Dangers from Public Utilities
ในที่สุด สะพานแขวนที่ชาวบ้านอำเภอท่าเรือได้ใช้สัญจรทั้งเดินเท้า จักรยาน และ มอเตอร์ไซด้ได้ใช้สัญจรข้ามไปมาระหว่าง 2 ฝั่งลำน้ำ บริเวณวัดสะตือพุทธไสยาสน์บ้านท่างาม หมู่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ลวดสลิงขาดและได้พังครืนลงมา ผลคือ 5 ชีวิต และ มากกว่า 45 คน บาดเจ็บ จากการไม่ใส่ใจของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ไม่ดูแลรักษา ให้สะพานแขวนอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และให้มีความปลอดภัยต่อผู้มาใช้งาน นี่เป็นเพียง หนึ่งตัวอย่างของสาธารณูปโภคของบ้านเรา ยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องที่นั่งรถเมล์อยู่ดีๆ แล้วก็มีระเบิดดังขึ้น หรือ ยืนรอเรือรับจ้างอยู่ดีๆ ตนขับเรือเร็วมากแข็งขันกันทำให้น้ำซัด อย่างกับสึนามิ ซัดเอาสาวๆที่ใส่รองเท้าไม่ดี พลัดล้มลงตรงนั้นเปียกโซกจากน้ำในคลองแสนแสบนั้นเลย หรืออุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนนอันเนื่องมาจาก การออกแบบผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้สาธารณะชนเกิดอันตรายขึ้นได้ ฯลฯ การที่หละหลวมให้ผู้รับเหมา เอาลวดสลึง ที่ไม่ได้มาตรฐานใส่แทนที่ลวดสลึงเดิมที่ถูกเปลี่ยนออกไป เมื่อไม่นานมานี้ เราก็ได้แค่คิดไปเองว่า การที่ผู้รับเหมากล้าใช้สายสลึง ที่มีมาตรฐานต่ำขนาดนั้นได้เป็นเพราะ ??????? ก็รู้อยู่ คนที่ทำอย่างนี้ สามารถมีความเป็นอยู่อย่างสุขกายสบายใจได้ไหมหนอ เงินกำไรที่ได้จะทำให้เขาสู้หน้ากับผู้ที่สูญเสียได้อย่างไร อย่างไรก็ตามรัฐ ควรที่จะต้องมีมาตรฐการที่ดี มีคุณธรรมในการจัดการ อย่าให้ไฟลามทุ่ง เดี๋ยวก็ลืมอีก ในหลายประเทศเขาก็มีสะพานแขวนที่สร้างมานานมาก แต่เขาก็ดูแลอย่างดี มีระบบการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ …
Continue Reading
Fire Safety is Everyone’s Business
Fire safety is everyone’s business. Over and over again, I am walking in my home town wondering why are the basic health and safety rules totally ignored. The level of education of our population is increasing rapidly, our life style developing fast, but our awareness of how dangerous certain things are is still shocking. I am talking about fire …
Continue Reading
Construction Site without Supervisor Part 2
-
Geerati Tiasiri
-
August 6, 2013
-
Ponder
-
distribution to footing, FENN DESIGNERS, footing, footing on ground, footing on pile, Geerati Tiasiri, Geotechnical Engineer, Lean concrete, load, Sand bedding, spread footing, structural engineer, การกระจายน้ำหนักสู่ฐานราก, คอนกรีตหยาบ, ฐานราก, ฐานรากบนดิน, ฐานรากบนเสาเข็ม, ฐานรากแผ่, ทรายรองพื้น, วิศวกรปฐพีกลศาสตร์, วิศวกรโครงสร้าง
-
0 Comments
Blog ที่ผมเขียนเมื่ออาทิตย์ที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับเสาเข็ม วันนี้ จะพูดถึงเรื่องการฐานราก (Footing) ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งของการรับน้ำหนักและความมั่นคงของอาคาร เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของอาคารทั้งหมดลงสู่พื้นดินทั้งโดยตรง หรือส่งผ่านเสาเข็มสู่ดิน ในการก่อสร้างฐานราก ไม่ว่าจะเป็นฐานรากที่วางบนชั้นดินแช็งไม่ต้องการเสาเข็ม (Footing on ground) เช่น ที่ระยอง เกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ และอิสาน หรือเป็นดินอ่อนอย่างในกรุงเทพ และปริมณฑล ที่ฐานรากจะต้องนั่งบนเสาเข็ม (Footing on Pile) งานก่อสร้างฐานรากที่ดี อย่างน้อยควรเททรายหยาบรองพื้น ( Sand bedding) ประมาณ 10 ซม และเทคอนกรีตหยาบ (Lean concrete) อีก 5 ซม บนทรายหยาบก่อนการตั้งแบบหล่อฐานราก ช่างหลายคนก็ไม่ทำ ด้วยเหตุผลส่วนตัว โดยเฉพาะไม่มีผู้ควบคุมงาน ช่างก็ถือโอกาศไม่ทำเอาซะเลย การรองพื้นฐานรากด้วยทรายหยาบ และคอนกรีตหยาบ มีประโยชน์หลายประการ ประการแรกทรายหยาบจะช่วยปรับระดับดินเดิมในอยู่ในระนาบ ทำหน้าที่คอยดูดซับแรงกระทำจากอาคารสู่พื้นดิน และเป็นตัวกลางกั้นระหว่างดินที่อาจจะมีสารบางอย่างที่เป็นภัยแก่คอนกรีตฐานราก นอกจากนั้นยังช่วยไม่ให้เลอะเทะมาก ส่วนคอนกรีตหยาบ จะทำหน้าที่เป็นฐานรองรับแก่ฐานรากให้ฐานรากมีความมั่นคงขึ้น และเป็นตัวกันไม่ไห้เนื้อซีเมนต์ที่อยู่ในส่วนผสมของคอนกรีตไหลหนีซึมหายไปในพื้นดิน อย่างไรก็ตามถ้าบริเวณที่ก่อสร้างเป็นที่ลาดเอียง และดินเดิมเป็นดินเหนียวปนทราย หรือ ดินเหนียวปนซิลด์ เมื่อมีน้ำใต้ดินสูง อาจทำให้ฐานรากที่นั่งบนดินประเภทดังกล่าว สไลด์หนีออกไปได้เป็นเหตุให้ อาคารทรุด …
Continue Reading
Construction Site without Supervisor Part 1
ผมเคยเขียน blog เมื่อนานมาแล้ว ส่วนที่เรามองไม่เห็น ผู้รับเหมามักจะมองข้ามไม่ทำให้ เช่นไม่ทาสีใต้ขอบ หรือเหนือขอบประตู เป็นต้น ฉันใดก็ตาม ในการก่อสร้างโดยทั่วไป เจ้าของงาน หรือ ผู้ควบคุมงานถ้าไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดละก้อ จะไม่สามารถทราบได้เลยว่า ช่างทำงานให้เราได้ดี เพียงใด ผู้รับเหมาหรือช่างที่ขาดคุณธรรม หรือความรู้พื้นฐานทางช่าง มักจะทำให้เกิดปัญหาที่ต้องกลับมาแก้ไขอยู่เสมอ ผมขอยกตัวอย่างบางประเด็นเพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทราบเบื้องต้นในตอนนี้ ขอเสนองานเสาเข็ม เนื่องจากเป็นจุดแรกของการก่อสร้าง และเป็นส่วนสำคัญมาก สำหรับงานก่อสร้างที่มีความจำเป็นต้องใช้เสาเข็ม และมีการเขียนถึงเรื่องนี้ มากมาย เสาเข็มคือส่วนที่สำคัญมากสำหรับอาคาร ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ เป็นงานที่มีความซับซ้อนไม่น้อย แต่ผู้ที่ทำการตอก หรือ ก่อสร้างเสาเข็มส่วนใหญ่นอกจากไม่มีความรู้ในเรื่องความสำคัญของเสาเข็มแล้ว ยังทำงานโดยไม่ค่อยเห็นความสำคัญของงานส่วนนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดูแลงานส่วนนี้ อย่างดีเท่าที่สามาถทำได้ โดยทั่วไปเสาเข็ม มีขนาด และวิธีการผลิต และกรรมวิธีในการตอกลงดินที่แตกต่างกันมาก ผมจะขอจำแนก เป็น 3 ขนาด ดังนี้ คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เพื่อใช้งานสำหรับการใช้งาน และการรับน้ำหนักของอาคารที่มีขนาดแตกต่างกันเสาเข็มขนาดเล็ก ซึ่งมีทั้งเสาเข็มไม้ และเสาเข็มคอนกรีต มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 -10 เมตร ซึ่งเสาเข็มสั้นนั้นมีปัญหาน้อย เช่นเสาเข็มไม้มักมีขสาดหน้าตัด หัวท้ายไม่เท่ากัน …
Continue Reading
Steel for construction
ในการก่อสร้างใดๆ ย่อมจะมีเหล็กเข้ามาเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับองต์ประกอบที่หลากหลาย เป็นที่ทราบกันดีว่าเหล็กสามารถรับน้ำหนักได้มากมายไม่ว่าจะเป็นแรงกด แรงบิด แรงเฉือน หรือแรงดึง ต่างก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้ทุกรูปแบบ และรับน้ำหนักได้มากกว่าคอนกรีตมากมายหลายเท่า สามารถปรับ ตัดแต่งรูปทรงได้ไม่มีขีดจำกัด ในการใช้เหล็กสำหรับการก่อสร้างโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ ใช้เหล็กเสริมในคอนกรีต ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่อยู่2 ชนิดคือ 1. เหล็กเส้น (Reinforcement Bar) ในประเทศไทย ประกอบด้วย เหล็กข้ออ้อย และเหล็กกลม ดังแสดงในรูปด้านล่าง เหล็กข้ออ้อยจะมีมาตรฐานการผลิตที่ดีกว่า และสามารถรับน้ำหนัก หรือรับแรงได้ดีกว่าเหล็กกลม แต่อย่างไรก็ตามเหล็กกลมก็มีส่วนดี คือเหนียว ง่ายในการดัดจึงนิยมใช้สำหรับการนำมาทำเหล็กปลอกสำหรับยึดประกอบโครงเหล็กก่อนที่จะทำการหล่อคอนกรีต ส่วนเหล็กข้ออ้อยจะเปราะกว่าในการดัดจึงสามารถดัดได้เพียงดัดฉาก มาตรฐานการใช้งานมีดังนี้ เหล็กกลม SR24 รับน้ำหนักได้ 2,400 กก/ตร.ซม เหล็กข้ออ้อย SD30 รับน้ำหนักได้ 3,000 กก/ตร.ซม เหล็กSD40 รับน้ำหนักได้ 4,000 กก/ตร.ซม 2. เหล็กรูปพรรณ (Structural steel) ซึ่งเป็นเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างได้โดยตรง เช่นโครงหลังคา และในปัจจุบันบ้านเราเริ่มนำเอาเหล็กรูปพรรณมาใช้ในการสร้างบ้านทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็นคาน พื้น …
Continue Reading
Concrete for construction
เป็นที่ทราบดีว่า คอนกรีต ซึ่งเป็นส่วนผสมจากจากวัสดุธรรมชาติ หลักๆเพียง 4 ชนิด คือ ปูนซีเมนต์ ทราย หินบด หรือกรวด และน้ำสะอาด ก็สามารถหล่อให้เป็นรูปทรงต่างๆได้มากมาย จากส่วนเล็กๆ เช่นทางเดิน ไปจนถึงตึกระฟ้า และวิวัฒนาการการใช้คอนกรีตก็เพิ่มมากขึ้น เทียบเท่ากับความสูงของตึกที่นับวันจะสูงขึ้นๆ เราใช้คอนกรีตในการก่อสร้างมากขึ้นทุกวัน ในช่วงปีที่ผ่านมา ตามสถิติ ประชากรโลกได้ใช้คอนกรีต เป็นจำนวนประมาณถึง 11,000 ล้านเมตริกตัน ในงานก่อสร้างต่างๆ ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. คอนกรีต เป็นวัสดุที่ทนทานต่อน้ำอย่างเป็นเลิศ ซึ่งวัสดอื่นไม่สามารถต้านทานน้ำได้เหมือน ดังเช่น ไม้ หรือ โลหะทั่วๆไป คอนกรีตเปือยจึงใช้ในการก่อสร้าง เขื่อน ฝาย ดาดคลองระบายน้ำ กำแพงกันดิน และ ถนน เป็นต้น ที่เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกรณีน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ภาครัฐได้ทำการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ฝายกั้นน้ำ ทำนบกั้นน้ำ และอีกมากมายจากคอนกรีต นอกจากนั้น ส่วนประกอบต่างๆของอาคารเช่น เสาเข็ม ฐานราก พื้น คาน เสา ผนัง ดาดฟ้าส่วนที่สัมผัสน้ำ …
Continue Reading
The Dangers of Construction
จะเห็นได้ว่าเมืองไทย ก็มี หอเอน เหมือนกัน แต่ในที่สุดหอเอนแห่งรังสิตของเราก็ต้องถูกทุบทิ้ง เสียทั้ง เงิน เสียทั้งเวลา ด้วยความประมาทในการก่อสร้าง อาคารนี้ ถูกประกาศเป็นอาคารอันตราย ดูภาพใกล้ของอาคาร ด้านล่าง งานก่อสร้างโดยรวมมักจะมีความอันตรายอยู่ในตัวอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า ที่ใดมีการก่อสร้างที่นั่นมักจะติดป้ายประกาศเตือน อาจจะเหมือนดังข้างล่าง ดังนั้นเมื่อทำงานอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างนอกจาก มีความตั้งใจทำงานอย่างไม่ประมาทแล้ว แล้วอุปกรณ์พื้นฐานจงสวมใส่อย่าได้ออมชอม ต้องสวมใส่ตลอดเวลาจนเป็นนิสัย ผมเคยทำงานที่ซาอุ ฯ เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว คนงานต้องปีนขึ้นไปผูกเหล็กเพื่อทำกำแพงสูงประมาณ 5 เมตร ได้ ปีนปายอย่างน่ากลัวเมื่อมองจากข้างล่าง เราต้องเรียกเขาลงมาให้ไปเบิกเข็มขัดนิรภัย ( Safety Belt) ใส่ ปรากฏว่า เขาใส่มันไว้เหมือนกัน แต่ไม่ได้ล็อคไว้กับเหล็ก แต่กลับคล้องไว้ที่บ่าแทน คล้ายๆกับว่า เมื่อนายช่างสั่งผมก็ทำตามแต่ไม่ได้ทำจริง โชคดี ช่างเหล็กคนนั้นไม่ได้ตกลงมา ที่Site งาน เราจะแจกหมวก รองเท้านิรภัย และถุงมือหนังให้คนงานทุกคน ในตอนนั้นผมต้องคุมงานอยู่กับช่างและกรรมกร นับร้อยคน หมวกนิรภัย ( Hard Hat) ช่วยป้องกันศรีษะผมได้อย่างดี ผมเองก็ชอบเดินไปชน ไม้แบบ หรือสิ่งกีดขวาง …
Continue Reading
The Dangers of Road Constructions
เมื่อช่วงวันหยุดสงกรานต์ ที่ผ่านมาผมได้เดินทางออกจากบ้านไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ขับรถวิ่งผ่านไปตามถนน ร่มเกล้า ถนนสายนี้ คือส่วนหนึ่งของคันกั้นน้ำตามโครงการพระราชดำริ (King’s Dike) คือมีค่าระดับความสูงของถนน เทียบเท่ากับ + 2.5 เมตร จากค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (MHL) แต่เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี พศ 2554 ช่วงเดือน ตค ถึง ธค ถึงแม้นว่า ระดับน้ำที่ท่วมสูงสุด ยังไม่สามารถขึ้นมาถึงระดับ + 2.5 เมตร ก็ตาม ทางการก็ได้ทำการติดตั้งแท่งคอนกรีตตรงกลางถนน จากถนนสายไหมมาสิ้นสุดที่ปลายถนนร่มเกล้า ใครนะช่างคิดผลาญเงินภาษีของเราท่านได้แยบยลอย่างน่าเสียดาย ว่าการทำอย่างนี้ จะกันน้ำได้ เท่ากับเอาเงินไปเรียงทิ้งเอาไว้ ที่ยังไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์อันใดนอกจากการขีดเส้นเน้นชัดว่า พื้นที่อีกฝั่งของแท่งคอนกรีตคือพื้นที่น้ำท่วมได้ และพื้นที่ฝั่งตรงกันข้ามก็จะปั๊มน้ำเข้าไปในพื้นที่น้ำไท่วมได้นั้น เงินจำนวนที่ทางการทำการวางแท่งคอนกรีตนี้ มีจำนวนถึง 300 ล้านบาท ตัวเลขกลมๆ เงินจำนวนนี้สามารถสร้างสรรสิ่งที่ดีมีประโยช์นอย่างอื่นได้อีกมากนัก ที่ประเทศนี้ต้องการ แต่นั่นไม่ใช้ ประเด็นที่จะพูดถึงในครั้งนี้ ความจริงตั้งใจจะเขียนเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ บนท้องถนนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มาตรการการเตือนและการป้องกันเพื่อให้ผู้ที่สัญจรไปมา ตลอดเวลาจะได้รับความเดือดร้อน และอุปสรรคในการขับขี่น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาค่ำคืน ดังนั้นผมจึงถือเอาการก่อสร้างแท่งคอนกรีตกันน้ำ เป็นกรณีศึกษา เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ที่หน่วยงานภาครัฐ ปล่อยให้ผู้รับเหมาทำการก่อสร้างอย่างหละหลวม โดยไม่มีการป้องกันแต่อย่างใด ดูภาพประกอบด้านล่าง …
Continue Reading
Bangkok’s Multi-functional Footpaths
-
Geerati Tiasiri
-
March 21, 2013
-
Ponder
-
: ขยะบนฟุตบาท, Bangkok's Footpaths, Bangkok's Multi-functional Footpaths, FENN DESIGNERS, Footpaths in Bangkok, Geerati Tiasiri, ประโยชน์ของฟุตบาท, ภัตตาคารข้างถนน, วินมอเตอร์ไซด์บน, แผงลอยบนฟุตบาท
-
0 Comments
มนุษย์ เราช่างมีความคิดสร้างสรรเสียจริง ทางเท้า หรือ ฟุตบาทที่ทางการได้ทำการก่อสร้างให้คนเดินเท้าได้อาศัยเดินไปไหนต่อไหน เพื่อความสะดวกและปลอดภัย แต่ก็มีคนที่มีความคิดอีกแบบหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากฟุตบาทได้อย่างแยบยล ภาพด้านล่างจะอธิบายได้ดีครับ -ใช้เป็นที่กองขยะไม่สนใจว่าคนเดินได้หรือเปล่า -เป็นตลาดคนเดิน -ใช้เป็นที่ตั้งของภัตตาคารข้างถนน ใช้เป็นที่จอดวินรถมอร์เตอร์ไซด์ -ตกกลางคืนใช้เป็นที่จอดรถสำหรับนักท่องราตรี ด้วยความมักง่ายของผู้คน ประกอบกับทางการบ้านเราได้ใช้หลักมนุษยธรรมฟุ่มเฟือยโดยการหลับตาข้างหนึ่งมากเกินไป กฏก็ไม่เป็นกฎ จึงทำให้บ้านเมืองเข้าสู่สภาพที่เห็นนับวันแต่จะมากขึ้น และมากขึ้น จนทำให้สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นได้พัฒนากลายเป็นปัญหาถาวรที่ทางการแก้ไขไม่ได้แล้วหรือเปล่า โดยเริ่มต้นจากตัวเราเอง ดังได้เห็นตัวอย่างข้างต้นแล้วจงช่วยกัน ลด ละ เลิก กิจกรรมทั้งหลายเพื่อจะได้ไม่เป็นการส่งเสริมให้พฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นได้ขยายตัวไปมากกว่านี้ เมื่อทุกคนร่วมใจ กรุงเทพบ้านเราอาจจะเป็นดังภาพข้างล่างได้
Continue Reading
Street Hawkers: Mae Kha Solution
การลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ ผลของการเลือกตั้ง ก็ได้สรุปผลเป็นที่เรียบร้อย ท่ามกลางคำมั่นสัญญา จะทำโน้นแก้ไขนี่ ก่อนวันเลือกตั้งเราก็ได้แต่กระพริบตารอคอยดูคำมั่นสัญญานั้นว่าผลจะเป็นประการใด การหาบเร่แผงลอย จะยังคงคู่ทางเท้าของเราไปชั่วนิรันตรใช่ไหม? นโยบายของผู้ว่าฯจะสามารถแก้ปัญหาการหาบเร่แผงลอยได้หรือไม่ ความจริงปัญหาหาบเร่แผงลอยไม่ใช่จะเลวร้ายไปเสียทีเดียว ถ้ามองอย่างใจกว้าง ข้าวของที่วางขายตามท้องถนนและทางเท้าต่างก็ช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยไม่ว่าจะซื้อของ หรือ รับประทานอาหารในราคาย่อมเยาว์ สะดวกไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไกลข้าวของ อาหารเช้า กลางวัน เย็น หรือ รอบดึกต่างก็มารออยู่เกือบชิดรั้วบ้านหรือสถานที่ทำงาน ช่างสะดวกสบายเสียจริงประเทศไทย ก็ให้โอกาสคนจนได้มีโอกาสทำมาหากินบ้างสิเขาจน และดูสิพวกเขามอซอทั้งนั้น ขายของก็เพียงหาเช้ากินค่ำเท่านั้นเอง ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง พวกหาบเร่แผงลอย ต่างกรีดขวางทางเดินเท้า บางที่เราต้องเดินหลบลงไปบนถนนเพื่อเดินต่อไปข้างหน้าเกือบโดนรถที่วิ่งผ่านมาพอดีชนเอา บางพื้นที่ตามที่เราทราบไม่มีทางเท้า แม่ค้าหาบเร่ก็ตั้งภัตตาคารสัญจรของเขาบนส่วนหนึ่งของถนน ทำให้รถที่วิ่งผ่านไปมาต้องคอยหลบเพราะจะเฉียวชนเอาคนที่นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ภัตตาคารนั้น พวกหาบเร่แผงลอยขายของได้เงินไม่มีการเสียภาษี ดังเช่นมนุษย์เงินเดือนอย่างพวกเรา น่าอิจฉาไหม ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นชาวหาบเร่แผงลอยส่วนใหญ่มีรถปิคอัพเป็นของตัวเอง ขับมาแต่เช้าขนข้าวของที่จะขาย หรือ สัมภาระที่ใช้ในการทำอาหารขายเมื่อเอาของลงหมดแล้วก็ขับรถไปจอดไว้ตามที่ต่างๆ พอตกเย็นก็มาขนของกลับไปทำอย่างนี้ทุกวันเว้นวันอาทิตย์ เนื่องจากไม่มีผู้มาทำงานในวันนั้น บรรดาร้านอาหารบนทางเท้า ตกตอนเย็นก็จะทำความสะอาดจานชาม เศษอาหารที่เหลือส่วนหนึ่งใส่ถุงทิ้งตามทางเท้าเพราะกทมมาเก็บไปแต่เช้ามืด อีกส่วนหนึ่ง รวมเศษน้ำมันก็มักจะเททิ้งลงตรงท่อระบายน้ำที่ติดกับภัตตาคารของเขานั่นเองใกล้ดี ส่วนข้าวของก็วางกองไว้ที่นั่นเลย บางรายเอาผ้าคลุมไว้ พอตกกลางคืนบรรดา สัตว์เลี้ยง และที่ไม่เลี้ยงก็ออกคุยหาเศษอาหารก็ทำให้อิ่มท้องได้ทุกวัน อนิจจา สุขอนามัยคนกรุง โดยเฉพาะอาหารที่ขาดสุขลักษณะที่ดี อย่างที่กล่าวมาทำให้คนกรุงได้รับเชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายทุกครั้งที่ทานอาหารแบบนี้อย่างจำยอม อัตราผู้ได้รับเชื้อก็เพิ่มขึ้น ทั้งอหิวาตกโรค โดรท้องร่วง …
Continue Reading
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
This is fantastic! Keep up the good work. ❤️
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…