Steel for construction

ในการก่อสร้างใดๆ ย่อมจะมีเหล็กเข้ามาเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับองต์ประกอบที่หลากหลาย เป็นที่ทราบกันดีว่าเหล็กสามารถรับน้ำหนักได้มากมายไม่ว่าจะเป็นแรงกด แรงบิด แรงเฉือน หรือแรงดึง ต่างก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้ทุกรูปแบบ และรับน้ำหนักได้มากกว่าคอนกรีตมากมายหลายเท่า สามารถปรับ ตัดแต่งรูปทรงได้ไม่มีขีดจำกัด

 

ในการใช้เหล็กสำหรับการก่อสร้างโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ ใช้เหล็กเสริมในคอนกรีต ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่อยู่2 ชนิดคือ

1. เหล็กเส้น (Reinforcement Bar) ในประเทศไทย ประกอบด้วย เหล็กข้ออ้อย และเหล็กกลม ดังแสดงในรูปด้านล่าง

 

เหล็กข้ออ้อยจะมีมาตรฐานการผลิตที่ดีกว่า และสามารถรับน้ำหนัก หรือรับแรงได้ดีกว่าเหล็กกลม แต่อย่างไรก็ตามเหล็กกลมก็มีส่วนดี คือเหนียว ง่ายในการดัดจึงนิยมใช้สำหรับการนำมาทำเหล็กปลอกสำหรับยึดประกอบโครงเหล็กก่อนที่จะทำการหล่อคอนกรีต ส่วนเหล็กข้ออ้อยจะเปราะกว่าในการดัดจึงสามารถดัดได้เพียงดัดฉาก มาตรฐานการใช้งานมีดังนี้

เหล็กกลม SR24 รับน้ำหนักได้ 2,400 กก/ตร.ซม

เหล็กข้ออ้อย SD30 รับน้ำหนักได้ 3,000 กก/ตร.ซม

เหล็กSD40 รับน้ำหนักได้ 4,000 กก/ตร.ซม

2.  เหล็กรูปพรรณ (Structural steel) ซึ่งเป็นเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างได้โดยตรง เช่นโครงหลังคา และในปัจจุบันบ้านเราเริ่มนำเอาเหล็กรูปพรรณมาใช้ในการสร้างบ้านทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็นคาน พื้น และเสา เป็นต้น