How to select Doors

เลือกประตูอย่างไรให้เหมาะสม ประตูถือเป็นผนังที่เลื่อนได้ชนิดหนึ่งเพื่อใช้เปิดและปิดที่ทางเข้าออก ของพื้นที่  โดยทั่วไปแล้วจะมีจุดยึดที่อาจแตกต่างกันออกไปบ้าง เช่น ประตูบานเปิด ประตูบานเลื่อน หรือประตูหมุน หน้าที่ของประตูพอจะแบ่งออกได้ดังนี้ ประตูเพื่อป้องกันความปลอดภัยของทรัพย์สิน ประตูเพื่อป้องกันความร้อนหรือความเย็น ประตูเพื่อป้องกันเสียงรบกวน ประตูเพื่อเป็นทางหนีไฟ ประตูเพื่อความสวยงาม ประตูยังสามารถแบ่งออกได้ตามชนิดของวัสดุ ซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตำแหน่งและขนาดของช่องเปิดที่ต้องการ องค์ประกอบของประตูอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย วงกบ, บานประตู, บานพับหรือแกนยึดบานประตู และมือจับล๊อคบานประตู ประตูยังสามารถแบ่งออกตามชนิดหรือการเปิดได้ดังนี้ 1. ประตูบานเปิด-ปิด เหมาะสำหรับภายนอกและภายในอาคาร เป็นรูปแบบประตูที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับห้องต่าง ๆ  บานประตูสำหรับห้องทั่วไปจะใช้ขนาดไม่เล็กกว่า 0.80 เมตร ในกรณีที่มีการใช้รถเข็นสำหรับผู้สูงอายุ ขนาดบานประตูที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 0.90 เมตร ขนาดช่องเปิดจริงจะมีขนาดเล็กกว่าขนาดบานประตูเสมอ เพราะจะถูกหักไปจากการทำบังใบที่วงกบประตู   2. ประตูบานเลื่อน เหมาะสำหรับภายในอาคารหรือใช้สำหรับแบ่งพื้นที่ของห้องใหญ่ออกเป็นส่วน ๆ ขนาดของบานประตูที่ทำจะต้องเผื่อระยะให้มากกว่าบานเปิด-ปิด เนื่องจากบานประตูจะต้องปิดทับกับผนังทางด้านข้างและด้านบน 3. ประตูบานเฟี้ยม เป็นรูปแบบผสมของประตูบานเปิดและบานเลื่อน ใช้สำหรับช่องเปิดประตูที่มากกว่าบานประตูเปิด-ปิดคู่จะทำได้ บานประตูจะถูกแขวนกับลูกล้อด้านบนและด้านล่างมีแกนป้องกันบานประตูแกว่งเสียบลงบนรางที่พื้น ระหว่างบานประตูมีการยึดติดระหว่างบานด้วบานพับประตู บานประตูชนิดนี้เหมาะสำหรับภายในอาคาร เนื่องจากไม่สามารถปิดบังช่องว่างระหว่างด้านบนและล่างของบานประตู 4. ประตูม้วน เป็นบานประตูที่ใช้สำหรับช่องเปิดที่มีขนาดกว้างมากกว่าที่จะใช้ประตูบานเปิด-ปิดคู่ สามารถทำได้กว้างประมาณ 4.00 เมตร โดยไม่ต้องแบ่งขนาดของบานเหล็กม้วนตรงกลาง และจะต้องมีกล่องเก็บบานประตูม้วนด้านบนเป็นกล่องขนาดประมาณ 0.50 เมตร …

Continue Reading

ปูหินอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหา

พื้นหินธรรมชาติ เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ถูกนำมาใช้ในพื้นที่อาคารส่วนกลาง หรือส่วนที่สำคัญของบ้านพักอาศัย ที่ต้องมีการใช้งานมาก หินอ่อนเป็นหินที่มักจะถูกเลือกนำมาใช้สำหรับงานบ้านพักอาศัย แต่เนื่องจากคุณสมบัติความแข็งแรงของผิวที่จำกัด จึงมักเป็นอุปสรรคในการใช้งานในอาคารสาธารณะที่มีการใช้งานสูงและมีการขนของที่มีน้ำหนักมากผ่านไปมาและมีการนำหินแกรนิตมาใช้งานในบริเวณนี้แทน เนื่องจากหินธรรมชาติมีรูพรุ่นในเนื้อหิน มากน้อยตามชนิดของหินนั้น ๆ ก่อนที่จะทำการปูพื้นหิน สิ่งหนึ่งที่สำคัญและควรได้รับการพิจารณา คือการทำระบบกันซึมน้ำของแผ่นหินเสียก่อน ระบบกันซึมแผ่นหินที่ดี ควรจะใช้วิธีจุ่มแผ่นหินลงในน้ำยาให้ทั่วแผ่น แล้วนำขึ้นมาตากไว้จนแห้งตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์น้ำยากันซึมนั้นๆ บางระบบอาจเป็นแบบทาน้ำยากันซึมด้านบนและด้านข้างของแผ่นหินทั้งสี่ด้าน และด้านล่างทาน้ำยากันซึมแบบที่เป็น epoxy การติดตั้งหินพอจะแบ่งออกได้ 3 วิธีดังนี้ 1. การติดตั้งโดยใช้ปูนทราย เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับพื้นที่ยังไม่ได้ทำการปรับระดับ หรือ พื้นเดิมที่ทำการรื้อปูนทราบเดิมออกก่อนทำการติดตั้ง ขั้นตอนในการปูพื้นมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ตรวจสอบระดับพื้นที่จะทำการปูหินให้มีระดับสำหรับเทส่วนผสมของปูนทราย เพื่อปูหินอยู่ระหว่าง 30-50มม ถ้ามากหรือน้อยเกินไปควรทำการแก้ไข 1.2 ผสมปูนทรายปรับระดับ และเทลงบนพื้นที่จะติดตั้งหิน และทำการปรับให้ได้ระดับก่อนที่จะติดตั้งหิน 1.3 ใช้กาวซีเมนต์ผสมน้ำทาบนหลังหินที่จะติดตั้ง แล้วยกวางลงบนตำแหน่งที่จะติดตั้ง ใช้ค้อนยางเคาะเบา ๆ เพื่อให้ได้ระดับ 1.4 ทำการจัดวางแผ่นหิน และแนวรอยต่อให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยเว้นแนวรอยต่อหินประมาณ 1-2 มม เมื่อวางเสร็จควรทิ้งระยะเวลาให้แห้งตัวประมาณ 72 ชั่วโมง 1.5 ยาแนวรอยต่อระหว่างหิน ไม่ให้มีโพรงอากาศ  เศษของวัสดุยาแนวที่หลุดออกมาให้เช็ดทำความสะอาด ก่อนที่วัสดุยาแนวจะแข็งตัว 2. การติดตั้งโดยใช้กาวซีเมนต์ เป็นวิธีที่สะดวกและเหมาะกับพื้นที่ได้รับการปรับระดับแล้ว …

Continue Reading

การออกแบบบันไดหนีไฟ

บันไดหนีไฟ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ที่มีกฎหมายอาคารออกข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผู้ออกแบบยึดเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สอยอาคาร กฎหมายอาคารที่ควบคุมรายละเอียดของบันไดหนีไฟ รวมถึงมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบันไดหนีไฟ มีดังต่อไปนี้ กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง) กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (ใช้สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2544 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531 กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544         จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ใช้ควบคุมอาคารในส่วนของบันไดหนีไฟ  และเนื่องจากการที่มีการออกกฎหมายออกมาหลายฉบับนี่เอง จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และยึดโยงในส่วนข้อกำหนดของกฎหมาย หากจะแบ่งขนาดของอาคารเพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบ อาจแบ่งการออกแบบบันไดหนีไฟ ออกเป็นสองประเภทตามกฎหมายควบคุมอาคารดังนี้ บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร บันไดหนีไฟสำหรับอาคาร องค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับบันไดหนีไฟ เพื่อให้อาคารถูกต้องและเกิดความปลอดภัย สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร รองรับความต้องการของผู้พิการ อาจกำหนดได้ดังนี้       …

Continue Reading

ความฉลาดเลือกใช้ ขนาดมาตรฐานของวัสดุก่อสร้าง

  ผู้ออกแบบสามารถออกแบบอาคารเป็นรูปแบบ หรือรูปทรงต่างๆ ได้มากมาย ตามจินตนาการ หากแต่การก่อสร้างอาคารยังคงต้องใช้วัสดุก่อสร้างที่ผลิตออกมาขายโดยทั่วไปโดยผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ผู้ออกแบบจึงควรที่จะคำนึงถึงขนาดของวัสดุก่อสร้าง เพื่อความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง และการใช้ประโยชน์สูงสุดจากขนาดของวัสดุ วัสดุอาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ วัสดุที่เป็นส่วนของโครงสร้างอาคาร เช่น พื้นสำเร็จรูป ผนังคอนกรีต แผ่นฝ้าเพดาน และ แผ่นหลังคา วัสดุที่ใช้เป็นส่วนตกแต่งของอาคาร เช่น พื้นกระเบื้องยาง พื้นไม้ พรมแผ่น บานประตู หน้าต่าง ผนังอลูมิเนียม และ กระจก เป็นต้น ขนาดของผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่มีใช้โดยทั่วไป มีขนาดดังนี้ พื้นสำเร็จรูป Hollow core ขนาดกว้าง 300,600,1200 มม ยาว 4000-7000 มม อิฐมวลเบา ขนาด  200 x 600 มม คอนกรีตบล๊อค ขนาด 200 x 400 มม บล๊อคแก้ว ขนาด 200 x 200 มม หลังคากระเบื้องคอนกรีต ขนาด …

Continue Reading

Understanding Floor area Ratio (FAR)

Floor area ratio means the ratio between the total building area and land plot area. City planning laws were enforcement as the Town and City Planning Act since year 1975 (2518BE). Bangkok area had implemented City Planning law under Ministerial regulation Act no 116 . The  first law came year 1992. The laws  are revised and revamped every 5 years. …

Continue Reading

Impact from new Bangkok Metropolitan Administration (BMA) Land Use

Since we had first BMA land use implemented in year 1992 until today, the law has been controlled use of land and size of building with public road width. BMA land use has split use of land to major activity, minor activity and prohibits activity. Building use that match to major activity has no control of public road width under …

Continue Reading