Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from construction)
-
Geerati Tiasiri
-
October 22, 2012
-
Wellness
-
Bangkok, Building Code, Building Law, construction, Construction method, Cooling Tower, Design, Emergency Exit, Emergency System, Engineering, FENN DESIGNERS, Geerati Tiasiri, Materials, Regulation, Sick Building Syndrome, Wellness
-
0 Comments
เรื่องของอาคารป่วยยังขาดเนื้อหาบางประการ อาทิตย์นี้ ผมจึงขอขยายความต่อ ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วย 1. เกิดจากความไม่พิถีพิถันในการก่อสร้าง ผลพวงจากการก่อสร้าง ที่ทำแบบสุกเอาเผากิน รีบๆทำให้เสร็จๆรับเงินแล้วก็ปัดฝุ่นจากไป ก่อสร้างอย่างไรก็ได้เพราะเจ้าของบ้านไม่รู้ ช่างหลายคนมักจะลักไก่ ขอยกตัวอย่างเช่น ส่วนที่ตาเรามองไม่เห็นช่างมักจะละเลยไม่ทำอะไรในส่วนนั้นเสมอ ถ้าท่านมีเวลาลองเอามือลูบที่ข้างใต้ประตู หรือ ข้างบนประตู เกือบจะร้อยทั้งร้อยที่ ช่างไม้ และช่างสีมักจะแกล้งลืมไม่ทำอะไรเลย เช่นไม่ขัดไสไม้ให้เรียบ หรือไม่ทาสีเลย จากการกระทำของช่าง จึงเป็นสาเหตุทำให้ประตูไม้ พองตัวในช่วงฤดูฝน เปิด ปิดประตูยาก สาเหตุเกิดจาก ความชื้นในบรรยากาศช่วงฤดูฝนค่อยๆซึมผ่านประตู จากข้างใต้ และข้างบนประตูทำให้ประตูพองตัว ถ้าช่างมีสำนึกที่ดีทาสีในส่วนนี้เช่นเดียวกับส่วนอื่น นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดการพองต้วของประตูไม้แล้วยังจะทำให้ประตูนั้นได้รับการปกป้องอย่างดี และมีอายุยืนยาว หรือช่างบางคนไม่ทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็ก ถ้าเป็นประตูเหล็กก็จะเกิดสนิมทำให้เหล็กค่อยๆผุกร่อนเสียหาย การก่อสร้างอย่างหละหลวมของช่าง เช่นนี้ จึงทำให้เราได้เห็นเหล็กเป็นสนิมตามที่ต่างๆ อยู่เสมอๆ ตามข้อกำหนดช่างสีจะต้องลงสีรองพื้น เวลาทาสีรองพื้นปูนช่างพยายามโน้มน้าวให้เจ้าของอาคารใช้ น้ำยารองพื้นเป็นชนิดสูตรน้ำ (Water base primer) ซึ่งไม่มีกลิ่น และสี เจ้าของบ้านก็ชอบที่ไม่มีกลิ่นรบกวน แต่ช่างกลับเอาน้ำเปล่าทารองพื้นปูนให้เจ้าของบ้านแทน ฯลฯ ทำให้สีที่ทาตามอาคารดูเก่าเร็ว หรือ หลุดร่อน หรือมีราขึ้นตามพื้นผิวคอนกรีตอย่างที่เห็นได้โดยทั่วไปในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่ช่างประปาต่อเชื่อมท่อพีวีซี ไม่มีการเตรียมผิวชิ้นงานให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก หรือคราบน้ำมันแล้วก็ทากาวและติดชิ้นท่อพีวีซีเข้าด้วยกัน ทำให้ในเวลาไม่นานต่อมาท่อรั่ว …
Continue Reading
Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from the exterior)
-
Geerati Tiasiri
-
October 12, 2012
-
Wellness
-
Ambiance, Bangkok, Building Code, Building inspection, Building Law, construction, Danger, Emergency System, Engineering, FENN DESIGNERS, Geerati Tiasiri, Life Safety, Radon, Regulation, Seasonal, Sick Building Syndrome, Sustainable Materials, Wellness
-
0 Comments
อาทิตย์นี้ ผมอยากขยายความอาการ และสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายนอกอาคาร ซึ่งจะ ประกอบด้วย: 1. อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) ประเทศไทย ได้เปรียบในเรื่องภูมิประเทศ หรือตำแหน่งที่ตั้ง ที่เห็นง่ายๆ ช่วงนี้ เกิดมีพายุโซนร้อนแกมี ซึ่งมีศูนย์กลางพายุอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แน่นอนย่อมทำความเสียหายให้แก่พื้นที่จังหวัดเสียมราฐ นั้นมากมายสุดคนานับ และแล้วพายุก็อ่อนตัวลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประเทศไทยจึงได้รับความเดือดร้อนแค่เพียงฝนตกหนัก อาจจะมีน้ำท่วมขังบ้างขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่ สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิทั้งปี แตกต่างกันน้อยมาก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากจนทำให้อาคารเสียหายได้ เว้นแต่ฤดูร้อน และฤดูฝนที่เป็นสาเหตุทำให้อาคารส่วนใหญ่ในประเทศเสียหายได้ และเกือบตลอดเวลาเมื่อฤดูนี้มาเยือน ความร้อน และความชื้นจากแดด และฝน ต่างก่อเกิดความเสียหายคนละอย่าง ดังเช่น เมื่อแสงแดดแผดเผาอาคารมากๆ ไม่เพียงแต่ความร้อนเท่านั้นที่แผดเผาอาคาร ยังพารังสีต่างๆมาด้วยมาทำความเสียหายอย่างอื่นให้แก่อาคาร อาคารแต่ละอาคารต่างก็ก่อสร้างด้วยวัสดุหลายอย่าง ซีเมนต์ หิน ทราย เหล็ก ไม้ อลูมิเนียม กระจก และไฟเบอร์กลาส เป็นต้น เมื่อวัสดุดังกล่าวถูกความร้อน ย่อมแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจาก วัสดุต่างๆ นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนั่นเอง ตัวอย่างที่จะอธิบายให้เห็นง่ายๆ เมื่อแสงแดดอันร้อนแรงสาดส่องไปที่พื้นคอนกรีตที่ประกอบด้วยวัสดุหลากหลายเช่น ซีเมนต์ หิน ทรายและเหล็กเสริม ซึ่งเหล็กจะขยายตัวได้มากกว่าวัสดุอื่นๆที่เป็นส่วนผสมในคอนกรีต ผลคือทำให้คอนกรีตร้าว และอาจจะเสียกำลังในการรับน้ำหหนักได้ …
Continue Reading
Sick Building Syndrome ( SBS )
-
Geerati Tiasiri
-
October 5, 2012
-
Wellness
-
Ambiance, Cooling Tower, Design, environment, FENN DESIGNERS, Radon, SBS, Seasonal, Sick Building Syndrome, Sustainable Materials, Ultra violet, Wellness
-
0 Comments
มนุษย์ป่วย สัตว์ป่วย หรือ พืชป่วย น่าจะเป็นเรื่องปรกติ ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่เรากำลังพูดถึง อาคารป่วย คงมีคำถามตามมามากมาย อาคารคอนกรีต อาคารเหล็ก อาคารไม้ ป่วยเป็นเหรอ? ใครจะเป็นหมอรักษาอาคารป่วยได้ จะวินิจฉัยโรคได้อย่างไร อะไรคือสาเหตุทำให้อาคารเหล่านี้ป่วย จะเอายาอะไรให้อาคารกินดี ยาแผนปัจจุบัน หรือยาแผนโบราญ ถ้าป่วยหนักๆ จะเอาเข้าเครื่องสแกนเพื่อวินิจฉัยโรดได้อย่างไร เมืองไทยยังไม่ถือเอาเรื่องอาคารป่วยมาเป็นสาระสำคัญ อาการป่วยของอาคารแท้จริงแล้วเป็นเรื่องใหญ่หลวงมาก หลายตนคงนึกไม่ถึง อาคารป่วยได้จาก ภายในอาคาร และจาก ภายนอกอาคาร พอสรุปโดยสังเขปได้ว่า อาการป่วยภายนอกอาคาร ประกอบด้วย อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) รังสีที่แผ่มาจากบรรยากาศ (Ultra Violet) และรังสีที่แผ่มาจากใต้ดิน (Radon) ความชื้นจากบรรยากาศ (Ambiance Moisture) จากน้ำค้าง จากน้ำฝน จากหมอก จากหิมะ และลูกเห็บ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโลก เช่น แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม และดินทรุดตัว เป็นต้น อาการป่วยที่เกิดจากภายในอาคาร เป็นผลพวงที่ตามมาจากการก่อสร้าง ทำให้เกิดปัญหาภายหลัง เช่นอาคารทรุดตัว อันเนื่องจากปัญหาของฐานราก การที่คาน …
Continue Reading
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
This is fantastic! Keep up the good work. ❤️
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…