Tactiles III

  สัปดาห์นี้เราจะไปดูเรื่องของการป้องกันการเดินชนของผู้พิการทางสายตาจากส่วนตกแต่งภายในอาคารครับ บางเรื่องอาจเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึง การเดินไปตามสถานที่ต่าง ๆ มีของผู้พิการทางสายตาต้องอาศัยความจดจำของผู้พิการและสัญญลักษณ์ของเส้นทางบนพื้น หรือ ป้ายส่งเสียงเตือน รวมไปถึงป้ายอักษรเบลล์ อาคารสาธารณะทั่วไปมักจะมีการติดตั้งป้ายโฆษณายื่นออกมาจากผนัง รวมไปถึงบรรดาตู้สายดับเพลิงที่อาจจะมีการติดบนผนังให้ยื่นออกมาในบริเวณทางเดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับคนทั่วไป แต่เป็นสิ่งกีดขวางที่ผู้พิการทางสายตาอาจจะใช้ไม้เท้านำทางตรวจหาไม่พบ และทำให้เดินชน ได้รับบาดเจ็บได้ง่าย การเดินไปตามทางเดินดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่น่ามีอันตรายเกิดขึ้น แต่จุดที่เป็นพื้นที่หน้าประตูกลับเป็นอีกจุดที่สามารถเกิดการเดินชนของผู้พิการทางสายตา รวมไปถึงคนปกติทั่วไป โดยมาตรฐานในการออกแบบ เรามักจะทำหนดให้ประตูฉุกเฉินเปิดจากภายในห้องสู่ทางเดินเพื่อเดินต่อเนื่องไปยังทางหนีไฟ การออกแบบโดยกำหนดให้ประตูมีระยะร่นถอยเข้าไปเพียงพอที่จะไม่ให้บานประตูล้ำเข้ามาในเส้นทางเดินจึงนับเป็นเรื่องที่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ รวมไปถึงในช่องบันไดหนีไฟ การออกแบบที่ช่วยให้เกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุดย่อมสร้างความปลอดภัยมากที่สุดในการใช้งานของทุก ๆ คน รูปด้านล่างเป็นตัวอย่างการออกแบบโดยไม่ให้บานประตูเปิดเข้ามากีดขวางทางเดินของคนในช่องบันไดหนีไฟ อาคารที่มีการออกแบบบันไดแบบเปิดโล่งนับเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถสร้างอันตรายให้กับผู้พิการทางสายตาได้เช่นกัน การเดินไปตามทางเดินเมื่อเดินเข้าสู่พื้นที่ใต้บันได จะมีการเตรียมผนังหรือราวเหล็กเป็นแนวป้องกันไม่ให้เดินเข้าไปในระยะที่มีความสูงจากพื้นถึงท้องบันไดที่มีระยะน้อยกว่า 2 เมตร สำหรับคนตาดี การเดินไปตามสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน จะอาศัยการดูจากแผนที่ผังภายในอาคารนั้น ๆ แต่สำหรับผู้พิการ จะมีสามารถรับรู้จากป้ายเหล่านี้ได้ เว้นแต่จะใช้ป้ายแบบที่มีเสียงอธิบาย และส่วนมากก็จะมีเพียงแค่จุดเดียวของแต่ละอาคาร จุดต่าง ๆ ก็จะอาศัยป้ายบอกเส้นทาง ป้ายบอกทางหนีไฟ เป็นหลัก ป้ายที่เป็นอักษรเบลล์จึงเป็นสิ่งที่ควรมีการเตรียมเอาไว้ร่วมกับป้ายในอาคารเช่นกัน ป้ายบอกเส้นทางหนีไฟแบบอักษรเบลล์/caption

Continue Reading

Tactiles II

 วันนี้เรามาดูเรื่องกระเบื้องปูพื้นสำหรับผู้พิการทางสายตาต่อกันครับ  การใช้กระเบื้องปูพื้นเพื่อบอกเส้นทางให้กับผู้พิการทางสายตาอาจแบ่งได้ออกเป็นสองส่วนครับคือส่วนของภายในอาคาร และ ภายนอกอาคาร ส่วนภายในอาคารได้แก่ ทางเดินไปยังจุดต่าง ๆ ภายในอาคารเช่น ทางเดินไปยังบันไดหรือบันไดหนีไฟ ทางเดินไปห้องน้ำ ทางเดินไปตู้ขายบัตรรถไฟฟ้า ทางเดินไปยังช่องทางเข้าชานชาลา ทางเดินไปยังชานชาลารถไฟฟ้า ทางเดินทั่วไปภายนอกอาคารหรือทางเท้า จะมีการจัดเตรียม Hazard warning tile เอาไว้เพื่อเตือนผู้พิการทางสายตา ที่เดินสัญจรไปมาตามทางเท้าไว้หลายรูปแบบ อยากเริ่มในส่วนของภายในอาคารก่อนครับ ทางเดินภายในอาคารที่มีการจัดเตรียมกระเบื้องปูพื้นที่บอกเส้นทางสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่อยากยกตัวอย่างได้แก่ อาคารสถานีรถไฟฟ้า เนื่องจากเป็นอาคารสาธารณะที่มีการใช้งานทุกวันในการเดินทางไปทำงานหรือสถานที่ต่าง ๆ จุดปลายทาง โดยทั่วไปจะมีการเตรียมกระเบื้องปูพื้นมีดังนี้ จุดที่เป็นทางเข้าและออกสถานีรถไฟฟ้า และจุดที่บอกองค์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร (Directory board) จุดเริ่มต้นและปลายทางของบันได หรือ ลิฟท์ จุดเริ่มต้นและปลายทางของตู้หรือห้องขายตั๋วรถไฟฟ้า จุดเริ่มต้นและปลายทางของ ประตูเข้าชานชาลาสถานี จุดเริ่มต้นและปลายทางของห้องน้ำ จุดรอรถที่ชานชาลา บริเวณทางเข้าอาคารที่เป็นประตู การจัดระยะของกระเบื้องปูพื้นก็มีความแตกต่างกันและมุ่งผลในด้านความปลอดภัยของผู้พิการทางสายตาเช่นกัน มีการเตือนให้ทราบก่อนที่จะเดินเข้าสูงระยะการเปิดของประตู สิ่งเหล่านี้      เมื่อเข้าสู่ภายในอาคารแล้วพวกเขาคงต้องการทราบรายละเอียดตำแหน่งห้องต่าง ๆ ภายในอาคารครับ สิ่งเดียวที่สื่อสารกับเขาได้คือ Directory board ที่ใช้สำหรับผู้พิการทางสายตา หรือติดต่อสอบถามที่ประชาสัมพันธ์      การเดินไปยังจุดต่าง ๆ …

Continue Reading

Tactiles

วันนี้ขอเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับผู้พิการที่ยังคงต้องใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับประชาชนทั่วไปครับ ในบรรดาผู้พิการทั้งหมด ผู้พิการทางสายตา ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนคนปกติหากแต่ต้องใช้ประสาทสัมผัสและความจำอันดีเยี่ยมเพื่อเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่าง ๆ อยากให้ทุกท่านลองปิดตาและเดินดูภายในห้องครับว่ามีความรู้สึกอะไร และต้องการอะไร เครื่องหมายในการนำทางครับคือสิ่งที่พวกเขาต้องการ ตามมาตรฐานของต่างประเทศ ได้มีการกำหนดกระเบื้องสำหรับคนพิการเอาไว้หลายรูปแบบ แต่ผมขอหยิบเอารูปแบบของกระเบื้องปูพื้นสำหรับผู้พิการทางสายตาที่ใช้ใน ฮ่องกงมาเป็นกรณีศึกษาครับ กระเบื้องปูพื้นจะแบ่งออกเป็น 3 แบบครับ Positional tile มีลักษณะเป็นปุ่มกลม มีขนาดเล็กกว่าแบบ Hazard warning tile และมีการจัดวางปุ่มกลมในแนวทะแยง ขนาดของแผ่นกระเบื้องประมาณ 300×300 มม ใช้เพื่อบอกการเปลี่ยนทิศทางในการเดินของผู้พิการฯ Hazard warning tile มีลักษณะเป็น ปุ่มกลม เรียงกันเป็นตาราง ขนาดของแผ่นกระเองกว้างเท่ากันกับแบบที่ 1 ใช้เพื่อบอกอันตรายแก่ผู้พิการฯ Directional tile มีลักษณะเป็นแถบยาวสีเส้นในหนึ่งแผ่นกระเบื้อง มีหัวและปลายที่มนเป็นรูปครึ่งวงกลม ขนาดของแผ่นเท่ากับแบบที่ 1 ใช้เพื่อบอกเส้นทาง ขนาดของแผ่นกระเบื้องมีการกำหนดเป็นขนาดมาตรฐานไว้ตามรูปด้านล่างครับ บ้านเรามีการนำเอาแผ่นกระเบื้องปูพื้นสำหรับผู้พิการมาใช้ตามทางเดินเท้าในกรุงเทพมหานคร และ ในระบบรถไฟฟ้าใต้ติดครับ หากแต่การนำมาใช้ มีการใช้กระเบื้องเพียง 2 แบบ คือ แบบ Hazard warning tile และ แบบ Directional tile …

Continue Reading

Staircases IV

วันนี้คงเป็นตอนจบของเรื่องบันไดครับ จากที่ผ่านมา เราได้มีการพูดถึงบันไดคอนกรีต และ บันไดไม้ไปแล้ว บันไดที่สร้างด้วยเหล็กคงเป็นตัวสุดท้ายที่นิยมใช้กัน สืบเนื่องจากปัจจุบัน การก่อสร้างต้องการความเร็ว งานต่อเติมอาคารบางประเภทมีข้อจำกัดในการสร้างโครงสร้างที่มีน้ำหนักมาก จึงมีการนำเหล็กมาใช้ในการก่อสร้างมากขึ้น บันไดเหล็กที่นิยมใช้พอแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ บันไดและบันไดหนีไฟ บันไดเวียน บันไดลิง บันไดเหล็กส่วนใหญ่ในบ้านเรามักจะสร้างเพื่อใช้ในส่วนของโรงงาน ทางเดินเหนือหลังคา ทางซ่อมบำรุงต่าง ๆ รวมไปถึงบันไดภายนอกอาคารที่ใช้เป็นทางหนีไฟในอาคารสูงที่สร้างมานานแล้ว ผู้ออกแบบมีวัตถุประสงค์ให้มีน้ำหนักเบา มีความทนทานต่อการใช้งาน และมีการเลือกใช้แผ่นเหล็กลาย chequer plate มาใช้เพื่อป้องการการลื่นเวลาเดิน ต่อมามีการนำมาใช้ในงานดัดแปลงอาคารและอาคารที่สร้างใหม่ที่ต้องการการประหยัดเวลา โดยใช้เหล็กทำแม่บันไดและใช้ขั้นบันไดจากวัสดุอื่น เช่น ไม้เนื้อแข็ง คอนกรีตผสมกับโครงเหล็ก เป็นต้น บ้านแถวก็มีการนำเหล็กมาเป็นส่วนของโครงสร้างบันได โดยนำมาใช้ทำแม่บันไดและโครงรับขั้นบันได บันไดที่ใช้เหล็กมักจะต้องการ การประกอบที่ปราณีต มีการวัดระยะที่แม่นยำ การประกอบส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเชื่อม โครงเหล็กและวางขั้นบันไดไม้ภายหลัง มักจะพบปัญหาสองสามประการดังนี้ เวลาเดินจะมีเสียงดัง ปัญหาที่พบมักเกิดจากเหล็กรับขั้นบันไดไม่ได้ระนาบกับขั้นบันได เหล็กรับขั้นบันไดเชื่อมกับแม่บันไดไม่แน่นหนา ทำให้มีการขยับตัวขณะเดิน ช่างที่ก่อสร้างไม่ได้เผื่อระยะความหนาขั้นบันไดขั้นแรก และ ระยะจมูกบันไดของบันไดขั้นบนสุด ทำให้เกิดปัญหา ระยะลูกตั้งบันไดขั้นแรกสูง ระยะลูกตั้งบันไดขั้นบนสุดเตี้ยกว่าขั้นอื่น ๆ และลูกนอนสั้นกว่า บันไดเวียน มีการทำอยู่หลายแบบ ทั้งที่เป็นบันไดเหล็กทั้งตัวที่พบได้มากในอาคารที่มีการต่อเติมและทำชั้นลอยภายใน บันไดเวียนโครงเหล็กที่ใช้ไม้มาทำขั้นบันได รวมไปถึงบันไดเหล็กอัลลอยที่เป็นแบบสำเร็จรูปที่มักนำมาใช้กับงานภายนอกอาคาร การนำไปใช้ในส่วนต่าง ๆ …

Continue Reading

Staircases III

วันนี้ขอพูดถึงบันไดที่สร้างด้วยคอนกรีตครับ ถือได้ว่าเป็นบันไดที่ใช้กันโดยทั่วไปในอาคารต่าง ๆ  บันไดคอนกรีตจัดเป็นบันไดที่เป็นวัสดุทนไฟและเป็นวัสดุถาวร ส่วนใหญ่จะใช้คอนกรีตสำหรับบันไดหลักขึ้นลงทั่วไปรวมไปถึงบันไดหนีไฟด้วย  รูปแบบของบันไดคอนกรีตมีหลายแบบ เช่น บันไดแบบท้องเรียบ เป็นบันไดที่นิยมสร้างกันโดยทั่วไป เปรียบได้กับการสร้างพื้นแล้วค่อยสร้างขั้นบันไดภายหลัง ไม่ซับซ้อนแต่มีความหนาของบันไดมากและน้ำหนักมากด้วย บันไดแบบพับผ้า เป็นบันไดที่นิยมสร้างแต่น้อยกว่าแบบแรก เพราะขั้นตอนการก่อสร้างและเสริมเหล็กทำได้ยากกว่า ต้องการความปราณีตในการก่อสร้างมากกว่า   3. บันไดลูกนอนแบบเปิด ไม่มีลูกตั้ง ส่วนมากจะทำเป็นบันไดโชว์ของอาคาร บันไดนี้อาจมีคานโครงสร้างเสริมรับลูกนอนบันไดตรงกลางเป็นแบบ แม่บันไดเดี่ยวหรือคู่ บางครั้งมีการออกแบบขั้นบันไดยื่นออกมาโดยไม่มีโครงสร้างรับที่ปลายขั้นบันไดอีกด้านหนึ่ง บันไดในอาคารต่าง ๆ ยังคงมีการทำผิวสำเร็จ ( floor finishes) ที่แตกต่างกันไปตามประเภทของอาคาร และ งบประมาณของเจ้าของอาคาร  การเลือกใช้วัสดุอาจแบ่งข้อพิจารณาได้ดังนี้ ผิวคอนกรีต เหมาะกับบันไดที่ใช้งานไม่บ่อยครั้ง เช่น บันไดหนีไฟ เนื่องจากมีราคาค่าก่อสร้างน้อยที่สุด การก่อสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด พื้นปูไม้ เหมาะกับอาคารที่มีการสัญจรภายในน้อย เช่น บ้านพักอาศัย การเดินขณะใส่รองเท้าจะสร้างเสียงรบกวนค่อนข้างมาก วัสดุชนิดนี้จึงอาจจะไม่เหมาะกับอาคารสาธารณะ พื้นปูด้วยหิน  เหมาะกับอาคารทั่วไปที่มีการสัญจรมาก การทำจมูกบันไดมักใช้วิธีการเซาะร่องและมักเป็นจุดอ่อนที่ทำให้พื้นบริเวณจมูกบันไดแตกหักเสียหาย กรณีพื้นเปียกน้ำอาจทำให้เกิดการลื่นหกล้มได้ พื้นปูด้วยกระเบื้องยาง เหมาะกับอาคารทั่วไป เสียงรบกวนจากการเดินขณะใส่รองเท้ามีบ้าง ไม่ทนทานต่อการถูกน้ำแช่ขัง ทำความสะอาดง่าย จมูกบันไดที่ใช้มีให้เลือกหลายแบบ ทั้งที่ทำจากอลูมิเนียม พีวีซี รวมไปถึงอลูมิเนียมติดแถบกันลื่น พื้นปูด้วยกรวดล้าง เหมาะกับบันไดที่อยู่ภายนอกอาคาร …

Continue Reading

Staircases II

วันนี้เรามาดูในส่วนของบันได้ไม้ครับ บันไดที่สร้างด้วยไม้ มักเป็นบันไดที่ใช้กับบ้านพักอาศัยเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผิวสัมผัสกับไม้ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติและไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของวัสดุมาก โดยทั่วไปจะประกอบด้วย แม่บันได ขั้นบันได ราวกันตก และ มือจับ การสร้างมักทำให้สอดคล้องกับขนาดไม้ที่มีขายในท้องตลาดจึงทำให้บันไดจะต้องมีจุดต่อของแม่บันไดตรงกลางซึ่งเป็นชานพัก  และเนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่สามารถผุกร่อนได้เมื่อพบกับความชื้น จึงต้องมีการใช้วัสดุอื่นเช่น คอนกรีตในส่วนของฐานรองรับแม่บันได เมื่อแม่บันไดนั้นต้องมาบรรจบกับส่วนที่เป็นน้ำหรือดิน บันไดไม้มีข้อพิจารณาที่สำคัญในการออกแบบดังนี้ 1. ขนาดบันได ขนาดไม้บันไดที่เป็นไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดมีขนาดดังนี้ กว้าง 150 มม หนา 25 มม ยาว 1200, 1500, 1800, 2000 มม กว้าง 200 มม หนา 25 มม ยาว 1200, 1500, 1800, 2000 มม กว้าง 250 มม หนา 35, 50 มม ยาว 1200, 1500, 1800, 2000 มม กว้าง 300 มม หนา …

Continue Reading

Staircases I

วันนี้เรามาดูอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของอาคารครับ บันไดถือ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเกือบทุกอาคารที่จะต้องมี  บันไดถือได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่ง สามารถใช้วัสดุก่อสร้างได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบันไดไม้ ที่มีรูปแบบการก่อสร้างชิ้นงานโดยเฉพาะ บันไดคอนกรีตที่มากับรูปแบบอาคารสาธารณะทั่วไป บันไดเหล็กที่เกิดมาพร้อมกับอาคารที่นิยมใช้โครงสร้างเหล็กเพื่อความรวดเร็ว รวมไปถึงกระจกถือเป็นอีกวัสดุหนึ่งที่มีการนำมาใช้กับพื้นและราวกันตกบันได บางครั้งคนทั่วไปอาจจะเรียกชื่อองค์ประกอบของบันไดต่างกัน แต่ในทางปฎิบัติของผู้ออกแบบจะมีการเรียกองค์ประกอบของบันไดกันดังนี้ ลูกนอน (Tread) ลูกตั้ง (Riser) จมูกบันได (Nosing) แม่บันได (Stinger) ลูกกรง (Baluster) ราวบันได (Stair railing) เมื่อพูดถึงรูปแบบของบันได บันไดนั้นมีหลายรูปแบบให้เลือกออกแบบตามความต้องการของอาคารและขนาดของพื้นที่บันไดที่จะใช้  รุปแบบบันไดพื้นฐานสำหรับอาคารทั่วไปอาจแบ่งออกได้ดังนี้ บันไดตรง (Straight staircase) เป็นบันไดช่วงเดียวจากพื้นชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง รูปแบบบันไดชนิดนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบมาก อันเนื่องมาจากข้อกำหนดของกฎหมายอาคารระยะความสูงระหว่างอาคารรวมไปถึงความยาวของช่วงบันไดที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานด้วย บันไดโค้ง (Winder staircase) เป็นบันไดช่วงเดียวทำมุมฉากกันระหว่างช่วงบันไดตอนล่างและตอนบน รูปแบบบันไดชนิดนี้มีการใช้มากในอาคารขนาดเล็กที่ต้องการพื้นที่บันไดน้อย บางอาคารมีการทำจำนวนขั้นบันไดช่วงล่างน้อยกว่าช่องบน เพื่อป้องกันไม่ให้ศรีษะของผู้เดินชนฝ้าเพดาน บันไดชานพักกลาง (Half landing staircase) เป็นบันไดสองช่วง ส่วนใหญ่ช่วงของบันไดจะขนานกัน เป็นบันไดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป อันเนื่องมาจากข้อบังคับด้านกฎหมายอาคารที่จะจำกัดความสูงของบันไดแต่ละช่วงเอาไว้ รวมไปถึงข้อจำกัดของความยาวไม่ที่นำมาทำแม่บันได บันไดโค้งชานพักกลาง (Quarter landing staircase) เป็นบันไดสองช่วง ที่มีชานพักสูงไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ออกแบบได้กำหนดให้มีห้องใช้สอยใต้บันได เช่น ห้องน้ำ ห้องเก็บของ …

Continue Reading

Wooden Doors Part III

วันนี้คงเป็นตอนจบของประตูบานไม้แล้วครับ จากประสบการณ์ที่ได้พบมาในการใช้รูปแบบของบานประตู รวมไปถึงอุปกรณ์ประกอบ พอจะนำมาเป็นข้อแนะนำให้การเลือกใช้ประตูบานไม้และอุปกรณ์ได้ดังนี้ครับ ประตูบานภายนอกทั้งหมดควรเป็นประตูไม้จริง เช่น ไม้สัก ไม้เนื้อแข็ง กรณีต้องการบานประตูทาสีควรใช้ไม้เนื้อแข็ง ถ้าใช้ไม้สักควรโชว์ลายไม้ กรณีใช้กระจกเป็นกรุบาน ควรพิจารณาถึงความปลอดภัยจากการถูกทุบกระจกแล้วเปิดเข้าบ้านได้ อาจมีการติดกลอนประตูเสริมเพื่อเพิ่มความปลอดภัย บานประตูภายนอกอาคารควรมีบังใบที่ธรณีประตูเพื่อป้องกันแมลงและน้ำฝนไหลเข้าสู่ภายในบ้าน ถ้าไม่สามารถทำบังใบได้ ควรใส่ ซีลประตูอัตโนมัติ (Drop seal) แทน 3.บานประตูไม่ควรติดใกล้ช่องแสงหรือหน้าต่างในระยะที่มือเอื้อมถึง เพื่อป้องกันความปลอดภัย 4.บานประตูห้องน้ำที่ติดกับห้องที่มีการปรับอากาศ ไม่ควรใช้กรุบานที่เป็นเกล็ดไม้ เพราะปริมาตรห้องน้ำจะกลายเป็นพื้นที่ปรับอากาศด้วย 5.บานประตูห้องเก็บของควรเปิดออก เพื่อป้องกันปัญหาของที่เก็บภายในห้องตกลงมาขวางประตูแล้วเปิดเข้าห้องเก็บของไม่ได้ กรุบานควรมีช่องระบายอากาศ 6.ลูกบิดบานประตูมีหลายชนิดควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับแต่ละห้องที่มีการใช้งานต่างกัน โดยเฉพาะห้องน้ำที่มีผู้สูงอายุใช้งาน ควรใช้แบบที่ไขเปิดประตูจากภายนอกด้วยเหรียญหรือไขควง 7.ประตูบานเปิดสองทางไม่ควรใช้ลูกบิดประตู ควรใช้มือจับและกุญแจล๊อค (dead bolt) แทน เพื่อป้องกันปัญหาปิดประตูแล้วกลอนกระแทกกับบานประตูอีกด้านหนึ่ง 8. ประตูบานเปิดคู่ จะต้องมีกลอนเพื่อล๊อคประตูด้านที่ไม่มีมือจับล๊อคบานประตู ถ้าเลือกใช้ชนิดฝังที่กรอบบาน ควรตรวจสอบขนาดให้เหมาะสมกับความหนาของบาน 9.ขอค้ำประตู (Security door guard) ที่ติดเพิ่มเมื่อเปิดควรพับไปให้แนบผนัง บ่อยครั้งที่ขอค้ำประตุขยับตัวแล้วล๊อคห้องทำให้เข้าห้องไม่ได้ ช่างหลายคนชอบติดขอค้ำประตูเอียงเล็กน้อยเพื่อให้ช่วยล๊อคประตูได้โดยง่ายแต่มีโอกาสเกิดปัญหาล๊อคห้องโดยไม่ตั้งใจ 10. กันชนบานประตูมีสองชนิด ติดพื้นและติดผนัง ควรพิจารณาจุดติดตั้งที่ไม่กีดขวางทางเดิน บานประตูที่ติดโช๊คอัพ จะไม่ติดกันชนบานประตู 11.ประตูบานเลื่อนควรมีช่องสำหรับปรับตั้งลูกล้อและรางบานเลื่อน 12. กุญแจลูกบิดต่าง ๆ ต้องติดตั้งให้ร่องเสียบอยู่ด้านล่างเสมอ 13.กรณีใช้วงกบอลูมิเนียม …

Continue Reading

Wooden Doors Part II

วันนี้เรามาดูรายละเอียดของประตูบานไม้กันต่อครับ  เป็นสิ่งที่เราจับต้องกันอยู่ทุกวัน แต่บางครั้งเราอาจเลือกใช้หรือติดไม่เหมาะสมก็ได้ครับ มือจับล๊อคบานประตู สามารถเลือกใช้ได้หลายแบบ มีทั้งแบบที่เป็นลูกบิด แบบที่เป็นมือจับและกลอน แบบที่เป็นลูกบิดล๊อคเสริม (dead bolt) วิธีเลือก กรณีเป็นประตูบานหน้าบ้าน ควรติดแบบที่เป็นมือจับและกลอน ส่วนแบบลูกบิดก็สามารถใช้ได้แต่ควรติดลูกบิดล๊อคเสริมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยเนื่องจากลูกบิดสามารถงัดทำลายได้ไม่ยาก กรณีที่ใช้ประตูบานคู่ การติดมือจับล๊อคบานประตูจะต้องจัดหาก่อนสั่งซื้อบานประตูและดูที่ส่วนของกลอนประตู ว่าเหมาะสมกับชนิดของบานประตูที่มีการบังใบหรือไม่ สำหรับประตูบานเปิดเดี่ยวภายในอาคาร ลูกบิดประตูหนึ่งชุดก็เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป                                                 มือจับล๊อคบานประตูสำหรับประตูบานหน้าบ้าน ลูกบิดของประตูจะมีลักษณะการทำงานหลายแบบ แบ่งเป็นแบบสำหรับห้องทั่วไปจะเปิดเข้าด้วยการไขกุญแจ ด้านในเป็นแบบกดปุ่มล๊อค ห้องเก็บของจะเปิดเข้าด้วยการไขกุญแจและล๊อคตัวเองทุกครั้งเมื่อปิดประตู ห้องน้ำจะเป็นแบบไม่มีกุญแจ เปิดเข้าได้ด้วยการใช้เหรียญหรือไขควงไขเปิด ด้านในเป็นแบบกดปุ่มล๊อค   บานพับประตู กรณีใช้ประตูไม้เนื้อแข็งหรือไม้สักที่มีน้ำหนักบานประตูมาก ควรใช้บานพับแบบแหวนลูกปืนเพื่อการใช้งานที่ทนทานมากกว่าแบบแหวนสแตนเลสและแหวนไนล่อน ส่วนของบานประตูไม้อัดสามารถเลือกใช้บานพับแบบแหวนสแตนเลสได้ ส่วนประตูบานเลื่อนจะใช้รางและลูกล้อบานเลื่อนชนิดแขวนด้านบน 2 ชุด ต่อบานเลื่อน …

Continue Reading

Wooden Doors Part I

หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับประตูบานไม้เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทุกบ้านจะต้องมี แต่เชื่อหรือไม่ว่าในประตูไม้บานหนึ่งมีองค์ประกอบมากมาย จนทำให้บางครั้งเราเรียกชื่อไม่ถูก คุยกับช่างไม่เข้าใจ หรือซื้ออุปกรณ์มาติดโดยไม่สอดคล้องกัน การติดตั้งก็มีแง่มุมที่ต่างกันตามประโยชน์ใช้สอยของแต่ละที่ วันนี้เราจะไปดูกันในรายละเอียดของเรื่องบานประตูที่ใช้วัสดุที่เป็นไม้ ประตูบานไม้โดยทั่วไปมักจะถูกนำมาใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป วัสดุที่ใช้ทำบานประตูมีทั้งที่ใช้ไม้สัก ที่ถือว่าเป็นไม้เนื้อปานกลาง และใช้ไม้เนื้อแข็ง นอกจากนี้ยังมีการผลิตบานประตูไม้เทียมขึ้นมาอีกเพื่อสำหรับใช้ในโครงการที่มีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการใช้บานประตูไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งซึ่งเหมาะกับงานภายในบ้าน ส่วนประตูบานไม้อัดก็เป็นบานประตูที่ใช้กันโดยทั่วไป บานประตูที่เลือกใช้ ควรกำหนดขนาดให้ได้ความกว้างความสูงตามที่ใช้งานจริงและมีขนาดสอดคล้องกับการผลิตและขายในท้องตลาดเพื่อความประหยัดและรวดเร็ว  องค์ประกอบของประตูบานไม้แต่ละชุดพอจะแบ่งออกได้ดังนี้ วงกบประตู ส่วนใหญ่จะใช้เป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ก็มีการใช้วงกบอลูมิเนียมบ้างในอาคารสำนักงาน กรอบบานประตู จะเป็นไม้แผ่นหนาประมาณ 3.5 ซม ประกอบกันขึ้นเป็นกรอบบานประตู มีไว้เป็นส่วนที่ใส่มือจับล๊อคบานประตูและบานพับ บานประตูที่เป็นไม้อัดก็นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับภายในอาคาร มีให้เลือกทั้งแบบไม้อัดสักเพื่อการโชว์ลายไม้ที่สวยงาม หรือไม้อัดยางสำหรับประตูที่ต้องการใช้สีสันต่าง ๆ กรุบานประตู มีการผลิตหลายแบบ เช่น บานประตูที่ใช้ไม้สัก ไม้เนื้อแข็ง เกล็ดไม้หรือกระจก มือจับหรืออุปกรณ์ล๊อคบานประตู บานพับประตู มีให้เลือกใช้หลายแบบที่เหมาะกับขนาดและน้ำหนักของบานประตู อุปกรณ์ปิดประตูอัตโนมัติ (door closer) มี 3 รูปแบบ ที่จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของการเปิด ปิดประตู, กันกระแทกประตู และกลอนประตู  วงกบประตู การติดตั้งวงกบประตูโดยทั่วไปจะทำการตั้งวงกบและหล่อเสาเอ็นคอนกรีตไปพร้อมกัน บางครั้งอาจติดตั้งวงกบกับเสาเอ็นคอนกรีตภายหลังด้วยพุกไม้หรือสกรูขนาดใหญ่ หลังจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ครั้งที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่า การติดตั้งวบกบลงบนพื้นโครงสร้างของบ้าน จะต้องคิดให้พอดีหรือจมลงไปในพื้นเล็กน้อย เพือป้องกันไม่ให้ความชื้นจากใต้ดินหรือน้ำซึมกลับเข้ามาทางปลายของวงกบ อันเป็นสาเหตุให้วงกบผุเสียหาย หรือเป็นเส้นทางให้ปลวกจากใต้ดินขึ้นมาภายในบ้าน  ขนาดของวงกบทั่วไปจะใช้ขนาด 5 …

Continue Reading