Flood Protection That Works (KL & Amsterdam)

สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เขียนถึงการป้องกันน้ำท่วมที่ทางการ (กทม) ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ที่น่าสนใจที่สุดคือการเอาแท่งคอนกรีตเบริเออร์ (Concrete Barrier) ที่ใช้สำหรับกันชนรถป้องกันอุบัติเหตุ มาวางตามถนนสายนิมิตรใหม่ ช่วงปลายถนนรามคำแหงถึงถนนร่มเกล้า และตลอดแนวถนนร่มเกล้าไปถึงมอเตอร์เวย์ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ผมสงสารคนกรุงที่มีผู้ปกครองที่มองใกล้แค่เพียงกระเป๋าเท่านั้น สักแต่ใช้งบประมาณไปให้หมด โดยไม่แยแสว่าผลตามมาจะทำให้ผู้คนเดือดร้อนเท่าใด ทั้งๆที่ทราบอยู่ในอกว่า รัฐบาลกำลังจ้างที่ปรึกษาผู้เชียวชาญมาศึกษาและทำการแก้ไขอย่างยั่งยืน เมื่อนั้นแท่งคอนกรีตที่วางไว้ก็ตั้งงบประมาณใหม่มารื้อออก ผมเสียดายงบประมาณมหาศาล(ภาษ๊ของพวกเรา) ที่กทมสูญเสียไปในการก่อสร้างวางแท่นคอนกรีต ตลอดแนวถนนนิมิตรใหม่ และช่วงปลายถนนรามคำแหง และที่อื่นๆที่จะทำ ในขณะเดียวกันผมก็ชื่นชม ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ไม่ว่าจะเป็น การก่อสร้างประตูน้ำกั้นแม่น้ำเทมส์ ในกรุงลอนดอน (River Thames Flood barrier for flood protection in London) ที่ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดเป็นทางการปีพศ 2527 (1984) ประมาณ 30 ปี หรือการก่อสร้างอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วมและถนนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ (Smart Tunnel in Kuala Lumpur) นับเป็นโครงดารที่เพิ่งทำการก่อสร้างแล้วเส็จ ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา และได้รับรางวัลมากมาย หรือการก่อสร้างประตูกั้นน้ำทะเลสำหรับกรุงอัมสเตอร์ดัม (Strom Surge Barrier and Dam …

Continue Reading

The New Foolishness of Flood Protection in Bangkok

Flood ! Flood ! Flood ! ในชีวิตคนกรุงอย่างเราท่านคงหนีไม่พ้น คำว่า น้ำท่วม ปี พศ 2554 เป็นปีที่ทำให้ทุกคนจดจำ หวาดผวา ขวัญเสีย ใจเสีย ทำใจไม่ได้ ตกใจกลัว ลนลาน เสียสุขภาพจิต ทุกๆ 5 นาที ในการสนทนาไม่ว่าเรื่องใด ทุกการสนทนาจะหนีไม่พ้น เรื่องน้ำกำลังมา ศัพท์ทางเทคนิดที่พวกวิศวกรใช้กันเริ่มทำให้คนส่วนใหญ่ได้รู้จัก ไม่ว่าจะเป็น ต้นน้ำ ท้ายน้ำ มวลน้ำ ลูกบาศก์เมตร ระดับน้ำสูงเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก) รวมถึงการมีเชื้อโรค และพิษภัยที่มาจากน้ำ ถ้าคิดในทางบวกก็เป็นการดี ที่สถาณการณ์ได้พัฒนากลายเป็นห้องเรียนให้กับคนไทยส่วนมาก และได้รู้ว่าเมื่อถึงภาวะคับขันคนไทยมีน้ำใจงามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนไทยหลายคนมีจิตอาสาช่วยคนยากในยามที่ภาวะที่ซึมเศร้าอย่างนั้น ภาพถ่ายดาวเทียม ประมาณเดือน ตุลาคม 2554 มวลน้ำจากทิศเหนือเริ่มไหลลงทางใต้ที่ต่ำกว่า เพื่อไหลลงทะเล  ผมคงไม่อยากวิจารณ์ว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมมวลน้ำจึงมีมากมายขนาดนี้ ดูในรูปแล้วยิ่งหวาดกลัว ยิ่งคนที่อยู่ใกล้พื้นที่น้ำท่วมจะมองเห็นภาพได้ดี ตอนที่มวลน้ำไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว เอ่อท่วมบ้านเรือนเกือบถึงชั้น 2 ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง รถยนต์ ยังเอาออกไม่ทัน ทั้งๆที่ มีการบอกข่าวทั้งภาพ และเสียงตลอดเวลา ทั้งรัฐบาล หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็เสนอแนวคิด แนวทางป้องก้นออกมามากมาย ดังเช่น รัฐบาลได้กำหนดการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยิน โดยการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะที่เรียกว่า สำนักงานบริหารจัดการน้ำ และอุทุกภัย (กบอ) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่ โดยกำหนดแผนในการป้องกันน้ำท่วมทั้งอย่างเร่งด่วน และอย่างยั่งยืน …

Continue Reading

Toxic Materials in Thailand, the Case of Asbestos

แร่ใยหิน (asbestos)  หลายคนก็คุ้นเคยและรู้จักอย่างดี แต่หลายคนก็อาจจะไม่รู้จักเลยว่าทำไมหินที่แข็งแกร่งมีใยหินด้วยหรือ แน่นอนบนความแข็งแกร่งก็ย่อมมีความอ่อนนุ่มแฝงอยู่เสมอในธรรมชาติโลกของเรานี้ ลักษณะ ของแร่ใยหิน เป็นเยื้อไฟเบอร์ ดังในรูป   แต่มีคุณสมบัติที่คงทนเนื่องจากเป็นหิน และพิเศษมากมาย กล่าวคือ กันความร้อน และกันไฟ เช่น ใช้ถักทอเป็นเสื้อกันไฟสำหรับนักผจญเพลิง หรือใช้เป็นส่วนผสมในผ้าเบรคสำหรับยวดยานพาหนะ ท่อน้ำร้อนในโรงงาน แม้นกระทั่งในส่วนที่กันความร้อนในไดร์เป่าผม เตาไมโครเวฟ หรือ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า  เป็นต้น วัสดุประสานเพิ่มความแข็งแรง เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีกำลังรับแรงดึงสูง และยืดหยุ่น เช่นใช้ในส่วนผสมกับซีเมนต์ แล้วนำมาทำขึ้นรูปเป็น ท่อระบายน้ำ หรือท่อน้ำประปา แผ่นกระเบื้องมุงหลังคาที่เรารู้จักมานานคือกระเบื้องลอนเล็ก ลอนคู่ เป็นต้น แผ่นกระเบื้องสำหรับทำฝ้าหรือเพดาน หรือส่วนผสมขึ้นรูปพลาสติกหลากหลายรูปแบบ วัสดุฉนวนกันเสียง และกันไฟ เป็นสารผสมใช้ทำเป็นแผ่นวัสดุกันเสียง ใช้เป็นสารผสมฉีดพ่นหุ้มเหล็ก เพื่อให้สามารถกันเพลิงได้เป็นเวลานาน2-4 ชม เป็นสารไม่นำไฟฟ้า จึงใช้เป็นส่วนผสมของอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิด ทนกรด จึงเหมาะอย่างยิ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ไม่ว่าจะเป็นท่อ แบตเตรี หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่ใช้งานโดยตรงกับสารเคมี ราคาย่อมเยาว์เหมาะสำหรับเป็นส่วนผสมในวัสดุดังที่กล่าวข้างต้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีราคาที่คนส่วนใหญ่สามารถจับจ่ายได้   ในโลกนี้ ได้รู้จักแร่ใยหินไม่น้อยกว่า 4,000 ปี และประเทศอังกฤษได้ใช้ประโยขน์จากแร่ใยหินอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงต้นปี คศ 1700 …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from construction)

เรื่องของอาคารป่วยยังขาดเนื้อหาบางประการ อาทิตย์นี้ ผมจึงขอขยายความต่อ ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วย 1. เกิดจากความไม่พิถีพิถันในการก่อสร้าง ผลพวงจากการก่อสร้าง ที่ทำแบบสุกเอาเผากิน  รีบๆทำให้เสร็จๆรับเงินแล้วก็ปัดฝุ่นจากไป ก่อสร้างอย่างไรก็ได้เพราะเจ้าของบ้านไม่รู้ ช่างหลายคนมักจะลักไก่ ขอยกตัวอย่างเช่น ส่วนที่ตาเรามองไม่เห็นช่างมักจะละเลยไม่ทำอะไรในส่วนนั้นเสมอ ถ้าท่านมีเวลาลองเอามือลูบที่ข้างใต้ประตู หรือ ข้างบนประตู เกือบจะร้อยทั้งร้อยที่ ช่างไม้ และช่างสีมักจะแกล้งลืมไม่ทำอะไรเลย  เช่นไม่ขัดไสไม้ให้เรียบ หรือไม่ทาสีเลย จากการกระทำของช่าง จึงเป็นสาเหตุทำให้ประตูไม้ พองตัวในช่วงฤดูฝน เปิด ปิดประตูยาก สาเหตุเกิดจาก ความชื้นในบรรยากาศช่วงฤดูฝนค่อยๆซึมผ่านประตู จากข้างใต้ และข้างบนประตูทำให้ประตูพองตัว ถ้าช่างมีสำนึกที่ดีทาสีในส่วนนี้เช่นเดียวกับส่วนอื่น นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดการพองต้วของประตูไม้แล้วยังจะทำให้ประตูนั้นได้รับการปกป้องอย่างดี และมีอายุยืนยาว หรือช่างบางคนไม่ทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็ก ถ้าเป็นประตูเหล็กก็จะเกิดสนิมทำให้เหล็กค่อยๆผุกร่อนเสียหาย การก่อสร้างอย่างหละหลวมของช่าง เช่นนี้ จึงทำให้เราได้เห็นเหล็กเป็นสนิมตามที่ต่างๆ อยู่เสมอๆ ตามข้อกำหนดช่างสีจะต้องลงสีรองพื้น เวลาทาสีรองพื้นปูนช่างพยายามโน้มน้าวให้เจ้าของอาคารใช้ น้ำยารองพื้นเป็นชนิดสูตรน้ำ (Water base primer) ซึ่งไม่มีกลิ่น และสี เจ้าของบ้านก็ชอบที่ไม่มีกลิ่นรบกวน แต่ช่างกลับเอาน้ำเปล่าทารองพื้นปูนให้เจ้าของบ้านแทน ฯลฯ ทำให้สีที่ทาตามอาคารดูเก่าเร็ว หรือ หลุดร่อน หรือมีราขึ้นตามพื้นผิวคอนกรีตอย่างที่เห็นได้โดยทั่วไปในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่ช่างประปาต่อเชื่อมท่อพีวีซี ไม่มีการเตรียมผิวชิ้นงานให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก หรือคราบน้ำมันแล้วก็ทากาวและติดชิ้นท่อพีวีซีเข้าด้วยกัน ทำให้ในเวลาไม่นานต่อมาท่อรั่ว …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from the exterior)

อาทิตย์นี้ ผมอยากขยายความอาการ และสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายนอกอาคาร ซึ่งจะ  ประกอบด้วย: 1. อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) ประเทศไทย ได้เปรียบในเรื่องภูมิประเทศ หรือตำแหน่งที่ตั้ง ที่เห็นง่ายๆ ช่วงนี้ เกิดมีพายุโซนร้อนแกมี ซึ่งมีศูนย์กลางพายุอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แน่นอนย่อมทำความเสียหายให้แก่พื้นที่จังหวัดเสียมราฐ นั้นมากมายสุดคนานับ และแล้วพายุก็อ่อนตัวลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประเทศไทยจึงได้รับความเดือดร้อนแค่เพียงฝนตกหนัก อาจจะมีน้ำท่วมขังบ้างขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่  สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิทั้งปี แตกต่างกันน้อยมาก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากจนทำให้อาคารเสียหายได้  เว้นแต่ฤดูร้อน และฤดูฝนที่เป็นสาเหตุทำให้อาคารส่วนใหญ่ในประเทศเสียหายได้ และเกือบตลอดเวลาเมื่อฤดูนี้มาเยือน ความร้อน และความชื้นจากแดด และฝน ต่างก่อเกิดความเสียหายคนละอย่าง ดังเช่น เมื่อแสงแดดแผดเผาอาคารมากๆ ไม่เพียงแต่ความร้อนเท่านั้นที่แผดเผาอาคาร ยังพารังสีต่างๆมาด้วยมาทำความเสียหายอย่างอื่นให้แก่อาคาร อาคารแต่ละอาคารต่างก็ก่อสร้างด้วยวัสดุหลายอย่าง ซีเมนต์ หิน ทราย เหล็ก ไม้ อลูมิเนียม กระจก และไฟเบอร์กลาส เป็นต้น เมื่อวัสดุดังกล่าวถูกความร้อน ย่อมแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจาก วัสดุต่างๆ นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนั่นเอง ตัวอย่างที่จะอธิบายให้เห็นง่ายๆ เมื่อแสงแดดอันร้อนแรงสาดส่องไปที่พื้นคอนกรีตที่ประกอบด้วยวัสดุหลากหลายเช่น ซีเมนต์ หิน ทรายและเหล็กเสริม ซึ่งเหล็กจะขยายตัวได้มากกว่าวัสดุอื่นๆที่เป็นส่วนผสมในคอนกรีต ผลคือทำให้คอนกรีตร้าว และอาจจะเสียกำลังในการรับน้ำหหนักได้ …

Continue Reading

Sick Building Syndrome ( SBS )

มนุษย์ป่วย สัตว์ป่วย หรือ พืชป่วย น่าจะเป็นเรื่องปรกติ ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่เรากำลังพูดถึง อาคารป่วย คงมีคำถามตามมามากมาย อาคารคอนกรีต อาคารเหล็ก อาคารไม้ ป่วยเป็นเหรอ? ใครจะเป็นหมอรักษาอาคารป่วยได้ จะวินิจฉัยโรคได้อย่างไร อะไรคือสาเหตุทำให้อาคารเหล่านี้ป่วย จะเอายาอะไรให้อาคารกินดี  ยาแผนปัจจุบัน หรือยาแผนโบราญ ถ้าป่วยหนักๆ จะเอาเข้าเครื่องสแกนเพื่อวินิจฉัยโรดได้อย่างไร เมืองไทยยังไม่ถือเอาเรื่องอาคารป่วยมาเป็นสาระสำคัญ  อาการป่วยของอาคารแท้จริงแล้วเป็นเรื่องใหญ่หลวงมาก หลายตนคงนึกไม่ถึง อาคารป่วยได้จาก ภายในอาคาร และจาก ภายนอกอาคาร พอสรุปโดยสังเขปได้ว่า อาการป่วยภายนอกอาคาร ประกอบด้วย อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) รังสีที่แผ่มาจากบรรยากาศ (Ultra Violet)  และรังสีที่แผ่มาจากใต้ดิน (Radon) ความชื้นจากบรรยากาศ (Ambiance Moisture) จากน้ำค้าง จากน้ำฝน จากหมอก จากหิมะ และลูกเห็บ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโลก เช่น แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม และดินทรุดตัว เป็นต้น อาการป่วยที่เกิดจากภายในอาคาร เป็นผลพวงที่ตามมาจากการก่อสร้าง ทำให้เกิดปัญหาภายหลัง เช่นอาคารทรุดตัว อันเนื่องจากปัญหาของฐานราก การที่คาน …

Continue Reading

The Life of a Pedestrian in Bangkok

ชีวิตของคนกรุงอย่างเราท่าน ในแต่ละวันย่อมมีโอกาสได้ลุกเดินออกไปบ้าง เพื่อประกอบธุระกิจการงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน แต่มีอย่างหนึ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเดินไปตามที่ต่างๆในกรุงเทพมหานครของเรา สภาพทางเท้า หรือ ฟุตบาท ที่ถูกร่วมกันใช้ประกอบกิจ ที่หลากหลาย บ้างก็ใช้เป็นที่พัก บ้างก็ทำเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นทั้งตลาด เป็นวินรถมอเตอร์ไซด์ ทำสวนส่วนตัวไว้หน้าบ้าน ท่ามกลางการใช้ประโยชน์บนทางเท้า อย่างมากคณานับ ความปลอดภัยของผู้เดินเท้า (pedestrian) ก็ค่อยๆ หายไป บางทีต้องเดินหลบร้านส้มตำที่อยู่บนทางเท้าลงไปเดินในถนนแทน แล้วก็เสี่ยงกับการถูกรถเฉี่ยวชน บางที่ ผจญกับทางเท้าที่กำลังซ่อมแซมโดยไม่มีป้ายเตือนบอกเหตุเลย หลายคนได้รับบาดเจ็บจากวัสดุก่อสร้างที่วางไว้อย่างระเกะระกะ บางคนเดินตกหลุมซึ่งเป็น บ่อพัก (manhole) ทางเท้าบางช่วงเสียหาย คนพิการต้องเดินทางอย่างทุลักทุเล ทางเท้าบางแห่งเจ้าของห้างใหญ่เอาป้ายโฆษณามากั้นไว้อย่างหน้าตาเฉย มีอะไรไหม ยังไม่ได้รวมถึงน้ำที่หยดลงมาจากกันสาดที่อยู่เหนือทางเท้าเมื่อเวลาฝนตก นี่คือความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางส่วนหนึ่งของคนกรุงเทพมหานคร แต่ทางเท้าหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ก็สวยงามน่ารื่นรมย์ อยากให้กรุงเทพของเราเป็นอย่างนี้ทั้งหมดจังเลย เราในฐานะนักออกแบบก็อยากเห็นกรุงเทพมหานคร มีทางเท้าสะอาด สวยงาม มีความปลอดภัยในการ  เดินทาง ไม่มีคนที่เห็นแก่ตัว เอาสถานที่ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติ นำไปใช้สำหรับตัวเองผู้เดียวจนลืมนึกไปว่า คนอื่นก็ยังค้องใช้เช่นกัน และคนเดินบนทางเท้าหลายคนก็ได้ชำระภาษีให้แก่รัฐบาล เพื่อเป็นงบประมาณนำมาสร้างและบำรุงรักษาทางเท้าเหล่านั้นให้มีสภาพที่ดี เพื่อทุกคนจะได้มีโอกาสใช้ทางเท้าได้อย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิต

Continue Reading

Are Tac Tiles leading the blind to danger?

คงไม่มีใครปฎิเสธว่าไม่เคยเดินบนทางเท้า หรือ บาทวิถี หรือฟุตบาท ในที่ๆแตกต่างกันไป แต่จะมีสักกี่คนที่เคยสังเกตุว่า บนทางเท้านั้นมีลวยลายอะไรอยู่บนนั้นบ้าง และนอกเหนือจากลวยลายบนทางเท้าแล้วยังมีการวางกระเบื้องปูพื้นอีกชนิดหนึ่งบนนั้นคือ กระเบื้อง Tac tiles หลายคนคงสงสัยว่า  Tac Tiles หมายถึงอะไร หรือไม่เคยสังเกตุเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะความเร่งรีบ ในแต่ละวัน หรือ เป็นเรื่องไกลตัว Tac tiles คือ กระเบื้องปูพื้นสำหรับนำทางคนตาบอดนั่นเอง ที่เราเห็นบนทางเท้าในกทม หรือ เทศบาลในจังหวัดต่างๆ ที่ใช้กระเบื้องชนิดนี้ปูบนทางเท้า ซึ่งโดยมาตรฐานของ กระเบื้องปูพื้นชนิดนี้ คือ จะมีรอยนูนด้านบน เป็น 2 รอย คือ รอยยาวในแนวนอน และเป็นรอยกลม ซึ่งการใช้งานของกระเบื้อง 2 ชนิดแตกต่างกัน คือ กระเบื้องรอยในแนวนอนสำหรับปูทางเดิน เพื่อเป็นรอยทางให้คนตาบอดได้เดินไปในทิศทางนั้น หรือ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกระเบื้องนำทาง และเมื่อเดินไปสะดุดเอากระเบื้องซึ่งเป็นรอยกลม ที่ได้ปูไว้สำหรับเป็นจุดเตือนให้หยุดเคลื่อนที่ชั่วขณะ และต้องพิจารณาต่อไปว่าจะไปทางไหนได้จากจุดนั้น กล่าวคือ จะต้องเลี้ยวซ้าย หรือ เลี้ยวขวา หรือหยุดรอเพื่อข้ามถนน เป็นต้น ดังนั้นจุดประสงค์ ของการปูกระเบื้องชนิดนี้บนทางเท้า ก็เพื่อความปลอดภัยให้คนตาบอดได้เดินไปโดยเฉพาะ ตัวอย่างการปูกระเบื้องชนิดนี้ …

Continue Reading

Simply put: Building Inspection _ สรุปการตรวจสอบอาคาร

ตามที่ผมได้เขียนไว้ใน blog ต่อเนื่องนับเป็นอาทิตย์ที่ 3 เริ่มตั้งแต่ข้อกำหนดทางกฏหมายว่าด้วยการตรวจสอบอาคาร ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 ธํนวาคม พศ 2548 พร้อมกำหนดประเภทของอาคารที่เข้าข่ายตามข้อกำหนดในกฏกระทรวง ที่จะต้องทำการตรวจสอบสภาพอาคารโครงสร้างของตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบต่างๆของอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง และปลอดภัยในการใช้อาคาร กล่าวโดยสังเขปประเภทของอาคารที่ต้องทำการตรวจสอบ 9 ประเภท คือ อาคารที่มีขนาดใหญ่ อาคารสูงเกิน 23 เมตร อาคารชุมนุมคน โรงงานขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ โรงมหรสพ โรงแรม สถานบริการ อาคารชุด โดยเป็นอาคารที่ได้ก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จะต้องทำการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรกให้แล้วเสร็จ และเสนอรายงานผลการตรวจสอบแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กฏกระทรวงมีผลบังคับ โดยการรับรองจาก บุคคล หรือนิติบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักควบคุม และตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ถ้าสงสัยว่าอาคารใดอาคารหนึ่งนั้นเข้าข่ายที่จะต้องทำการตรวจสอบอาคาร หรือไม่ ได้ในblog ที่ผมเขียนตาม link นี้ ได้ www. หรือจาก website ของกรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร http://services.dpt.go.th/mm_auditbldg/  ในwebsite ดังกล่าวยังสามารถตรวจหารายชื่อ ที่ยู่ของบุคคล หรือ …

Continue Reading

Fire safety is everyone’s business

Over and over again, I am walking in my home town wondering why are the basic health and safety rules totally ignored. The level of education of our population is increasing rapidly, our life style developing fast, but our awareness of how dangerous certain things are is still shocking. I am talking about fire protection in multistory buildings we live, …

Continue Reading