How to Design Car Parking for Low-Rise Buildings

 ผมเป็นคนหนึ่งที่ต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไปเที่ยวพักผ่อนหรือไปดูสถานที่ก่อสร้างครับ หลายครั้งที่ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ก็มักจะมองหาร้านอาหารอร่อย ๆ ทาน บางครั้งก็จอดในลานจอดรถ บางครั้งก็จอดข้างถนน บางครั้งก็จอดในอาคารจอดรถยนต์ บ่อยครั้งที่หาที่จอดรถไม่ได้   วันนี้จึงอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกันที่จอดรถยนต์ของอาคารขนาดเล็กครับ บ้านเรายังมี อพาร์ทเมนท์ ร้านอาหาร super market หรือร้านกาแฟ ขนาดเล็กกระจายอยู่ตามซอยหรือถนนทั่วไป อาคารหลายแห่งก็ได้มีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เอาไว้บริการลูกค้าไว้หลายแบบ ที่พอจะแบ่งรูปแบบได้ดังนี้ 1. จอดรถด้านหน้าอาคาร สำหรับอาคารขนาดเล็ก ไม่มีพื้นที่โครงการใหญ่มากและมีที่ดินหน้ากว้างติดถนน การจอดรถแบบเฉียงไปตามแนวถนนดูจะเป็นสิ่งที่น่าจะจัดทำ เพราะใช้พื้นที่ในการจอดรถยนต์น้อย สามารถใช้พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ว่างด้านหน้าอาคาร และไม่นับเป็นพื้นที่อาคารอีกด้วย แต่การจอดรถแบบนี้อาจสร้างปัญหาให้กับการจราจรได้โดยง่าย ทุกครั้งที่มีการเข้าจอดหรือออกจากที่จอดรถ จะมีการชะลอตัวของการจราจร บางครั้งสามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย 2. จัดที่จอดรถและทางวิ่งบนที่ว่างของโครงการและสร้างอาคารไว้ด้านหนึ่งหรือโดยรอบ วิธีนี้เหมาะกับโครงการขนาดไม่ใหญ่มาก การจัดที่จอดรถแบบนี้จะได้พื้นที่จอดรถที่มีราคาค่าก่อสร้างต่ำ ไม่ต้องนำพื้นที่นี้มาคิดเป็นพื้นที่อาคาร ทำให้จัดที่จอดรถชิดเขตที่ดินได้ สำหรับโครงการที่ติดปัญหาเรื่องขนาดพื้นที่อาคารและการออกแบบอาคารที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก็สามารถใช้แนวทางนี้ได้ 3. จัดที่จอดรถยนต์ใต้อาคาร การจัดที่จอดรถยนต์แบบนี้ได้ประโยชน์ต่อผู้จอดที่มีร่มเงาอาคารและที่กันฝน เหมาะสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถจัดที่จอดรถยนต์ตามความต้องการไว้บนพื้นที่ชั้นเดียว การออกแบบเมื่อมีที่จอดรถยนต์เกิน 7 คัน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอาคารในเรื่องระยะร่น และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากกว่า 4. จัดที่จอดรถยนต์นอกอาคารและจัดสร้างหลังคาคลุม รูปแบบที่จอดรถแบบนี้มีเห็นได้ทั่วไป หลังคามีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างแบบถาวรที่เป็นเหล็ก กระเบื้อง ไปจนถึงหลังคาแบบกึ่งถาวรที่ใช้ตาข่ายพลาสติกมาทำหลังคา …

Continue Reading

Car Parking and Bike Lanes

วันนี้ขอเสนอเรื่องราวที่อาจจะชินตากับทุกท่านที่ใช้เส้นทางบนท้องถนนในตามเช้า สาย บ่าย เย็นครับ คงจะปฏิเสธได้ยากครับสำหรับการใช้รถยนต์ของประชาชนในเมืองใหญ่ ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็น บางครอบครัว ซื้อบ้านอยู่แนวรอบนอกของเมือง อยู่ในถนนซอยที่ไกลออกไป บางแห่งไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับ อันเกิดมาจาก บริษัทฯพัฒนาที่ดิน ไปลงทุนตรงนั้น โดยมองว่าต้นทุนของราคาที่ดินยังต่ำอยู่ อันก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา บนถนนรัชดาภิเษก จากสี่แยกอโศก มุ่งหน้า สี่แยกคลองเตย เป็นที่ตั้งของกลุ่มอาคารสำนักงานจำนวนหนึ่ง ที่ผมใช้เส้นทางเป็นประจำ เกือบทุกวันทำงานจะพบว่ามีการจอดรถยนต์ข้างทางซ้อนคันเพื่อรับส่ง จอดส่งของ จอดรถไปซื้อของ จอดลงไปซื้อหาอาหาร ตลอดเส้นทาง ทั้งที่มีการติดป้ายจราจรห้ามจอดตลอดเส้นทาง รถที่วิ่งด้วยความเร็วบนถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร จะถูกชะลอให้ช้าลงด้วยช่องกลับรถทางด้านขวามือติดกับเกาะกลางถนน จากนั้นจะถูกลดขนาดช่องทางจราจรจาก 4 ลงเหลือ 3 และ 2 ช่องทางบริเวณหน้าสถานที่เรียกว่า ตลาด สร้างปัญหาในการระบายการจราจรจาก ถนนอโศกที่มีขนาดถนนด้านในจริงเพียงฝั่งละ 2 ช่องทาง สิ่งที่เกิดขึ้นถือได้ว่าเป็นปัญหาทางจราจรที่เกิดจากผู้ใช้ เส้นทางไม่ปฏิบัตตามกฎจราจร รวมไปถึงเจ้าพนักงานที่ไม่ทำหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย และกลายเป็นการสร้างปัญหาจราจรให้ติดขัดโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีปัญหาของการทำผิวถนนที่ไม่เรียบ เป็นหลุม มีฝาท่อระบายน้ำที่ไม่ได้ระดับกับผิวถนนอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้เป็นการชะลอความเร็วของรถให้เคลื่อนที่ได้ช้าลง เปรียบเสมือนไขมันอุดตันในเส้นเลือด  บางแห่งใกล้สถานที่ก่อสร้างมีการนำกรวยยางมาวางเอาไว้เพื่อให้รถบรรทุกคอนกรีตมาจอดรอเทคอนกรีตบนถนนสาธารณะ บางแห่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาอำนวยความสะดวกของจราจรตอนรถคอนกรีตเข้ามายังหน่วยงานก่อสร้างก็เคยพบ จากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้สร้างปัญหาการจราจรให้ติดขัดมาก จนทางกรุงเทพมหานครได้เสนอแนวคิดใหม่ที่จะห้ามจอดรถยนต์ด้วยการทำทางวิ่งของรถจักรยานแทน …

Continue Reading