Motorcycle Dilemma (part 2)

การที่เรามีขบวนการรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างหรือที่กลายสภาพเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดจิ๋ว ถึงแม้นว่าจะช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางไปทำงานได้อย่างรวดเร็ว สะดวก แทบจะเดินออกจากบ้านก็สามารถเดินทางไปถึงที่ทำงานได้เลย เมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบการขนส่งมวลชนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งต้องเดินออกจากบ้านมาขึ้นรถ 2 แถวออกจากซอยหน้าบ้านไปยังถนนใหญ่ เพื่อนั่งรถเมล์ อีก 1-3 ต่อกว่าจะไปถึงที่ทำงานได้ดังนั้นระบบรถมอเตอร์ไซด์จึงเจริญเติบโตมาได้เท่าทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามเราก็ได้รับผลกระทบของการมีระบบขนส่งมวลชนขนาดจิ๋วนี้ แตกต่างกันไป ดังเช่น พวกเขาจอดรถขวางทางเท้า บางที่แทบไม่มีที่ให้คนเดินเอาเสียเลย พวกเขาจอดรถขวางทางรถยนต์ ต้องเบียดรถพวกเขาเข้าออกในซอยเล็กๆ บางที่เจอเขาเดินมาบอกว่า อย่ามาจอดรถตรงนี้ เพราะที่นี่ คือ วินมอเตอร์ไซด์ (ไม่ทราบใครเสียภาษีบำรุงกรมขนส่งทางบกมากกัน) เคืองแต่ก็ต้องหลบเพราะกลัวเขากรีดรถหรือ เอาตะปูแทงยางรถเรา พวกเขาทำกำบังฝนและแดด แฮนเมด ด้วยเศษวัสดุต่างๆ ที่พอหาได้ เป็นมลพิษทางสายตาอย่างยิ่ง ท่ามกลางความสดวกสบายในการเดินทางไปทำงานของผู้คน และก็ลืมไปว่าการนั่งรถมอเตอร์ไซด์นั้นอันตรายเพียงใด อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถึงแม้นว่ารัฐจะออกกฎหมายให้ผู้ซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์ต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย แต่ด้วยความมักง่าย หรือ เรื่องสุขลักษณะส่วนตัวทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ยอมสวมหมวกนิรภัย สำนักสถิติแห่งชาติ ได้สรุปผลการสำรวจจากประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปในปี 2553 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 50.3  ล้านคน – ผู้ที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน จำนวน 48.7 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 96.9 – และมีผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางถนนจำนวน 1.6 …

Continue Reading

Traffic Signs in Thailand

     AH12 Asian Highway # 12 คนเราย่อมมีการเดินทางเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิต ไม่ว่าจะเดินทางใกล้ไกลเพียงใด ภายในจังหวัด อำเภอหรือ เดินไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วไทย ป้ายบอกทางจราจร ช่วยให้เราเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางมานับครั้งไม่ถ้วน ลองนึกภาพดูว่าถ้าไม่มีป้ายบอกทาง เราคงไปไหนต่อไหนลำบาก ถ้าไม่รู้จัก หรือคุ้นเคยกับสภาพท้องที่นั้นๆ ผมคนหนึ่งถ้าปล่อยให้ผมขับรถไปเอง ในที่ๆ ผมไม่คุ้นเคยเช่นในกทม ผมคงจอดถามชาวบ้านข้างทางนับครั้งไม่ถ้วน ป้ายจราจรได้ให้ความสะดวกในการเดินทางแก่เรามากมาย ผมยังคงเป็นคนโบราญ ที่มักศึกษาเส้นทางก่อนการเดินทาง ยังคงดูแผนที่ทางหลวงเมื่อจะเดินทางไปในต่างจังหวัดที่ไม่เคยไป จากนั้นก็อาศัยป้ายจราจรนี่แหละช่วยนำทางไปยังจุดหมายที่ต้องการไป ป้ายบอกทางนอกจากจะบอกว่าไปทางไหนแล้วยังบอกระยะทางให้เราได้ทราบว่าเราอยู่ใกล้ไกลที่ไหนแล้ว ทำให้เราคะเนได้คร่าวๆว่าเมื่อไหร่จะถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะไป ในปัจจุบัน ป้ายทางหลวงระหว่างเมืองเราจะเริ่มเห็นป้าย สีน้ำเงินเขียนว่า AH12 หมายถึง ถนนเอเชี่ยนไฮเวย์หมายเลขที่ 12 (Asian Highway #12) ผมก็เข้าใจว่า ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกต่างก็ทำป้ายรูปลักษณ์เดียวกันนี้ ติดตามถนนสายสำคัญเพื่อรองรับกการเปิดประเทศในกลุ่ม AEC ในปีพศ 2558 และเป็นการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ AEC ด้วยกัน ให้สามารถเดินทางได้สะดวกปลอดภัยมากขึ้น ขึ้นชื่อว่าประเทศไทย ท่านทราบหรือไม่ว่า ในแต่ละวัน ป้ายจราจร หรือป้ายบอกทางถูกขโมยไปมากมาย คนพวกนี้เพียงเอาเศษเหล็กจากตัวป้ายไปขายได้ไม่กี่บาทเท่านั้นเอง แต่ก็เป็นเรื่องให้ปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทอย่างมาก …

Continue Reading

Understanding the Dynamics of Water to Prevent Flood

คนส่วนใหญ่คงจำได้เรื่องฝนพันปีที่เคยท่วมทำความเสียหายให้แก่ประเทศไทย และ กรุงเทพมากมาย เมื่อสมัยที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ปี 2528 และทุกคนคงจำได้ไม่ลืมเลือนถึงความตระหนกกลัว เมื่อปีที่แล้ว(2554) ที่มวลน้ำเหนือไหลบ่าเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร ผสมโรงกับน้ำฝนที่ไหลหลั่งลงมาจากฟากฟ้าวันแล้ววันเล่า เท่าที่จำความได้ ยังไม่เคยมีปีไหนที่น้ำเหนือจะไหลบ่าลงมาด้วยมวลน้ำที่มากมายมหาศาลขนาดนี้ จาก 2 เหตุการณ์ที่กล่าวถึงข้างต้น ต่างเกิดจากธรรมชาติ ช่างโหดร้ายเหลือเกิน ที่ทำให้ฝนตกมากผิดปรกติ เหตุการณ์แรกเขื่อนที่อยู่ด้านเหนือน้ำ ได้รับการบริหารจัดการอย่างดี เก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนในปริมาณที่เหมาะสม กรุงเทพจึงต่อสู้กับภัยจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ส่วนเหตุการณ์ที่ 2 ที่ผ่านเราไปหยกๆ เขื่อนต่างๆ ไม่ได้รับการบริหารจัดการที่เหมาะสม หรืออีกนัยหนึ่งคือ เขื่อนทุกเขื่อนต่างเก็บกักน้ำไว้เต็มปริมาณความจุของตัวเขื่อน เมื่อเกิดเหตุผิดปรกติ คือ มีดีเปรสชั่นเกิดขึ้น 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน และด้วยเคราะห์กรรมซ้ำเติม ที่ทำให้ปริมาณน้ำฝนจำนวนมหาศาลไปตกหลังเขื่อน หมายความว่า เขื่อนเหล่านั้นที่มีน้ำเต็มเขื่อนอยู่แล้ว ไม่สามารถรับน้ำฝนที่ไหลเข้าเขื่อนเพิ่มเติมได้อีก ต่างต้องรีบปล่อยน้ำออกจากเขื่อน อย่างมากมายเพราะกลัวเขื่อนพังทลาย เป็นธรรมดาที่น้ำย่อมไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ น้ำจากเขื่อน จึงไหลท่วมจังหวัดต่างๆ ที่อยู่ท้ายเขื่อน อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทมุธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานครในที่สุด ดังนั้น เราต้องตั้งสติให้ดี วิเคราะห์ให้ถูกจุดว่า จะรับมืออย่างไรกับธรรมชาติ หน่วยงานของรัฐต้องมีวิสัยทัศน์ …

Continue Reading

The New Foolishness of Flood Protection in Bangkok

Flood ! Flood ! Flood ! ในชีวิตคนกรุงอย่างเราท่านคงหนีไม่พ้น คำว่า น้ำท่วม ปี พศ 2554 เป็นปีที่ทำให้ทุกคนจดจำ หวาดผวา ขวัญเสีย ใจเสีย ทำใจไม่ได้ ตกใจกลัว ลนลาน เสียสุขภาพจิต ทุกๆ 5 นาที ในการสนทนาไม่ว่าเรื่องใด ทุกการสนทนาจะหนีไม่พ้น เรื่องน้ำกำลังมา ศัพท์ทางเทคนิดที่พวกวิศวกรใช้กันเริ่มทำให้คนส่วนใหญ่ได้รู้จัก ไม่ว่าจะเป็น ต้นน้ำ ท้ายน้ำ มวลน้ำ ลูกบาศก์เมตร ระดับน้ำสูงเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก) รวมถึงการมีเชื้อโรค และพิษภัยที่มาจากน้ำ ถ้าคิดในทางบวกก็เป็นการดี ที่สถาณการณ์ได้พัฒนากลายเป็นห้องเรียนให้กับคนไทยส่วนมาก และได้รู้ว่าเมื่อถึงภาวะคับขันคนไทยมีน้ำใจงามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนไทยหลายคนมีจิตอาสาช่วยคนยากในยามที่ภาวะที่ซึมเศร้าอย่างนั้น ภาพถ่ายดาวเทียม ประมาณเดือน ตุลาคม 2554 มวลน้ำจากทิศเหนือเริ่มไหลลงทางใต้ที่ต่ำกว่า เพื่อไหลลงทะเล  ผมคงไม่อยากวิจารณ์ว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมมวลน้ำจึงมีมากมายขนาดนี้ ดูในรูปแล้วยิ่งหวาดกลัว ยิ่งคนที่อยู่ใกล้พื้นที่น้ำท่วมจะมองเห็นภาพได้ดี ตอนที่มวลน้ำไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว เอ่อท่วมบ้านเรือนเกือบถึงชั้น 2 ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง รถยนต์ ยังเอาออกไม่ทัน ทั้งๆที่ มีการบอกข่าวทั้งภาพ และเสียงตลอดเวลา ทั้งรัฐบาล หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็เสนอแนวคิด แนวทางป้องก้นออกมามากมาย ดังเช่น รัฐบาลได้กำหนดการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยิน โดยการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะที่เรียกว่า สำนักงานบริหารจัดการน้ำ และอุทุกภัย (กบอ) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่ โดยกำหนดแผนในการป้องกันน้ำท่วมทั้งอย่างเร่งด่วน และอย่างยั่งยืน …

Continue Reading

Toxic Materials in Thailand, the Case of Asbestos

แร่ใยหิน (asbestos)  หลายคนก็คุ้นเคยและรู้จักอย่างดี แต่หลายคนก็อาจจะไม่รู้จักเลยว่าทำไมหินที่แข็งแกร่งมีใยหินด้วยหรือ แน่นอนบนความแข็งแกร่งก็ย่อมมีความอ่อนนุ่มแฝงอยู่เสมอในธรรมชาติโลกของเรานี้ ลักษณะ ของแร่ใยหิน เป็นเยื้อไฟเบอร์ ดังในรูป   แต่มีคุณสมบัติที่คงทนเนื่องจากเป็นหิน และพิเศษมากมาย กล่าวคือ กันความร้อน และกันไฟ เช่น ใช้ถักทอเป็นเสื้อกันไฟสำหรับนักผจญเพลิง หรือใช้เป็นส่วนผสมในผ้าเบรคสำหรับยวดยานพาหนะ ท่อน้ำร้อนในโรงงาน แม้นกระทั่งในส่วนที่กันความร้อนในไดร์เป่าผม เตาไมโครเวฟ หรือ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า  เป็นต้น วัสดุประสานเพิ่มความแข็งแรง เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีกำลังรับแรงดึงสูง และยืดหยุ่น เช่นใช้ในส่วนผสมกับซีเมนต์ แล้วนำมาทำขึ้นรูปเป็น ท่อระบายน้ำ หรือท่อน้ำประปา แผ่นกระเบื้องมุงหลังคาที่เรารู้จักมานานคือกระเบื้องลอนเล็ก ลอนคู่ เป็นต้น แผ่นกระเบื้องสำหรับทำฝ้าหรือเพดาน หรือส่วนผสมขึ้นรูปพลาสติกหลากหลายรูปแบบ วัสดุฉนวนกันเสียง และกันไฟ เป็นสารผสมใช้ทำเป็นแผ่นวัสดุกันเสียง ใช้เป็นสารผสมฉีดพ่นหุ้มเหล็ก เพื่อให้สามารถกันเพลิงได้เป็นเวลานาน2-4 ชม เป็นสารไม่นำไฟฟ้า จึงใช้เป็นส่วนผสมของอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิด ทนกรด จึงเหมาะอย่างยิ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ไม่ว่าจะเป็นท่อ แบตเตรี หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่ใช้งานโดยตรงกับสารเคมี ราคาย่อมเยาว์เหมาะสำหรับเป็นส่วนผสมในวัสดุดังที่กล่าวข้างต้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีราคาที่คนส่วนใหญ่สามารถจับจ่ายได้   ในโลกนี้ ได้รู้จักแร่ใยหินไม่น้อยกว่า 4,000 ปี และประเทศอังกฤษได้ใช้ประโยขน์จากแร่ใยหินอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงต้นปี คศ 1700 …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from construction)

เรื่องของอาคารป่วยยังขาดเนื้อหาบางประการ อาทิตย์นี้ ผมจึงขอขยายความต่อ ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วย 1. เกิดจากความไม่พิถีพิถันในการก่อสร้าง ผลพวงจากการก่อสร้าง ที่ทำแบบสุกเอาเผากิน  รีบๆทำให้เสร็จๆรับเงินแล้วก็ปัดฝุ่นจากไป ก่อสร้างอย่างไรก็ได้เพราะเจ้าของบ้านไม่รู้ ช่างหลายคนมักจะลักไก่ ขอยกตัวอย่างเช่น ส่วนที่ตาเรามองไม่เห็นช่างมักจะละเลยไม่ทำอะไรในส่วนนั้นเสมอ ถ้าท่านมีเวลาลองเอามือลูบที่ข้างใต้ประตู หรือ ข้างบนประตู เกือบจะร้อยทั้งร้อยที่ ช่างไม้ และช่างสีมักจะแกล้งลืมไม่ทำอะไรเลย  เช่นไม่ขัดไสไม้ให้เรียบ หรือไม่ทาสีเลย จากการกระทำของช่าง จึงเป็นสาเหตุทำให้ประตูไม้ พองตัวในช่วงฤดูฝน เปิด ปิดประตูยาก สาเหตุเกิดจาก ความชื้นในบรรยากาศช่วงฤดูฝนค่อยๆซึมผ่านประตู จากข้างใต้ และข้างบนประตูทำให้ประตูพองตัว ถ้าช่างมีสำนึกที่ดีทาสีในส่วนนี้เช่นเดียวกับส่วนอื่น นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดการพองต้วของประตูไม้แล้วยังจะทำให้ประตูนั้นได้รับการปกป้องอย่างดี และมีอายุยืนยาว หรือช่างบางคนไม่ทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็ก ถ้าเป็นประตูเหล็กก็จะเกิดสนิมทำให้เหล็กค่อยๆผุกร่อนเสียหาย การก่อสร้างอย่างหละหลวมของช่าง เช่นนี้ จึงทำให้เราได้เห็นเหล็กเป็นสนิมตามที่ต่างๆ อยู่เสมอๆ ตามข้อกำหนดช่างสีจะต้องลงสีรองพื้น เวลาทาสีรองพื้นปูนช่างพยายามโน้มน้าวให้เจ้าของอาคารใช้ น้ำยารองพื้นเป็นชนิดสูตรน้ำ (Water base primer) ซึ่งไม่มีกลิ่น และสี เจ้าของบ้านก็ชอบที่ไม่มีกลิ่นรบกวน แต่ช่างกลับเอาน้ำเปล่าทารองพื้นปูนให้เจ้าของบ้านแทน ฯลฯ ทำให้สีที่ทาตามอาคารดูเก่าเร็ว หรือ หลุดร่อน หรือมีราขึ้นตามพื้นผิวคอนกรีตอย่างที่เห็นได้โดยทั่วไปในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่ช่างประปาต่อเชื่อมท่อพีวีซี ไม่มีการเตรียมผิวชิ้นงานให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก หรือคราบน้ำมันแล้วก็ทากาวและติดชิ้นท่อพีวีซีเข้าด้วยกัน ทำให้ในเวลาไม่นานต่อมาท่อรั่ว …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from the exterior)

อาทิตย์นี้ ผมอยากขยายความอาการ และสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายนอกอาคาร ซึ่งจะ  ประกอบด้วย: 1. อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) ประเทศไทย ได้เปรียบในเรื่องภูมิประเทศ หรือตำแหน่งที่ตั้ง ที่เห็นง่ายๆ ช่วงนี้ เกิดมีพายุโซนร้อนแกมี ซึ่งมีศูนย์กลางพายุอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แน่นอนย่อมทำความเสียหายให้แก่พื้นที่จังหวัดเสียมราฐ นั้นมากมายสุดคนานับ และแล้วพายุก็อ่อนตัวลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประเทศไทยจึงได้รับความเดือดร้อนแค่เพียงฝนตกหนัก อาจจะมีน้ำท่วมขังบ้างขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่  สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิทั้งปี แตกต่างกันน้อยมาก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากจนทำให้อาคารเสียหายได้  เว้นแต่ฤดูร้อน และฤดูฝนที่เป็นสาเหตุทำให้อาคารส่วนใหญ่ในประเทศเสียหายได้ และเกือบตลอดเวลาเมื่อฤดูนี้มาเยือน ความร้อน และความชื้นจากแดด และฝน ต่างก่อเกิดความเสียหายคนละอย่าง ดังเช่น เมื่อแสงแดดแผดเผาอาคารมากๆ ไม่เพียงแต่ความร้อนเท่านั้นที่แผดเผาอาคาร ยังพารังสีต่างๆมาด้วยมาทำความเสียหายอย่างอื่นให้แก่อาคาร อาคารแต่ละอาคารต่างก็ก่อสร้างด้วยวัสดุหลายอย่าง ซีเมนต์ หิน ทราย เหล็ก ไม้ อลูมิเนียม กระจก และไฟเบอร์กลาส เป็นต้น เมื่อวัสดุดังกล่าวถูกความร้อน ย่อมแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจาก วัสดุต่างๆ นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนั่นเอง ตัวอย่างที่จะอธิบายให้เห็นง่ายๆ เมื่อแสงแดดอันร้อนแรงสาดส่องไปที่พื้นคอนกรีตที่ประกอบด้วยวัสดุหลากหลายเช่น ซีเมนต์ หิน ทรายและเหล็กเสริม ซึ่งเหล็กจะขยายตัวได้มากกว่าวัสดุอื่นๆที่เป็นส่วนผสมในคอนกรีต ผลคือทำให้คอนกรีตร้าว และอาจจะเสียกำลังในการรับน้ำหหนักได้ …

Continue Reading

The Life of a Pedestrian in Bangkok

ชีวิตของคนกรุงอย่างเราท่าน ในแต่ละวันย่อมมีโอกาสได้ลุกเดินออกไปบ้าง เพื่อประกอบธุระกิจการงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน แต่มีอย่างหนึ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเดินไปตามที่ต่างๆในกรุงเทพมหานครของเรา สภาพทางเท้า หรือ ฟุตบาท ที่ถูกร่วมกันใช้ประกอบกิจ ที่หลากหลาย บ้างก็ใช้เป็นที่พัก บ้างก็ทำเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นทั้งตลาด เป็นวินรถมอเตอร์ไซด์ ทำสวนส่วนตัวไว้หน้าบ้าน ท่ามกลางการใช้ประโยชน์บนทางเท้า อย่างมากคณานับ ความปลอดภัยของผู้เดินเท้า (pedestrian) ก็ค่อยๆ หายไป บางทีต้องเดินหลบร้านส้มตำที่อยู่บนทางเท้าลงไปเดินในถนนแทน แล้วก็เสี่ยงกับการถูกรถเฉี่ยวชน บางที่ ผจญกับทางเท้าที่กำลังซ่อมแซมโดยไม่มีป้ายเตือนบอกเหตุเลย หลายคนได้รับบาดเจ็บจากวัสดุก่อสร้างที่วางไว้อย่างระเกะระกะ บางคนเดินตกหลุมซึ่งเป็น บ่อพัก (manhole) ทางเท้าบางช่วงเสียหาย คนพิการต้องเดินทางอย่างทุลักทุเล ทางเท้าบางแห่งเจ้าของห้างใหญ่เอาป้ายโฆษณามากั้นไว้อย่างหน้าตาเฉย มีอะไรไหม ยังไม่ได้รวมถึงน้ำที่หยดลงมาจากกันสาดที่อยู่เหนือทางเท้าเมื่อเวลาฝนตก นี่คือความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางส่วนหนึ่งของคนกรุงเทพมหานคร แต่ทางเท้าหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ก็สวยงามน่ารื่นรมย์ อยากให้กรุงเทพของเราเป็นอย่างนี้ทั้งหมดจังเลย เราในฐานะนักออกแบบก็อยากเห็นกรุงเทพมหานคร มีทางเท้าสะอาด สวยงาม มีความปลอดภัยในการ  เดินทาง ไม่มีคนที่เห็นแก่ตัว เอาสถานที่ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติ นำไปใช้สำหรับตัวเองผู้เดียวจนลืมนึกไปว่า คนอื่นก็ยังค้องใช้เช่นกัน และคนเดินบนทางเท้าหลายคนก็ได้ชำระภาษีให้แก่รัฐบาล เพื่อเป็นงบประมาณนำมาสร้างและบำรุงรักษาทางเท้าเหล่านั้นให้มีสภาพที่ดี เพื่อทุกคนจะได้มีโอกาสใช้ทางเท้าได้อย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิต

Continue Reading

Are Tac Tiles leading the blind to danger?

คงไม่มีใครปฎิเสธว่าไม่เคยเดินบนทางเท้า หรือ บาทวิถี หรือฟุตบาท ในที่ๆแตกต่างกันไป แต่จะมีสักกี่คนที่เคยสังเกตุว่า บนทางเท้านั้นมีลวยลายอะไรอยู่บนนั้นบ้าง และนอกเหนือจากลวยลายบนทางเท้าแล้วยังมีการวางกระเบื้องปูพื้นอีกชนิดหนึ่งบนนั้นคือ กระเบื้อง Tac tiles หลายคนคงสงสัยว่า  Tac Tiles หมายถึงอะไร หรือไม่เคยสังเกตุเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะความเร่งรีบ ในแต่ละวัน หรือ เป็นเรื่องไกลตัว Tac tiles คือ กระเบื้องปูพื้นสำหรับนำทางคนตาบอดนั่นเอง ที่เราเห็นบนทางเท้าในกทม หรือ เทศบาลในจังหวัดต่างๆ ที่ใช้กระเบื้องชนิดนี้ปูบนทางเท้า ซึ่งโดยมาตรฐานของ กระเบื้องปูพื้นชนิดนี้ คือ จะมีรอยนูนด้านบน เป็น 2 รอย คือ รอยยาวในแนวนอน และเป็นรอยกลม ซึ่งการใช้งานของกระเบื้อง 2 ชนิดแตกต่างกัน คือ กระเบื้องรอยในแนวนอนสำหรับปูทางเดิน เพื่อเป็นรอยทางให้คนตาบอดได้เดินไปในทิศทางนั้น หรือ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกระเบื้องนำทาง และเมื่อเดินไปสะดุดเอากระเบื้องซึ่งเป็นรอยกลม ที่ได้ปูไว้สำหรับเป็นจุดเตือนให้หยุดเคลื่อนที่ชั่วขณะ และต้องพิจารณาต่อไปว่าจะไปทางไหนได้จากจุดนั้น กล่าวคือ จะต้องเลี้ยวซ้าย หรือ เลี้ยวขวา หรือหยุดรอเพื่อข้ามถนน เป็นต้น ดังนั้นจุดประสงค์ ของการปูกระเบื้องชนิดนี้บนทางเท้า ก็เพื่อความปลอดภัยให้คนตาบอดได้เดินไปโดยเฉพาะ ตัวอย่างการปูกระเบื้องชนิดนี้ …

Continue Reading

Simply put: Building Inspection _ สรุปการตรวจสอบอาคาร

ตามที่ผมได้เขียนไว้ใน blog ต่อเนื่องนับเป็นอาทิตย์ที่ 3 เริ่มตั้งแต่ข้อกำหนดทางกฏหมายว่าด้วยการตรวจสอบอาคาร ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 ธํนวาคม พศ 2548 พร้อมกำหนดประเภทของอาคารที่เข้าข่ายตามข้อกำหนดในกฏกระทรวง ที่จะต้องทำการตรวจสอบสภาพอาคารโครงสร้างของตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบต่างๆของอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง และปลอดภัยในการใช้อาคาร กล่าวโดยสังเขปประเภทของอาคารที่ต้องทำการตรวจสอบ 9 ประเภท คือ อาคารที่มีขนาดใหญ่ อาคารสูงเกิน 23 เมตร อาคารชุมนุมคน โรงงานขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ โรงมหรสพ โรงแรม สถานบริการ อาคารชุด โดยเป็นอาคารที่ได้ก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จะต้องทำการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรกให้แล้วเสร็จ และเสนอรายงานผลการตรวจสอบแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กฏกระทรวงมีผลบังคับ โดยการรับรองจาก บุคคล หรือนิติบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักควบคุม และตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ถ้าสงสัยว่าอาคารใดอาคารหนึ่งนั้นเข้าข่ายที่จะต้องทำการตรวจสอบอาคาร หรือไม่ ได้ในblog ที่ผมเขียนตาม link นี้ ได้ www. หรือจาก website ของกรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร http://services.dpt.go.th/mm_auditbldg/  ในwebsite ดังกล่าวยังสามารถตรวจหารายชื่อ ที่ยู่ของบุคคล หรือ …

Continue Reading