Construction Site without Supervisor Part 1

ผมเคยเขียน blog เมื่อนานมาแล้ว ส่วนที่เรามองไม่เห็น ผู้รับเหมามักจะมองข้ามไม่ทำให้ เช่นไม่ทาสีใต้ขอบ หรือเหนือขอบประตู เป็นต้น ฉันใดก็ตาม ในการก่อสร้างโดยทั่วไป เจ้าของงาน หรือ ผู้ควบคุมงานถ้าไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดละก้อ จะไม่สามารถทราบได้เลยว่า ช่างทำงานให้เราได้ดี เพียงใด ผู้รับเหมาหรือช่างที่ขาดคุณธรรม หรือความรู้พื้นฐานทางช่าง มักจะทำให้เกิดปัญหาที่ต้องกลับมาแก้ไขอยู่เสมอ ผมขอยกตัวอย่างบางประเด็นเพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทราบเบื้องต้นในตอนนี้ ขอเสนองานเสาเข็ม เนื่องจากเป็นจุดแรกของการก่อสร้าง และเป็นส่วนสำคัญมาก สำหรับงานก่อสร้างที่มีความจำเป็นต้องใช้เสาเข็ม และมีการเขียนถึงเรื่องนี้ มากมาย เสาเข็มคือส่วนที่สำคัญมากสำหรับอาคาร ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ เป็นงานที่มีความซับซ้อนไม่น้อย แต่ผู้ที่ทำการตอก หรือ ก่อสร้างเสาเข็มส่วนใหญ่นอกจากไม่มีความรู้ในเรื่องความสำคัญของเสาเข็มแล้ว ยังทำงานโดยไม่ค่อยเห็นความสำคัญของงานส่วนนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดูแลงานส่วนนี้ อย่างดีเท่าที่สามาถทำได้ โดยทั่วไปเสาเข็ม มีขนาด และวิธีการผลิต และกรรมวิธีในการตอกลงดินที่แตกต่างกันมาก ผมจะขอจำแนก เป็น 3 ขนาด ดังนี้ คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เพื่อใช้งานสำหรับการใช้งาน และการรับน้ำหนักของอาคารที่มีขนาดแตกต่างกันเสาเข็มขนาดเล็ก ซึ่งมีทั้งเสาเข็มไม้ และเสาเข็มคอนกรีต มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 -10 เมตร ซึ่งเสาเข็มสั้นนั้นมีปัญหาน้อย เช่นเสาเข็มไม้มักมีขสาดหน้าตัด หัวท้ายไม่เท่ากัน …

Continue Reading

Roads and Manholes

  ทุกครั้งที่ขับรถเข้าหรือออกจากซอยตอนมาทำงานและกลับบ้าน ก็นึกในใจทุกครั้งว่า ทำไมทางราชการต้องทำถนนโดยให้มีท่อระบายน้ำและบรรดาฝาต่าง ๆ ของระบบสาธารณูปโภคมาอยู่ในผิวทางจราจรด้วย ทำไมไม่ทำถนนลาดยางให้เรียบเหมือนกับทางเดินในอาคารบ้าง ผมพยายามเข้าใจครับกับถนนซอยบางเส้นที่มีการขยายเส้นทางให้มีขนาดกว้างขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดก็ต้องนำบ่อพักท่อระบายน้ำมาอยู่ร่วมกับถนน เลยเกิดแนวความคิดว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างฝาบ่อพักต่าง ๆ ให้อยู่ในระนาบเดียวกับถนนหรือมีความต่างระดับกันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนได้มีโอกาสได้เห็นการทำงานปรับปรุงผิวทางจราจาตามซอยต่าง ๆ แถวบ้าน โดยหลักการทั่วไปจะเป็นการเสริมฝาบ่อพัก จากนั้นจะเสริมผิวจราจรด้วยยางมะตอยและใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการบดอัดผิวให้เรียบ     เท่าที่ดูการทำงานของคนงานพบว่า เมื่อทำการปรับระดับฝาบ่อพัก จะมีการยกฝาบ่อพักเดิมทิ้งไป และสกัดคอนกรีตของเดิมเพื่อก่อสร้างขอบบ่อพักใหม่ แต่ไม่พบว่ามีการถ่ายระดับของถนนมาเป็นระยะอ้างอิงของขอบบ่อพักใหม่ ตรงจุดนี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้ฝาบ่อพักไม่ได้ระดับกับผิวจราจร รวมไปถึงการระบายน้ำไม่หมดไปจากผิวจราจร ถ้าดูจากรูปฝาบ่อระบายน้ำจะเห็นได้ว่า จะมีส่วนของฝาบ่อพักและตัวบ่อพัก และจบด้วยผิวถนนยางมะตอย เนื่องจากเป็นการทำงาน 3 ครั้งจึงมีโอกาสมากที่จะได้ระดับต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการที่ไม่มีแบบขยายการทำขอบบ่ออย่างถูกต้อง จึงได้ผลลัพธ์ของการก่อสร้างแบบที่เห็น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการประสานงานกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น เช่น องค์การโทรศัพท์ในการยกระดับฝาบ่อพัก จนท้ายที่สุดเราก็ได้ถนนตามรูปข้างล่าง จะเห็นได้ว่าระดับของฝาบ่อต่ำกว่าระดับถนนที่ลาดยางใหม่อย่างชัดเจน อันก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังตรงบริเวณฝาบ่อ การที่ฝาบ่อที่เป็นเหล็กเปียกน้ำหรือมีน้ำท่วงขังอาจก่อให้เกิดความอันตรายกับรถจักรยานหรือจักรยานยนต์ลื่นล้นได้ตรงบริเวณดังกล่าว ทางออกหนึ่งที่อยากจะเสนอคือการออกแบบฝาบ่อพักต่าง ๆ ใหม่โดยออกแบบให้สามารถปรับระดับขึ้นสูงกว่าเดิมเพื่อให้การทำผิวถนนยางมะตอยได้พอดีกันตามแบบร่างด้านล่าง แนวทางคือ ออกแบบฝาบ่อพักโดยให้มีการใช้สกรูตัวหนอนขนาดใหญ่ 4 ตัวติดตั้งบริเวณมุมทั้ง 4 ด้าน เพื่อใช้ไขปรับระดับความสูงของฝาบ่อพักให้สูงใกล้เคียงกับผิวถนน  สกรูตัวหนอนจะยึดกับน๊อตตัวเมียขนาดใหญ่ที่สร้างโดยยึดติดกับฝาบ่อ เมือไขสกรูตัวหนอนลงไป แกนของสกรูตัวหนอนจะดีดฝาบ่อให้สูงขั้น อย่างไรก็ดี การลาดยางผิวถนนยังต้องต้องมีการตรวจสอบความลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลลงไปยังฝาบ่อระบายน้ำ   จากแบบขยายข้างต้นเราก็จะได้ฝาบ่อพักที่ปรับระดับให้สูงขึ้นได้เพื่อรองรับการทำงานถนนยางมะตอยที่ทำระดับผิวสำเร็จได้ไม่ดี เพื่อลดปัญหาถนนและระดับฝาบ่อพักที่ไม่เท่ากัน  …

Continue Reading

Selecting the Right type of Cement to use

ผู้ที่เรียนวิชาช่างก่อสร้าง วิศวกร และสถาปนิกส่วนใหญ่จะทราบดีว่า ซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) หรือ ซีเมนต์ที่ใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของคอนกรีต นั้นมีอยู่ถึง 5 ประเภท คือ ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 (Portland Cement Type 1 ) สำหรับใช้งานทั่วไป ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 2 (Portland Cement Type 2 ) สำหรับงานที่ต้องการให้ทนทานต่อสาร ซัลเฟตปานกลาง ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 3 (Portland Cement Type 3 ) สำหรับงานคอนกรีตที่ต้องการให้เร่งกำลังรับน้ำหนักเร็วขึ้น ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 4 (Portland Cement Type 4 ) สำหรับงานที่ต้องการให้ความร้อนต่ำในขณะที่อยู่ในช่วงการเกิดปฏิกิริยาแข็งและบ่มตัว (Hydration) ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 5 (Portland Cement Type 5 ) สำหรับงานที่ต้องการให้ทนต่อสารซัลเฟตที่มีปริมาณสูง …

Continue Reading

Why Do We Use Concrete More than Steel

Blog ก่อนหน้านี้ผมได้เขียนเรื่อง ประโยชน์และคุณสมบัติเฉพาะตัวของ คอนกรีต และเหล็กตามลำดับ เป็นที่ทราบดีว่า คอนกรีต ซึ่งเป็นส่วนผสมจากปูนซีเมนต์ ทราย หินบด หรือกรวด และน้ำสะอาด เป็นส่วนผสม ซึ่งไม่มีความแข็งแรง หรือ ทนทานได้เท่าเทียมกับเหล็กเลย แถมยังเปราะแตกหักได้ง่ายอีกต่างหาก แต่เหตุไฉน เราจึงใช้คอนกรีตในการก่อสร้างมากกว่าเหล็กและมากขึ้นทุกวัน นั่นเป็นเพราะว่า 1.ราคา คอนกรีต เป็นวัสดุที่วิศวกรนิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างเนื่องจากราคาถูกที่สุด วัสดุส่วนผสม ไม่ว่าจะเป็น หิน ทราย หรือ น้ำ ต่างก็หาได้ในพื้นที่ส่วนใหญ่บนโลกใบนี้  และราคาไม่แพง ขึ้นกับภูมิประเทศของโครงการที่ตั้งอยู่ และความมีพร้อมของวัสดุ 2. ความแข็งแรงทนทาน คอนกรีต เป็นวัสดุที่ทนทานต่อน้ำอย่างเป็นเลิศ ซึ่งวัสดุอื่นไม่สามารถต้านทานน้ำได้เหมือน ดังเช่น ไม้ หรือ โลหะทั่วๆไป คอนกรีตเปือยจึงใช้ในการก่อสร้าง เขื่อน ฝาย ดาดคลองระบายน้ำ กำแพงกันดิน และ ถนน เป็นต้น ที่เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกรณีน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ภาครัฐได้ทำการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ฝายกั้นน้ำ ทำนบกั้นน้ำ จากคอนกรีต เป็นต้น  นอกจากนั้น ส่วนประกอบต่างๆของอาคารเช่น เสาเข็ม …

Continue Reading

Steel for construction

ในการก่อสร้างใดๆ ย่อมจะมีเหล็กเข้ามาเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับองต์ประกอบที่หลากหลาย เป็นที่ทราบกันดีว่าเหล็กสามารถรับน้ำหนักได้มากมายไม่ว่าจะเป็นแรงกด แรงบิด แรงเฉือน หรือแรงดึง ต่างก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้ทุกรูปแบบ และรับน้ำหนักได้มากกว่าคอนกรีตมากมายหลายเท่า สามารถปรับ ตัดแต่งรูปทรงได้ไม่มีขีดจำกัด   ในการใช้เหล็กสำหรับการก่อสร้างโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ ใช้เหล็กเสริมในคอนกรีต ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่อยู่2 ชนิดคือ 1. เหล็กเส้น (Reinforcement Bar) ในประเทศไทย ประกอบด้วย เหล็กข้ออ้อย และเหล็กกลม ดังแสดงในรูปด้านล่าง   เหล็กข้ออ้อยจะมีมาตรฐานการผลิตที่ดีกว่า และสามารถรับน้ำหนัก หรือรับแรงได้ดีกว่าเหล็กกลม แต่อย่างไรก็ตามเหล็กกลมก็มีส่วนดี คือเหนียว ง่ายในการดัดจึงนิยมใช้สำหรับการนำมาทำเหล็กปลอกสำหรับยึดประกอบโครงเหล็กก่อนที่จะทำการหล่อคอนกรีต ส่วนเหล็กข้ออ้อยจะเปราะกว่าในการดัดจึงสามารถดัดได้เพียงดัดฉาก มาตรฐานการใช้งานมีดังนี้ เหล็กกลม SR24 รับน้ำหนักได้ 2,400 กก/ตร.ซม เหล็กข้ออ้อย SD30 รับน้ำหนักได้ 3,000 กก/ตร.ซม เหล็กSD40 รับน้ำหนักได้ 4,000 กก/ตร.ซม 2.  เหล็กรูปพรรณ (Structural steel) ซึ่งเป็นเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างได้โดยตรง เช่นโครงหลังคา และในปัจจุบันบ้านเราเริ่มนำเอาเหล็กรูปพรรณมาใช้ในการสร้างบ้านทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็นคาน พื้น …

Continue Reading

Concrete for construction

เป็นที่ทราบดีว่า คอนกรีต ซึ่งเป็นส่วนผสมจากจากวัสดุธรรมชาติ หลักๆเพียง 4 ชนิด คือ ปูนซีเมนต์ ทราย หินบด หรือกรวด และน้ำสะอาด ก็สามารถหล่อให้เป็นรูปทรงต่างๆได้มากมาย จากส่วนเล็กๆ เช่นทางเดิน ไปจนถึงตึกระฟ้า และวิวัฒนาการการใช้คอนกรีตก็เพิ่มมากขึ้น เทียบเท่ากับความสูงของตึกที่นับวันจะสูงขึ้นๆ  เราใช้คอนกรีตในการก่อสร้างมากขึ้นทุกวัน  ในช่วงปีที่ผ่านมา ตามสถิติ ประชากรโลกได้ใช้คอนกรีต เป็นจำนวนประมาณถึง 11,000 ล้านเมตริกตัน ในงานก่อสร้างต่างๆ ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. คอนกรีต เป็นวัสดุที่ทนทานต่อน้ำอย่างเป็นเลิศ ซึ่งวัสดอื่นไม่สามารถต้านทานน้ำได้เหมือน ดังเช่น ไม้ หรือ โลหะทั่วๆไป คอนกรีตเปือยจึงใช้ในการก่อสร้าง เขื่อน ฝาย ดาดคลองระบายน้ำ กำแพงกันดิน และ ถนน เป็นต้น ที่เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกรณีน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ภาครัฐได้ทำการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ฝายกั้นน้ำ ทำนบกั้นน้ำ และอีกมากมายจากคอนกรีต นอกจากนั้น ส่วนประกอบต่างๆของอาคารเช่น เสาเข็ม ฐานราก พื้น คาน เสา ผนัง ดาดฟ้าส่วนที่สัมผัสน้ำ …

Continue Reading

The Changing Role Of The Architect

It has been a while since the architect was the master builder and was the ultimate authority for any building design and construction. A lot of factors contributed to this change;   The industrial revolution, new technologies, new materials meant the traditional craftsmen were not capable to handle the new complexity of the design and building industry.   We saw …

Continue Reading

The Dangers of Construction

  จะเห็นได้ว่าเมืองไทย ก็มี หอเอน เหมือนกัน แต่ในที่สุดหอเอนแห่งรังสิตของเราก็ต้องถูกทุบทิ้ง เสียทั้ง เงิน เสียทั้งเวลา ด้วยความประมาทในการก่อสร้าง อาคารนี้ ถูกประกาศเป็นอาคารอันตราย ดูภาพใกล้ของอาคาร ด้านล่าง   งานก่อสร้างโดยรวมมักจะมีความอันตรายอยู่ในตัวอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า ที่ใดมีการก่อสร้างที่นั่นมักจะติดป้ายประกาศเตือน อาจจะเหมือนดังข้างล่าง   ดังนั้นเมื่อทำงานอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างนอกจาก มีความตั้งใจทำงานอย่างไม่ประมาทแล้ว แล้วอุปกรณ์พื้นฐานจงสวมใส่อย่าได้ออมชอม ต้องสวมใส่ตลอดเวลาจนเป็นนิสัย ผมเคยทำงานที่ซาอุ ฯ เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว คนงานต้องปีนขึ้นไปผูกเหล็กเพื่อทำกำแพงสูงประมาณ 5 เมตร ได้ ปีนปายอย่างน่ากลัวเมื่อมองจากข้างล่าง เราต้องเรียกเขาลงมาให้ไปเบิกเข็มขัดนิรภัย ( Safety Belt) ใส่ ปรากฏว่า เขาใส่มันไว้เหมือนกัน แต่ไม่ได้ล็อคไว้กับเหล็ก แต่กลับคล้องไว้ที่บ่าแทน คล้ายๆกับว่า เมื่อนายช่างสั่งผมก็ทำตามแต่ไม่ได้ทำจริง โชคดี ช่างเหล็กคนนั้นไม่ได้ตกลงมา  ที่Site งาน เราจะแจกหมวก รองเท้านิรภัย และถุงมือหนังให้คนงานทุกคน ในตอนนั้นผมต้องคุมงานอยู่กับช่างและกรรมกร นับร้อยคน หมวกนิรภัย ( Hard Hat) ช่วยป้องกันศรีษะผมได้อย่างดี ผมเองก็ชอบเดินไปชน ไม้แบบ หรือสิ่งกีดขวาง …

Continue Reading

The Future of the Architecture Profession

I have a tale to tell; Once upon a time, there was a man who was so sought after emperors and kings fought to have him work only for them. He was called the master builder. He was a highly respected professional whose skills and services were the foundation of each civilization. So what is a master builder and what …

Continue Reading

Fully Forward

Modernising an interior space. Looking at the number of gadgets we all have, it is becoming an increasingly important issue for all space planning. This doesn’t only apply to the home since we end up taking our portable gadgets all around with us; public spaces are also slowly finding solutions to help with this digital evolution. Regardless, our home is …

Continue Reading