How’s it Cooking

Continuing on the type of kitchen layouts, it is important to evaluate your space to determine the best layout that  fits . Previously, I outlined the standard layouts for a kitchen and how there should be a work triangle formed between the equipment and appliances whenever possible.  The layout will greatly impact the functionality ofyour kitchen. Now the most other …

Continue Reading

Recycled Tires=ART

In my  last articles, I have written about  simple objects we use at home that accumulate in our trash bins and ultimately accumulate in landfills such as glass, paper, plastic and aluminium. These are everyday objects that can be recycled very easily and we can manage on a day to day aspect. However there  are other objects, as well that …

Continue Reading

Locker Room Flooring

ระยะหลังได้มีโอกาสไปใช้สปอร์ตคลับบ่อยครั้งครับ เลยพบเจอพื้นห้องที่มีการสร้างระดับพื้นไว้แตกต่างกัน บางจุดเกิดจากความตั้งใจ บางจุดเกิดจากการออกแบบแล้วมีปัญหาจึงมาแก้ปัญหาภายหลัง บางจุดเกิดด้วยความบังเอิญ ตามการออกแบบ เรามักออกแบบให้พื้นห้องน้ำมีการลดระดับพื้นเพื่อให้สามารถล้างพื้นได้โดยน้ำไม่ไหลออกมาภายนอก  แต่ในบางจุดที่ต้องการสำหรับเป็นพื้นที่ของห้องเปลี่ยนชุด จะมีการออกแบบเสมือนหนึ่งเป็นส่วนแห้ง ที่จะใช้เป็นที่วางตู้เก็บเสื้อผ้า เก้าอี้นั่ง บริเวณเปลี่ยนชุด ถ้าจะกล่าวโดยรวมเราอาจจะแบ่งพื้นที่ภายในห้องล๊อคเกอร์ออกได้ดังนี้ 1. พื้นที่บริเวณเปลี่ยนชุด ส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วย บริเวณเปลี่ยนชุด ที่นั่ง บริเวณที่แต่งตัว พื้นที่ส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นพื้นที่แห้งที่ผู้มาใช้จะนั่งเปลี่ยนชุด แต่งตัว ก่อนและหลังเข้าใช้สปอร์ตคลับ แต่เนื่องจากผู้ใช้อาจจะอาบน้ำทำให้เท้าเปียก สามารถเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้จึงทำให้มีบางโครงการเลือกใช้ กระเบื้องยาง (vinyl tile) บางแห่งมีการปูกระเบื้องผิวหยาบกันลื่นเพื่อช่วยลดปัญหาและอุบัติเหตุ  รูปซ้ายมือมีการเน้นสีตรงพื้นต่างระดับในขณะที่รูปขวามือจุดทางเข้าห้องส้วมมีการยกขอบพื้นขึ้นมาและลดระดับพื้นลงไปอีก จะเห็นได้ว่าไม่มีความจำเป็นที่จะยกขอบพื้นตรงทางเข้าห้องส้วม 2. พื้นที่ห้องส้วม โถปัสสาวะ และอ่างล้างหน้า ส่วนของพื้นที่นี้มีแนวคิดได้ 2 แบบ คือใช้ห้องส้วมและอ่างล้างหน้าเฉพาะผู้ที่มาใช้ห้องล๊อคเกอร์ หรือ ออกแบบให้สามารถใช้ร่วมกันระหว่างผู้มาใช้ห้องล๊อคเกอร์และบุคคลภายนอกทั่วไป เมื่อถูกนำมาใช้งานจริงร่วมกันกับบุคคลภายนอกอาจเกิดปัญหาความไม่เรียบร้อยจากการแต่งตัว และการที่ไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ห้องส้วมร่วมกัน ควรออกแบบให้แยกตำแหน่งแต่อยู่ในบริเวณใกล้กันแทน นอกจากนี้การออกแบบควรออกแบบให้วัสดุปูพื้นเป็นแบบไม่ลื่นและสามารถรองรับการทำความสะอาดด้วยการฉีดน้ำ ไล่สิ่งสกปรกได้ง่าย 3. พื้นที่ส่วนห้องอาบน้ำ ส่วนใหญ่มักจะมีการลดระดับพื้นภายในห้องอาบน้ำให้เป็นส่วนแห้งและส่วนเปียก บางที่มีการยกขอบพื้นขึ้นมา บางที่ยกพื้นแล้วแบ่งเป็นส่วนแห้งแยกระดับพื้นออกจากส่วนที่อาบน้ำ ตามรูปซ้ายมือจะเห็นได้ว่าเป็นการทำพื้นของห้องอาบน้ำยกขอบขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำไหลออกมาบริเวณทางเดินในขณะที่รูปขวามือมีการทำพื้นที่แห้งยกสูงขึ้นและลดระดับพื้นด้านในให้เป็นที่อาบน้ำโดยมีผ้าม่านเป็นตัวแบ่งแยกพื้นที่ ซึ่งได้ผลค่อนข้างดีในการป้องกันน้ำไหลออกมา กล่าวโดยสรุป การออกแบบพื้นห้องล๊อคเกอร์ควรทำให้มีพื้นต่างระดับน้อยที่สุดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่น กรณีมีการเปลี่ยนชนิดของวัสดุพื้นผิวจากผิวหยาบมาเป็นผิวเรียบ ควรมีจุที่ติดพรมเช็ดเท้าเพื่อให้เท้าแห้ง ไม่เกิดการลื่น พื้นของห้องอาบน้ำ อาจทำพื้นส่วนแห้งเท่ากับพื้นภายนอกแล้วค่อยลดระดับพื้นภายในส่วนที่อาบน้ำ เพื่อให้สามารถล้างพื้นห้องน้ำแล้วไล่น้ำลงไปยัง …

Continue Reading

What’s Cooking

Designing a house is difficult in all senses; in our field we consider that if you could master the design of a house then you have a strong foundation for designing almost anything. I’ve been travelling for a couple of weeks to Scandinavia and I’ve seen all different types of houses and their layouts. Let’s look at the kitchen; there …

Continue Reading

Recycled Aluminium=ART

In every household we have an abundance of paper, plastic and aluminum. Aluminum products come in various forms, from the basic cans, foil to wiring, eyeglass frames, bicycle, some car parts, trays, ladles and other utensils. In this series we have been discussing several materials that can be recycled and Aluminum is no exception, it is a very recyclable material.An …

Continue Reading

Construction Site without Supervisor Part 2

Blog ที่ผมเขียนเมื่ออาทิตย์ที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับเสาเข็ม วันนี้ จะพูดถึงเรื่องการฐานราก (Footing) ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งของการรับน้ำหนักและความมั่นคงของอาคาร เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของอาคารทั้งหมดลงสู่พื้นดินทั้งโดยตรง หรือส่งผ่านเสาเข็มสู่ดิน ในการก่อสร้างฐานราก ไม่ว่าจะเป็นฐานรากที่วางบนชั้นดินแช็งไม่ต้องการเสาเข็ม (Footing on ground) เช่น ที่ระยอง เกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ และอิสาน หรือเป็นดินอ่อนอย่างในกรุงเทพ และปริมณฑล ที่ฐานรากจะต้องนั่งบนเสาเข็ม (Footing on Pile) งานก่อสร้างฐานรากที่ดี อย่างน้อยควรเททรายหยาบรองพื้น ( Sand bedding) ประมาณ 10 ซม และเทคอนกรีตหยาบ (Lean concrete) อีก 5 ซม บนทรายหยาบก่อนการตั้งแบบหล่อฐานราก ช่างหลายคนก็ไม่ทำ ด้วยเหตุผลส่วนตัว โดยเฉพาะไม่มีผู้ควบคุมงาน ช่างก็ถือโอกาศไม่ทำเอาซะเลย การรองพื้นฐานรากด้วยทรายหยาบ และคอนกรีตหยาบ มีประโยชน์หลายประการ ประการแรกทรายหยาบจะช่วยปรับระดับดินเดิมในอยู่ในระนาบ ทำหน้าที่คอยดูดซับแรงกระทำจากอาคารสู่พื้นดิน และเป็นตัวกลางกั้นระหว่างดินที่อาจจะมีสารบางอย่างที่เป็นภัยแก่คอนกรีตฐานราก นอกจากนั้นยังช่วยไม่ให้เลอะเทะมาก ส่วนคอนกรีตหยาบ จะทำหน้าที่เป็นฐานรองรับแก่ฐานรากให้ฐานรากมีความมั่นคงขึ้น และเป็นตัวกันไม่ไห้เนื้อซีเมนต์ที่อยู่ในส่วนผสมของคอนกรีตไหลหนีซึมหายไปในพื้นดิน อย่างไรก็ตามถ้าบริเวณที่ก่อสร้างเป็นที่ลาดเอียง และดินเดิมเป็นดินเหนียวปนทราย หรือ ดินเหนียวปนซิลด์ เมื่อมีน้ำใต้ดินสูง อาจทำให้ฐานรากที่นั่งบนดินประเภทดังกล่าว สไลด์หนีออกไปได้เป็นเหตุให้ อาคารทรุด …

Continue Reading

Recycled Paper=ART

We use tons of paper every day, from newspapers, magazines, stationary, and for designers like us, sketches, drafts, briefs and printouts of plans are cluttering every design studio! Paper is still widely used considering that offices and schools are going paper free. We do our best to minimize our carbon footprint and try to use the least amount of paper …

Continue Reading

Footpaths becoming markets

วันนี้ยังคงอยู่ตามท้องถนนครับ ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ มีการกำหนดให้เป็นเขตห้ามจอดรถยนต์ เวลาเราขับรถผ่านร้านอาหารอร่อย ๆ เลยทำให้พลาดโอกาสแวะชิมรสชาด บางซอยจอดรถแล้วโดนตำรวจจราจรมาล๊อคล้อก็อาจจะทำให้อาหารลดความอร่อยลงไปได้ ทางเท้าในปัจจุบัน จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นทางเดินใต้ชายคาหน้าตึกแถว ตามกรรมสิทธ์แล้วเป็นของตึกแถวแต่จากสภาพการใช้งานจริงก็ได้กลายเป็นทางสาธารณะไปแล้วบางพื้นที่ทางร้านค้าเจ้าของตึกแถวก็มีการนำของออกมาตั้งขายทำให้พื้นที่ทางเท้าลดลง อย่างไรก็ดี ในบางพื้นที่ทางราชการกลับมาการทำพื้นที่ทางเท้ามาทำที่ขายของ บางที่เป็นแค่การตีเส้นกำหนดแนวขายของ บางที่มีการทำหลังคาขนาดใหญ่คลุม กลายเป็นอาคารบนทางเท้าขายของกันอย่างถาวร สิ่งก่อสร้างนี้เกิดขึ้นที่ทางเท้าหน้าตลาดคลองเตย ตลาดสดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ได้มีการสร้างและใช้งานไปนานแล้วและในปัจจุบันกำลังมีการขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยสร้างบนทางเท้าอีกเช่นเคย ถ้าท่านทั้งหลายได้มีโอกาสขับรถบนถนนพระราม 4 จะทราบดีว่าถนนที่ขับมาจากแยกเกษมราษฎร์ที่มี 4 ช่องทางจราจร จะมารวมกับจุดสิ้นสุดของถนนทางรถไฟเก่าที่มี 2 ช่องจราจร แล้วถูกลดขนาดถนนเหลือ 3 ช่องจราจรบริเวณตลาดสดคลองเตยที่มีการจราจรคับคั่ง แต่ความจริงแล้วยังคงมีการเสียผิวทางจราจรอีกหนึ่งช่องทางด้านซ้ายไปกับที่จอดรถสามล้อเครื่อง ป้ายรถประจำทาง หรือจากรถยนต์ที่มีการจอดซื้อสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสภาพการจราจรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงคือ ตำแหน่งและพื้นที่จอดรถยนต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ที่จอดรถก็ยังคงจำเป็นสำหรับประชาชนที่ใช้บริการในจุดนั้น ๆ รวมไปถึงเส้นทางของการลำเลียงสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจะนำพื้นที่ทางเท้ากลับไปเป็นพื้นที่ใช้สอยจึงควรมีการพิจารณาเป็นพิเศษรวมไปถึงการจัดเตรียมพื้นที่จอดรถยนต์ไว้อย่างพอเพียง อาจจะต้องมีการซื้อตึกแถวบางส่วนในบริเวณดังกล่าวหรือบริหารพื้นที่โล่งด้วยวิธีการพบกันครึ่งทางระหว่างพื้นที่ขายของบนทางเท้ากับที่จอดรถ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

Continue Reading

Construction Site without Supervisor Part 1

ผมเคยเขียน blog เมื่อนานมาแล้ว ส่วนที่เรามองไม่เห็น ผู้รับเหมามักจะมองข้ามไม่ทำให้ เช่นไม่ทาสีใต้ขอบ หรือเหนือขอบประตู เป็นต้น ฉันใดก็ตาม ในการก่อสร้างโดยทั่วไป เจ้าของงาน หรือ ผู้ควบคุมงานถ้าไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดละก้อ จะไม่สามารถทราบได้เลยว่า ช่างทำงานให้เราได้ดี เพียงใด ผู้รับเหมาหรือช่างที่ขาดคุณธรรม หรือความรู้พื้นฐานทางช่าง มักจะทำให้เกิดปัญหาที่ต้องกลับมาแก้ไขอยู่เสมอ ผมขอยกตัวอย่างบางประเด็นเพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทราบเบื้องต้นในตอนนี้ ขอเสนองานเสาเข็ม เนื่องจากเป็นจุดแรกของการก่อสร้าง และเป็นส่วนสำคัญมาก สำหรับงานก่อสร้างที่มีความจำเป็นต้องใช้เสาเข็ม และมีการเขียนถึงเรื่องนี้ มากมาย เสาเข็มคือส่วนที่สำคัญมากสำหรับอาคาร ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ เป็นงานที่มีความซับซ้อนไม่น้อย แต่ผู้ที่ทำการตอก หรือ ก่อสร้างเสาเข็มส่วนใหญ่นอกจากไม่มีความรู้ในเรื่องความสำคัญของเสาเข็มแล้ว ยังทำงานโดยไม่ค่อยเห็นความสำคัญของงานส่วนนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดูแลงานส่วนนี้ อย่างดีเท่าที่สามาถทำได้ โดยทั่วไปเสาเข็ม มีขนาด และวิธีการผลิต และกรรมวิธีในการตอกลงดินที่แตกต่างกันมาก ผมจะขอจำแนก เป็น 3 ขนาด ดังนี้ คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เพื่อใช้งานสำหรับการใช้งาน และการรับน้ำหนักของอาคารที่มีขนาดแตกต่างกันเสาเข็มขนาดเล็ก ซึ่งมีทั้งเสาเข็มไม้ และเสาเข็มคอนกรีต มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 -10 เมตร ซึ่งเสาเข็มสั้นนั้นมีปัญหาน้อย เช่นเสาเข็มไม้มักมีขสาดหน้าตัด หัวท้ายไม่เท่ากัน …

Continue Reading

Recycled Glass = ART

As I  work on my blog this afternoon, I look at my glass of water and see how pretty glass is and how many uses glass has.  It has been used for tens of thousands of years, as an object of beauty to adorn oneself, it has been used to help steer ships by stars,  and today it is used …

Continue Reading