The science of stairs! สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับบันได
วันนี้เรามาดูอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของอาคารครับ บันไดถือ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเกือบทุกอาคารที่จะต้องมี บันไดถือได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่ง สามารถใช้วัสดุก่อสร้างได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบันไดไม้ ที่มีรูปแบบการก่อสร้างชิ้นงานโดยเฉพาะ บันไดคอนกรีตที่มากับรูปแบบอาคารสาธารณะทั่วไป บันไดเหล็กที่เกิดมาพร้อมกับอาคารที่นิยมใช้โครงสร้างเหล็กเพื่อความรวดเร็ว รวมไปถึงกระจกถือเป็นอีกวัสดุหนึ่งที่มีการนำมาใช้กับพื้นและราวกันตกบันได บางครั้งคนทั่วไปอาจจะเรียกชื่อองค์ประกอบของบันไดต่างกัน แต่ในทางปฎิบัติของผู้ออกแบบจะมีการเรียกองค์ประกอบของบันไดกันดังนี้ ลูกนอน (Tread) ลูกตั้ง (Riser) จมูกบันได (Nosing) แม่บันได (Stinger) ลูกกรง (Baluster) ราวบันได (Stair railing) เมื่อพูดถึงรูปแบบของบันได บันไดนั้นมีหลายรูปแบบให้เลือกออกแบบตามความต้องการของอาคารและขนาดของพื้นที่บันไดที่จะใช้ รุปแบบบันไดพื้นฐานสำหรับอาคารทั่วไปอาจแบ่งออกได้ดังนี้ บันไดตรง (Straight staircase) เป็นบันไดช่วงเดียวจากพื้นชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง รูปแบบบันไดชนิดนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบมาก อันเนื่องมาจากข้อกำหนดของกฎหมายอาคารระยะความสูงระหว่างอาคารรวมไปถึงความยาวของช่วงบันไดที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานด้วย บันไดโค้ง (Winder staircase) เป็นบันไดช่วงเดียวทำมุมฉากกันระหว่างช่วงบันไดตอนล่างและตอนบน รูปแบบบันไดชนิดนี้มีการใช้มากในอาคารขนาดเล็กที่ต้องการพื้นที่บันไดน้อย บางอาคารมีการทำจำนวนขั้นบันไดช่วงล่างน้อยกว่าช่องบน เพื่อป้องกันไม่ให้ศรีษะของผู้เดินชนฝ้าเพดาน บันไดชานพักกลาง (Half landing staircase) เป็นบันไดสองช่วง ส่วนใหญ่ช่วงของบันไดจะขนานกัน เป็นบันไดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป อันเนื่องมาจากข้อบังคับด้านกฎหมายอาคารที่จะจำกัดความสูงของบันไดแต่ละช่วงเอาไว้ รวมไปถึงข้อจำกัดของความยาวไม่ที่นำมาทำแม่บันได บันไดโค้งชานพักกลาง (Quarter landing staircase) เป็นบันไดสองช่วง ที่มีชานพักสูงไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ออกแบบได้กำหนดให้มีห้องใช้สอยใต้บันได เช่น ห้องน้ำ ห้องเก็บของ …
Continue Reading
การออกแบบบันไดหนีไฟ
บันไดหนีไฟ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ที่มีกฎหมายอาคารออกข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผู้ออกแบบยึดเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สอยอาคาร กฎหมายอาคารที่ควบคุมรายละเอียดของบันไดหนีไฟ รวมถึงมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบันไดหนีไฟ มีดังต่อไปนี้ กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง) กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (ใช้สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2544 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531 กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ใช้ควบคุมอาคารในส่วนของบันไดหนีไฟ และเนื่องจากการที่มีการออกกฎหมายออกมาหลายฉบับนี่เอง จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และยึดโยงในส่วนข้อกำหนดของกฎหมาย หากจะแบ่งขนาดของอาคารเพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบ อาจแบ่งการออกแบบบันไดหนีไฟ ออกเป็นสองประเภทตามกฎหมายควบคุมอาคารดังนี้ บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร บันไดหนีไฟสำหรับอาคาร องค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับบันไดหนีไฟ เพื่อให้อาคารถูกต้องและเกิดความปลอดภัย สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร รองรับความต้องการของผู้พิการ อาจกำหนดได้ดังนี้ บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร ผนังทึบ ทนไฟ ประตูบันไดหนีไฟขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 850 มม สูง …
Continue Reading
Roof, Balcony, and Roof Gutter
ระยะสัปดาห์หนึ่งที่ผ่านมานี้ ดูเหมือนว่าจะมีฝนตกช่วงเย็นและช่วงดึกอยู่แทบทุกวัน จนทำให้หลายสถานที่มีน้ำท่วมอันเกิดมาจากฝนตกลงมาอย่างหนัก และในเวลาเดียวกันคงมีบ้านของหลาย ๆ ท่านเกิดน้ำท่วมขังชั่วคราวไปจนถึงเกิดน้ำซึมตามหลังคาดาดฟ้า หรือเกิดการรั่วซึมของน้ำตามบริเวณที่เป็นหลังคา การรั่วซึมของน้ำฝนยังคงเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีการต่อเติมอาคาร ไปจนถึงบริเวณที่อาคารมีการแบ่งแยกโครงสร้างที่เป็นผืนขนาดใหญ่ จากที่กล่าวมาข้างต้น อาคารโครงการขนาดใหญ่ มักจะมีช่างที่ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงหรือซ่อมแซมประจำอาคารไว้คอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่บ้านพักอาศัยส่วนใหญ่มักจะไม่มีช่างประจำหมู่บ้าน ซึ่งคงต้องฝากความหวังเอาไว้กับผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านและผู้ออกแบบที่จะออกแบบให้ดีและมีการสร้างอาคารด้วยฝีมือของช่างอาชีพ การออกแบบที่ดีจึงควรมีการกำหนดระบบกันซึมของหลังคาไว้อย่างเหมาะสม หลังคาคอนกรีตที่อยู่ภายนอกอาคารต้องการการทำระบบกันซึมเพื่อป้องกันน้ำซึมจากผิวหน้าด้านบนเข้าไปที่เนื้อคอนกรีตและเหล็กเสริมภายใน อันเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมที่เหล็กเสริมในคอนกรีต หลังคากระเบื้องก็ต้องมีการปูโดยดูจากทิศทางของลมและมีการทำหลังคาปีกนกที่ถูกต้องเพื่อช่วยลดปัญหาของการเกิดน้ำไหลย้อน รั่ว ซึม ของหลังคาลงสู่พื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน จากที่กล่าวมา เจ้าของบ้านควรดูให้ดีและให้มีการออกแบบที่ป้องกันปัญหาของน้ำรั่วซึม ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี การปูกระเบื้องหลังคา 1. หลังคากระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องลอนคู่ ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบให้มีตะเฆ่ราง (รางน้ำ) อยู่เหนือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน 2. หลังคาคอนกรีตหรือดาดฟ้า ควรทำระบบกันซึมและมีการลาดเอียงพื้นหลังคาลงสู่ รูระบายน้ำที่พื้น เพื่อหลีกเลี่ยงการขังตัวของน้ำ รูระบายน้ำฝนต้องมีการการป้องกันเศษขยะหรือวัสดุที่มาปิดบังได้ กรณีมีการก่อผนังกันตก จะต้องมีการทำรูระบายน้ำล้น (overflow) เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง 3. ระเบียงของห้องนอนที่มีการใช้พื้นไม้ ควรออกแบบให้มีรูระบายน้ำล้นเสริมด้วยเสมอเพื่อป้องกับน้ำท่วมขังจนเข้าท่วมห้องนอนได้ ผนังหรือราวกันตกที่เป็นแบบทึบ ไม่ควรสร้างสูงเกินกว่าระดับของพื้นไม้ ควรให้ขอบผนังต่ำกว่าระดับพื้นห้องที่เป็นไม้ไม้น้อยกว่า 50 มม เสมอ 4. ถ้ามีหลังคาเหนือระเบียงห้องนอน ควรให้แน่ใจว่าไม่มีน้ำฝนไหลจากชายหลังคาลงสู่พื้นของระเบียงห้องนอนหรือผนัง น้ำฝนเหล่านี้นอกจากสามารถสร้างความสกปรกให้กับผนังแล้วยังสร้างการรั่วซึมของน้ำผ่านผนังและการรั่วซึมจากน้ำท่วมขังได้ ระเบียงที่มีน้ำฝนตกลงมาจากชายคาราวกันตกผนังกระจกที่สามารถกักเก็บน้ำฝนได้
Continue Reading
How to Design Car Parking for Low-Rise Buildings
ผมเป็นคนหนึ่งที่ต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไปเที่ยวพักผ่อนหรือไปดูสถานที่ก่อสร้างครับ หลายครั้งที่ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ก็มักจะมองหาร้านอาหารอร่อย ๆ ทาน บางครั้งก็จอดในลานจอดรถ บางครั้งก็จอดข้างถนน บางครั้งก็จอดในอาคารจอดรถยนต์ บ่อยครั้งที่หาที่จอดรถไม่ได้ วันนี้จึงอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกันที่จอดรถยนต์ของอาคารขนาดเล็กครับ บ้านเรายังมี อพาร์ทเมนท์ ร้านอาหาร super market หรือร้านกาแฟ ขนาดเล็กกระจายอยู่ตามซอยหรือถนนทั่วไป อาคารหลายแห่งก็ได้มีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เอาไว้บริการลูกค้าไว้หลายแบบ ที่พอจะแบ่งรูปแบบได้ดังนี้ 1. จอดรถด้านหน้าอาคาร สำหรับอาคารขนาดเล็ก ไม่มีพื้นที่โครงการใหญ่มากและมีที่ดินหน้ากว้างติดถนน การจอดรถแบบเฉียงไปตามแนวถนนดูจะเป็นสิ่งที่น่าจะจัดทำ เพราะใช้พื้นที่ในการจอดรถยนต์น้อย สามารถใช้พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ว่างด้านหน้าอาคาร และไม่นับเป็นพื้นที่อาคารอีกด้วย แต่การจอดรถแบบนี้อาจสร้างปัญหาให้กับการจราจรได้โดยง่าย ทุกครั้งที่มีการเข้าจอดหรือออกจากที่จอดรถ จะมีการชะลอตัวของการจราจร บางครั้งสามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย 2. จัดที่จอดรถและทางวิ่งบนที่ว่างของโครงการและสร้างอาคารไว้ด้านหนึ่งหรือโดยรอบ วิธีนี้เหมาะกับโครงการขนาดไม่ใหญ่มาก การจัดที่จอดรถแบบนี้จะได้พื้นที่จอดรถที่มีราคาค่าก่อสร้างต่ำ ไม่ต้องนำพื้นที่นี้มาคิดเป็นพื้นที่อาคาร ทำให้จัดที่จอดรถชิดเขตที่ดินได้ สำหรับโครงการที่ติดปัญหาเรื่องขนาดพื้นที่อาคารและการออกแบบอาคารที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก็สามารถใช้แนวทางนี้ได้ 3. จัดที่จอดรถยนต์ใต้อาคาร การจัดที่จอดรถยนต์แบบนี้ได้ประโยชน์ต่อผู้จอดที่มีร่มเงาอาคารและที่กันฝน เหมาะสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถจัดที่จอดรถยนต์ตามความต้องการไว้บนพื้นที่ชั้นเดียว การออกแบบเมื่อมีที่จอดรถยนต์เกิน 7 คัน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอาคารในเรื่องระยะร่น และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากกว่า 4. จัดที่จอดรถยนต์นอกอาคารและจัดสร้างหลังคาคลุม รูปแบบที่จอดรถแบบนี้มีเห็นได้ทั่วไป หลังคามีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างแบบถาวรที่เป็นเหล็ก กระเบื้อง ไปจนถึงหลังคาแบบกึ่งถาวรที่ใช้ตาข่ายพลาสติกมาทำหลังคา …
Continue Reading
Locker Room Flooring
ระยะหลังได้มีโอกาสไปใช้สปอร์ตคลับบ่อยครั้งครับ เลยพบเจอพื้นห้องที่มีการสร้างระดับพื้นไว้แตกต่างกัน บางจุดเกิดจากความตั้งใจ บางจุดเกิดจากการออกแบบแล้วมีปัญหาจึงมาแก้ปัญหาภายหลัง บางจุดเกิดด้วยความบังเอิญ ตามการออกแบบ เรามักออกแบบให้พื้นห้องน้ำมีการลดระดับพื้นเพื่อให้สามารถล้างพื้นได้โดยน้ำไม่ไหลออกมาภายนอก แต่ในบางจุดที่ต้องการสำหรับเป็นพื้นที่ของห้องเปลี่ยนชุด จะมีการออกแบบเสมือนหนึ่งเป็นส่วนแห้ง ที่จะใช้เป็นที่วางตู้เก็บเสื้อผ้า เก้าอี้นั่ง บริเวณเปลี่ยนชุด ถ้าจะกล่าวโดยรวมเราอาจจะแบ่งพื้นที่ภายในห้องล๊อคเกอร์ออกได้ดังนี้ 1. พื้นที่บริเวณเปลี่ยนชุด ส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วย บริเวณเปลี่ยนชุด ที่นั่ง บริเวณที่แต่งตัว พื้นที่ส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นพื้นที่แห้งที่ผู้มาใช้จะนั่งเปลี่ยนชุด แต่งตัว ก่อนและหลังเข้าใช้สปอร์ตคลับ แต่เนื่องจากผู้ใช้อาจจะอาบน้ำทำให้เท้าเปียก สามารถเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้จึงทำให้มีบางโครงการเลือกใช้ กระเบื้องยาง (vinyl tile) บางแห่งมีการปูกระเบื้องผิวหยาบกันลื่นเพื่อช่วยลดปัญหาและอุบัติเหตุ รูปซ้ายมือมีการเน้นสีตรงพื้นต่างระดับในขณะที่รูปขวามือจุดทางเข้าห้องส้วมมีการยกขอบพื้นขึ้นมาและลดระดับพื้นลงไปอีก จะเห็นได้ว่าไม่มีความจำเป็นที่จะยกขอบพื้นตรงทางเข้าห้องส้วม 2. พื้นที่ห้องส้วม โถปัสสาวะ และอ่างล้างหน้า ส่วนของพื้นที่นี้มีแนวคิดได้ 2 แบบ คือใช้ห้องส้วมและอ่างล้างหน้าเฉพาะผู้ที่มาใช้ห้องล๊อคเกอร์ หรือ ออกแบบให้สามารถใช้ร่วมกันระหว่างผู้มาใช้ห้องล๊อคเกอร์และบุคคลภายนอกทั่วไป เมื่อถูกนำมาใช้งานจริงร่วมกันกับบุคคลภายนอกอาจเกิดปัญหาความไม่เรียบร้อยจากการแต่งตัว และการที่ไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ห้องส้วมร่วมกัน ควรออกแบบให้แยกตำแหน่งแต่อยู่ในบริเวณใกล้กันแทน นอกจากนี้การออกแบบควรออกแบบให้วัสดุปูพื้นเป็นแบบไม่ลื่นและสามารถรองรับการทำความสะอาดด้วยการฉีดน้ำ ไล่สิ่งสกปรกได้ง่าย 3. พื้นที่ส่วนห้องอาบน้ำ ส่วนใหญ่มักจะมีการลดระดับพื้นภายในห้องอาบน้ำให้เป็นส่วนแห้งและส่วนเปียก บางที่มีการยกขอบพื้นขึ้นมา บางที่ยกพื้นแล้วแบ่งเป็นส่วนแห้งแยกระดับพื้นออกจากส่วนที่อาบน้ำ ตามรูปซ้ายมือจะเห็นได้ว่าเป็นการทำพื้นของห้องอาบน้ำยกขอบขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำไหลออกมาบริเวณทางเดินในขณะที่รูปขวามือมีการทำพื้นที่แห้งยกสูงขึ้นและลดระดับพื้นด้านในให้เป็นที่อาบน้ำโดยมีผ้าม่านเป็นตัวแบ่งแยกพื้นที่ ซึ่งได้ผลค่อนข้างดีในการป้องกันน้ำไหลออกมา กล่าวโดยสรุป การออกแบบพื้นห้องล๊อคเกอร์ควรทำให้มีพื้นต่างระดับน้อยที่สุดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่น กรณีมีการเปลี่ยนชนิดของวัสดุพื้นผิวจากผิวหยาบมาเป็นผิวเรียบ ควรมีจุที่ติดพรมเช็ดเท้าเพื่อให้เท้าแห้ง ไม่เกิดการลื่น พื้นของห้องอาบน้ำ อาจทำพื้นส่วนแห้งเท่ากับพื้นภายนอกแล้วค่อยลดระดับพื้นภายในส่วนที่อาบน้ำ เพื่อให้สามารถล้างพื้นห้องน้ำแล้วไล่น้ำลงไปยัง …
Continue Reading
Footpaths becoming markets
-
Tarkoon Suwansukhum
-
August 2, 2013
-
Wellness
-
Bangkok, City planning, Code, FENN DESIGNERS, Footpaths, Ponder, Safety, Tarkoon Suwansukhum, urban planning, Wellness
-
0 Comments
วันนี้ยังคงอยู่ตามท้องถนนครับ ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ มีการกำหนดให้เป็นเขตห้ามจอดรถยนต์ เวลาเราขับรถผ่านร้านอาหารอร่อย ๆ เลยทำให้พลาดโอกาสแวะชิมรสชาด บางซอยจอดรถแล้วโดนตำรวจจราจรมาล๊อคล้อก็อาจจะทำให้อาหารลดความอร่อยลงไปได้ ทางเท้าในปัจจุบัน จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นทางเดินใต้ชายคาหน้าตึกแถว ตามกรรมสิทธ์แล้วเป็นของตึกแถวแต่จากสภาพการใช้งานจริงก็ได้กลายเป็นทางสาธารณะไปแล้วบางพื้นที่ทางร้านค้าเจ้าของตึกแถวก็มีการนำของออกมาตั้งขายทำให้พื้นที่ทางเท้าลดลง อย่างไรก็ดี ในบางพื้นที่ทางราชการกลับมาการทำพื้นที่ทางเท้ามาทำที่ขายของ บางที่เป็นแค่การตีเส้นกำหนดแนวขายของ บางที่มีการทำหลังคาขนาดใหญ่คลุม กลายเป็นอาคารบนทางเท้าขายของกันอย่างถาวร สิ่งก่อสร้างนี้เกิดขึ้นที่ทางเท้าหน้าตลาดคลองเตย ตลาดสดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ได้มีการสร้างและใช้งานไปนานแล้วและในปัจจุบันกำลังมีการขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยสร้างบนทางเท้าอีกเช่นเคย ถ้าท่านทั้งหลายได้มีโอกาสขับรถบนถนนพระราม 4 จะทราบดีว่าถนนที่ขับมาจากแยกเกษมราษฎร์ที่มี 4 ช่องทางจราจร จะมารวมกับจุดสิ้นสุดของถนนทางรถไฟเก่าที่มี 2 ช่องจราจร แล้วถูกลดขนาดถนนเหลือ 3 ช่องจราจรบริเวณตลาดสดคลองเตยที่มีการจราจรคับคั่ง แต่ความจริงแล้วยังคงมีการเสียผิวทางจราจรอีกหนึ่งช่องทางด้านซ้ายไปกับที่จอดรถสามล้อเครื่อง ป้ายรถประจำทาง หรือจากรถยนต์ที่มีการจอดซื้อสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสภาพการจราจรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงคือ ตำแหน่งและพื้นที่จอดรถยนต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ที่จอดรถก็ยังคงจำเป็นสำหรับประชาชนที่ใช้บริการในจุดนั้น ๆ รวมไปถึงเส้นทางของการลำเลียงสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจะนำพื้นที่ทางเท้ากลับไปเป็นพื้นที่ใช้สอยจึงควรมีการพิจารณาเป็นพิเศษรวมไปถึงการจัดเตรียมพื้นที่จอดรถยนต์ไว้อย่างพอเพียง อาจจะต้องมีการซื้อตึกแถวบางส่วนในบริเวณดังกล่าวหรือบริหารพื้นที่โล่งด้วยวิธีการพบกันครึ่งทางระหว่างพื้นที่ขายของบนทางเท้ากับที่จอดรถ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
Continue Reading
Roads and Manholes
ทุกครั้งที่ขับรถเข้าหรือออกจากซอยตอนมาทำงานและกลับบ้าน ก็นึกในใจทุกครั้งว่า ทำไมทางราชการต้องทำถนนโดยให้มีท่อระบายน้ำและบรรดาฝาต่าง ๆ ของระบบสาธารณูปโภคมาอยู่ในผิวทางจราจรด้วย ทำไมไม่ทำถนนลาดยางให้เรียบเหมือนกับทางเดินในอาคารบ้าง ผมพยายามเข้าใจครับกับถนนซอยบางเส้นที่มีการขยายเส้นทางให้มีขนาดกว้างขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดก็ต้องนำบ่อพักท่อระบายน้ำมาอยู่ร่วมกับถนน เลยเกิดแนวความคิดว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างฝาบ่อพักต่าง ๆ ให้อยู่ในระนาบเดียวกับถนนหรือมีความต่างระดับกันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนได้มีโอกาสได้เห็นการทำงานปรับปรุงผิวทางจราจาตามซอยต่าง ๆ แถวบ้าน โดยหลักการทั่วไปจะเป็นการเสริมฝาบ่อพัก จากนั้นจะเสริมผิวจราจรด้วยยางมะตอยและใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการบดอัดผิวให้เรียบ เท่าที่ดูการทำงานของคนงานพบว่า เมื่อทำการปรับระดับฝาบ่อพัก จะมีการยกฝาบ่อพักเดิมทิ้งไป และสกัดคอนกรีตของเดิมเพื่อก่อสร้างขอบบ่อพักใหม่ แต่ไม่พบว่ามีการถ่ายระดับของถนนมาเป็นระยะอ้างอิงของขอบบ่อพักใหม่ ตรงจุดนี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้ฝาบ่อพักไม่ได้ระดับกับผิวจราจร รวมไปถึงการระบายน้ำไม่หมดไปจากผิวจราจร ถ้าดูจากรูปฝาบ่อระบายน้ำจะเห็นได้ว่า จะมีส่วนของฝาบ่อพักและตัวบ่อพัก และจบด้วยผิวถนนยางมะตอย เนื่องจากเป็นการทำงาน 3 ครั้งจึงมีโอกาสมากที่จะได้ระดับต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการที่ไม่มีแบบขยายการทำขอบบ่ออย่างถูกต้อง จึงได้ผลลัพธ์ของการก่อสร้างแบบที่เห็น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการประสานงานกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น เช่น องค์การโทรศัพท์ในการยกระดับฝาบ่อพัก จนท้ายที่สุดเราก็ได้ถนนตามรูปข้างล่าง จะเห็นได้ว่าระดับของฝาบ่อต่ำกว่าระดับถนนที่ลาดยางใหม่อย่างชัดเจน อันก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังตรงบริเวณฝาบ่อ การที่ฝาบ่อที่เป็นเหล็กเปียกน้ำหรือมีน้ำท่วงขังอาจก่อให้เกิดความอันตรายกับรถจักรยานหรือจักรยานยนต์ลื่นล้นได้ตรงบริเวณดังกล่าว ทางออกหนึ่งที่อยากจะเสนอคือการออกแบบฝาบ่อพักต่าง ๆ ใหม่โดยออกแบบให้สามารถปรับระดับขึ้นสูงกว่าเดิมเพื่อให้การทำผิวถนนยางมะตอยได้พอดีกันตามแบบร่างด้านล่าง แนวทางคือ ออกแบบฝาบ่อพักโดยให้มีการใช้สกรูตัวหนอนขนาดใหญ่ 4 ตัวติดตั้งบริเวณมุมทั้ง 4 ด้าน เพื่อใช้ไขปรับระดับความสูงของฝาบ่อพักให้สูงใกล้เคียงกับผิวถนน สกรูตัวหนอนจะยึดกับน๊อตตัวเมียขนาดใหญ่ที่สร้างโดยยึดติดกับฝาบ่อ เมือไขสกรูตัวหนอนลงไป แกนของสกรูตัวหนอนจะดีดฝาบ่อให้สูงขั้น อย่างไรก็ดี การลาดยางผิวถนนยังต้องต้องมีการตรวจสอบความลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลลงไปยังฝาบ่อระบายน้ำ จากแบบขยายข้างต้นเราก็จะได้ฝาบ่อพักที่ปรับระดับให้สูงขึ้นได้เพื่อรองรับการทำงานถนนยางมะตอยที่ทำระดับผิวสำเร็จได้ไม่ดี เพื่อลดปัญหาถนนและระดับฝาบ่อพักที่ไม่เท่ากัน …
Continue Reading
Car Parking and Bike Lanes
วันนี้ขอเสนอเรื่องราวที่อาจจะชินตากับทุกท่านที่ใช้เส้นทางบนท้องถนนในตามเช้า สาย บ่าย เย็นครับ คงจะปฏิเสธได้ยากครับสำหรับการใช้รถยนต์ของประชาชนในเมืองใหญ่ ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็น บางครอบครัว ซื้อบ้านอยู่แนวรอบนอกของเมือง อยู่ในถนนซอยที่ไกลออกไป บางแห่งไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับ อันเกิดมาจาก บริษัทฯพัฒนาที่ดิน ไปลงทุนตรงนั้น โดยมองว่าต้นทุนของราคาที่ดินยังต่ำอยู่ อันก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา บนถนนรัชดาภิเษก จากสี่แยกอโศก มุ่งหน้า สี่แยกคลองเตย เป็นที่ตั้งของกลุ่มอาคารสำนักงานจำนวนหนึ่ง ที่ผมใช้เส้นทางเป็นประจำ เกือบทุกวันทำงานจะพบว่ามีการจอดรถยนต์ข้างทางซ้อนคันเพื่อรับส่ง จอดส่งของ จอดรถไปซื้อของ จอดลงไปซื้อหาอาหาร ตลอดเส้นทาง ทั้งที่มีการติดป้ายจราจรห้ามจอดตลอดเส้นทาง รถที่วิ่งด้วยความเร็วบนถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร จะถูกชะลอให้ช้าลงด้วยช่องกลับรถทางด้านขวามือติดกับเกาะกลางถนน จากนั้นจะถูกลดขนาดช่องทางจราจรจาก 4 ลงเหลือ 3 และ 2 ช่องทางบริเวณหน้าสถานที่เรียกว่า ตลาด สร้างปัญหาในการระบายการจราจรจาก ถนนอโศกที่มีขนาดถนนด้านในจริงเพียงฝั่งละ 2 ช่องทาง สิ่งที่เกิดขึ้นถือได้ว่าเป็นปัญหาทางจราจรที่เกิดจากผู้ใช้ เส้นทางไม่ปฏิบัตตามกฎจราจร รวมไปถึงเจ้าพนักงานที่ไม่ทำหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย และกลายเป็นการสร้างปัญหาจราจรให้ติดขัดโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีปัญหาของการทำผิวถนนที่ไม่เรียบ เป็นหลุม มีฝาท่อระบายน้ำที่ไม่ได้ระดับกับผิวถนนอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้เป็นการชะลอความเร็วของรถให้เคลื่อนที่ได้ช้าลง เปรียบเสมือนไขมันอุดตันในเส้นเลือด บางแห่งใกล้สถานที่ก่อสร้างมีการนำกรวยยางมาวางเอาไว้เพื่อให้รถบรรทุกคอนกรีตมาจอดรอเทคอนกรีตบนถนนสาธารณะ บางแห่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาอำนวยความสะดวกของจราจรตอนรถคอนกรีตเข้ามายังหน่วยงานก่อสร้างก็เคยพบ จากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้สร้างปัญหาการจราจรให้ติดขัดมาก จนทางกรุงเทพมหานครได้เสนอแนวคิดใหม่ที่จะห้ามจอดรถยนต์ด้วยการทำทางวิ่งของรถจักรยานแทน …
Continue Reading
FAR & Development in India
ได้มีประสบการณ์ออกแบบงานในประเทศอินเดียมาซักระยะหนึ่งแล้วครับ จะว่าไปก็นานหลายปีแล้วเหมือนกัน จึงอยากนำเรื่องการออกแบบ วางผัง ของโครงการอาคารพักอาศัยในประเทศอินเดียมาเปรียบเทียบกับของบ้านเราครับ ประเทศไทยมีการควบคุม FAR ในกฎหมายอาคารที่ 10:1 และในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการให้สัดส่วน FAR ต่างกันไป เช่น ในกรุงเทพฯ พื้นที่ในย่านพักอาศัยหนาแน่นมาก จะมี FAR ลดลงเหลือไม่เกิน 8:1 และลดหลั่นไปตามลำดับของความสำคัญของแต่ละพื้นที่ ทางด้านกฎหมายอาคารจะกำหนดให้มีพื้นที่อาคารปกคลุมดินและพื้นที่เปิดโล่งสำหรับอาคารพักอาศัยที่ 70:30 และมีการกำหนดให้มีระยะร่นของแนวอาคารห่างจากเขตที่ดินสำหรับอาคารสูงและใหญ่พิเศษที่ไม่น้อยกว่า 6 เมตร รวมไปถึงการอนุญาตให้สร้างอาคารได้สูงไม่เกินสองเท่าของความกว้างถนนด้านหน้าโครงการ นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดจากคณะกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมออกมาควบคุมพื้นที่สีเขียวที่เป็นสัดส่วนกับจำนวนผู้อยู่อาศัยในโครงการนั้น ๆ สำหรับอินเดีย ประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก มีการกำหนดรูปแบบของระยะร่นอาคารจากเขตที่ดิน รวมไปถึง FAR เอาไว้แตกต่างจากบ้านเราพอสมควรโดยยึดโยงกับขนาดความกว้างของถนน เช่น ถนนกว้าง 14.50-20.00 ม FAR 2.25:1 ในเขตพาณิชยกรรม และ 2.50:1 ในเขตอื่น ๆ ถนนกว้าง 20.00-24.00 ม FAR 2.50:1 ในเขตพาณิชยกรรม และ 2.75:1 ในเขตอื่น ๆ ถนนกว้างกว่า 24.00 ม FAR …
Continue Reading
Tactiles IV
สัปดาห์นี้คงเป็นเรื่องของกระเบื้องสำหรับผู้พิการทางสายตาในส่วนทางเดินเท้าภายนอกอาคารครับ การเดินไปตามตามเส้นทางเดินเท้าด้านข้างถนน คนธรรมดาอาจจะรู้สึกอึดอัดได้ในบางครั้งที่จะต้องพบกับสิ่งกีดขวางตามทางเท้า ไม่ว่าจะเป็น เสาป้ายต่าง ๆ ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่นับวันจะหาคนใช้ได้น้อยมากเนื่องจากการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีราคาถูกลงมาก ตู้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า ตู้สาขาของโทรศัพท์ ลวดสลิงหรือค้ำยังเหล็กที่ค้ำยันเสาไฟ เสาไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่สามารถจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ แต่จุดที่ทางเท้าจะต้องถูกตัดขาดเพื่อเป็นทางรถวิ่งเข้าออกอาคารหรือตามบ้านเรื่อนประชาชน นับได้ว่าเป็นจุดที่ค่อนข้างอันตรายเพราะเป็นจุดตัดระหว่างถนนกับทางเท้า จำเป็นที่จะต้องดูแลความปลอดภัยตรวจุดนี้เป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการอำนวยความสะดวกของผู้พิการทางสายตาในการข้ามถนน ตามทางเดินเท้า ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1200 มม ทางเดินราบได้ระดับ เมื่อใดก็ตามที่ทางเดินมีความลาดเอียงเมือพบกับพื้นต่างระดับ ก็จะต้องมีการเตรียม กระเบื้องแบบ Hazard warning tile เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาทราบ มีการทำได้หลายรูปแบบ เช่น แบบขนานกับถนน หรือ แบบตรงมุมโค้งของถนน ทางเดินเท้าบริเวณที่จะข้ามถนน ควรลดระดับเสมอเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเดินหกล้มและเพื่อใช้งานร่วมกับผู้พิการที่ใช้รถเข็น (wheel chair) ความลาดเอียงของทางลาดไม่เกิน 1: 12 ในกรณีที่ทางเท้ามีความกว้างไม่มากแบบในบ้านเรา การทำทางลาดจะมีระยะไม่เพียงพอ จึงต้องทำการลดระดับพื้นโดยลดระดับทางเท้าทั้งช่วงตามรูป 2. ทางเดินเท้าที่เข้าอาคารจะมีการเตรียมกระเบื้องปูพื้นเพื่อช่วยบอกเส้นทางเข้าสู่อาคารโดยมีระยะห่างที่ปลอดภัยจากแนวเปิดของบานประตูตามรูป 3. ทางเดินข้ามถนน โอกาสที่ผู้พิการจะเดินข้ามถนนมีมากและเป็นเรื่องยากลำบากเพราะรถยนต์ที่วิ่งบนถนนมีความเร็วสูง การทำทางข้ามอาจแบ่งออกได้เป็นสองรูปแบบคือ 3.1 ทางเดินข้ามถนนที่มีการลดระดับทางเท้าลงเสมอถนนตามข้อ 1 กรณีที่ถนนมีเกาะกลางจะทำสัญญาณเสียงและราวเหล็กเพื่อบังคับการเดินของผู้พิการทางสายตาไม่ให้ลงไปบนพื้นผิวจราจร และในส่วนของถนนที่ไม่มีเกาะกลางเพื่อความปลอดภัยควรมีการทำราวเหล็กทั้งสองด้านด้วยเช่นกัน 3.2 ทางเดินข้ามถนนที่มีการยกระดับพื้นถนนเพื่อให้คนพิการทางสายตาและผู้ใช้รถเข็น …
Continue Reading
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
This is fantastic! Keep up the good work. ❤️
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…