งเข้าออกอาคารหรือตามบ้านเรื่อนประชาชน นับได้ว่าเป็นจุดที่ค่อนข้างอันตรายเพราะเป็นจุดตัดระหว่างถนนกับทางเท้า จำเป็นที่จะต้องดูแลความปลอดภัยตรวจุดนี้เป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการอำนวยความสะดวกของผู้พิการทางสายตาในการข้ามถนน ตามทางเดินเท้า ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1200 มม ทางเดินราบได้ระดับ เมื่อใดก็ตามที่ทางเดินมีความลาดเอียงเมือพบกับพื้นต่างระดับ ก็จะต้องมีการเตรียม กระเบื้องแบบ Hazard warning tile เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาทราบ มีการทำได้หลายรูปแบบ เช่น แบบขนานกับถนน หรือ แบบตรงมุมโค้งของถนน ทางเดินเท้าบริเวณที่จะข้ามถนน ควรลดระดับเสมอเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเดินหกล้มและเพื่อใช้งานร่วมกับผู้พิการที่ใช้รถเข็น (wheel chair) ความลาดเอียงของทางลาดไม่เกิน 1: 12 ในกรณีที่ทางเท้ามีความกว้างไม่มากแบบในบ้านเรา การทำทางลาดจะมีระยะไม่เพียงพอ จึงต้องทำการลดระดับพื้นโดยลดระดับทางเท้าทั้งช่วงตามรูป   2. ทางเดินเท้าที่เข้าอาคารจะมีการเตรียมกระเบื้องปูพื้นเพื่อช่วยบอกเส้นทางเข้าสู่อาคารโดยมีระยะห่างที่ปลอดภัยจากแนวเปิดของบานประตูตามรูป 3.  ทางเดินข้ามถนน โอกาสที่ผู้พิการจะเดินข้ามถนนมีมากและเป็นเรื่องยากลำบากเพราะรถยนต์ที่วิ่งบนถนนมีความเร็วสูง การทำทางข้ามอาจแบ่งออกได้เป็นสองรูปแบบคือ 3.1 ทางเดินข้ามถนนที่มีการลดระดับทางเท้าลงเสมอถนนตามข้อ 1 กรณีที่ถนนมีเกาะกลางจะทำสัญญาณเสียงและราวเหล็กเพื่อบังคับการเดินของผู้พิการทางสายตาไม่ให้ลงไปบนพื้นผิวจราจร และในส่วนของถนนที่ไม่มีเกาะกลางเพื่อความปลอดภัยควรมีการทำราวเหล็กทั้งสองด้านด้วยเช่นกัน      3.2 ทางเดินข้ามถนนที่มีการยกระดับพื้นถนนเพื่อให้คนพิการทางสายตาและผู้ใช้รถเข็น …

Continue Reading

Tactiles II

 วันนี้เรามาดูเรื่องกระเบื้องปูพื้นสำหรับผู้พิการทางสายตาต่อกันครับ  การใช้กระเบื้องปูพื้นเพื่อบอกเส้นทางให้กับผู้พิการทางสายตาอาจแบ่งได้ออกเป็นสองส่วนครับคือส่วนของภายในอาคาร และ ภายนอกอาคาร ส่วนภายในอาคารได้แก่ ทางเดินไปยังจุดต่าง ๆ ภายในอาคารเช่น ทางเดินไปยังบันไดหรือบันไดหนีไฟ ทางเดินไปห้องน้ำ ทางเดินไปตู้ขายบัตรรถไฟฟ้า ทางเดินไปยังช่องทางเข้าชานชาลา ทางเดินไปยังชานชาลารถไฟฟ้า ทางเดินทั่วไปภายนอกอาคารหรือทางเท้า จะมีการจัดเตรียม Hazard warning tile เอาไว้เพื่อเตือนผู้พิการทางสายตา ที่เดินสัญจรไปมาตามทางเท้าไว้หลายรูปแบบ อยากเริ่มในส่วนของภายในอาคารก่อนครับ ทางเดินภายในอาคารที่มีการจัดเตรียมกระเบื้องปูพื้นที่บอกเส้นทางสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่อยากยกตัวอย่างได้แก่ อาคารสถานีรถไฟฟ้า เนื่องจากเป็นอาคารสาธารณะที่มีการใช้งานทุกวันในการเดินทางไปทำงานหรือสถานที่ต่าง ๆ จุดปลายทาง โดยทั่วไปจะมีการเตรียมกระเบื้องปูพื้นมีดังนี้ จุดที่เป็นทางเข้าและออกสถานีรถไฟฟ้า และจุดที่บอกองค์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร (Directory board) จุดเริ่มต้นและปลายทางของบันได หรือ ลิฟท์ จุดเริ่มต้นและปลายทางของตู้หรือห้องขายตั๋วรถไฟฟ้า จุดเริ่มต้นและปลายทางของ ประตูเข้าชานชาลาสถานี จุดเริ่มต้นและปลายทางของห้องน้ำ จุดรอรถที่ชานชาลา บริเวณทางเข้าอาคารที่เป็นประตู การจัดระยะของกระเบื้องปูพื้นก็มีความแตกต่างกันและมุ่งผลในด้านความปลอดภัยของผู้พิการทางสายตาเช่นกัน มีการเตือนให้ทราบก่อนที่จะเดินเข้าสูงระยะการเปิดของประตู สิ่งเหล่านี้      เมื่อเข้าสู่ภายในอาคารแล้วพวกเขาคงต้องการทราบรายละเอียดตำแหน่งห้องต่าง ๆ ภายในอาคารครับ สิ่งเดียวที่สื่อสารกับเขาได้คือ Directory board ที่ใช้สำหรับผู้พิการทางสายตา หรือติดต่อสอบถามที่ประชาสัมพันธ์      การเดินไปยังจุดต่าง ๆ …

Continue Reading

Tactiles

วันนี้ขอเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับผู้พิการที่ยังคงต้องใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับประชาชนทั่วไปครับ ในบรรดาผู้พิการทั้งหมด ผู้พิการทางสายตา ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนคนปกติหากแต่ต้องใช้ประสาทสัมผัสและความจำอันดีเยี่ยมเพื่อเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่าง ๆ อยากให้ทุกท่านลองปิดตาและเดินดูภายในห้องครับว่ามีความรู้สึกอะไร และต้องการอะไร เครื่องหมายในการนำทางครับคือสิ่งที่พวกเขาต้องการ ตามมาตรฐานของต่างประเทศ ได้มีการกำหนดกระเบื้องสำหรับคนพิการเอาไว้หลายรูปแบบ แต่ผมขอหยิบเอารูปแบบของกระเบื้องปูพื้นสำหรับผู้พิการทางสายตาที่ใช้ใน ฮ่องกงมาเป็นกรณีศึกษาครับ กระเบื้องปูพื้นจะแบ่งออกเป็น 3 แบบครับ Positional tile มีลักษณะเป็นปุ่มกลม มีขนาดเล็กกว่าแบบ Hazard warning tile และมีการจัดวางปุ่มกลมในแนวทะแยง ขนาดของแผ่นกระเบื้องประมาณ 300×300 มม ใช้เพื่อบอกการเปลี่ยนทิศทางในการเดินของผู้พิการฯ Hazard warning tile มีลักษณะเป็น ปุ่มกลม เรียงกันเป็นตาราง ขนาดของแผ่นกระเองกว้างเท่ากันกับแบบที่ 1 ใช้เพื่อบอกอันตรายแก่ผู้พิการฯ Directional tile มีลักษณะเป็นแถบยาวสีเส้นในหนึ่งแผ่นกระเบื้อง มีหัวและปลายที่มนเป็นรูปครึ่งวงกลม ขนาดของแผ่นเท่ากับแบบที่ 1 ใช้เพื่อบอกเส้นทาง ขนาดของแผ่นกระเบื้องมีการกำหนดเป็นขนาดมาตรฐานไว้ตามรูปด้านล่างครับ บ้านเรามีการนำเอาแผ่นกระเบื้องปูพื้นสำหรับผู้พิการมาใช้ตามทางเดินเท้าในกรุงเทพมหานคร และ ในระบบรถไฟฟ้าใต้ติดครับ หากแต่การนำมาใช้ มีการใช้กระเบื้องเพียง 2 แบบ คือ แบบ Hazard warning tile และ แบบ Directional tile …

Continue Reading