Concrete for construction
เป็นที่ทราบดีว่า คอนกรีต ซึ่งเป็นส่วนผสมจากจากวัสดุธรรมชาติ หลักๆเพียง 4 ชนิด คือ ปูนซีเมนต์ ทราย หินบด หรือกรวด และน้ำสะอาด ก็สามารถหล่อให้เป็นรูปทรงต่างๆได้มากมาย จากส่วนเล็กๆ เช่นทางเดิน ไปจนถึงตึกระฟ้า และวิวัฒนาการการใช้คอนกรีตก็เพิ่มมากขึ้น เทียบเท่ากับความสูงของตึกที่นับวันจะสูงขึ้นๆ เราใช้คอนกรีตในการก่อสร้างมากขึ้นทุกวัน ในช่วงปีที่ผ่านมา ตามสถิติ ประชากรโลกได้ใช้คอนกรีต เป็นจำนวนประมาณถึง 11,000 ล้านเมตริกตัน ในงานก่อสร้างต่างๆ ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. คอนกรีต เป็นวัสดุที่ทนทานต่อน้ำอย่างเป็นเลิศ ซึ่งวัสดอื่นไม่สามารถต้านทานน้ำได้เหมือน ดังเช่น ไม้ หรือ โลหะทั่วๆไป คอนกรีตเปือยจึงใช้ในการก่อสร้าง เขื่อน ฝาย ดาดคลองระบายน้ำ กำแพงกันดิน และ ถนน เป็นต้น ที่เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกรณีน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ภาครัฐได้ทำการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ฝายกั้นน้ำ ทำนบกั้นน้ำ และอีกมากมายจากคอนกรีต นอกจากนั้น ส่วนประกอบต่างๆของอาคารเช่น เสาเข็ม ฐานราก พื้น คาน เสา ผนัง ดาดฟ้าส่วนที่สัมผัสน้ำ …
Continue Reading
The Dangers of Construction
จะเห็นได้ว่าเมืองไทย ก็มี หอเอน เหมือนกัน แต่ในที่สุดหอเอนแห่งรังสิตของเราก็ต้องถูกทุบทิ้ง เสียทั้ง เงิน เสียทั้งเวลา ด้วยความประมาทในการก่อสร้าง อาคารนี้ ถูกประกาศเป็นอาคารอันตราย ดูภาพใกล้ของอาคาร ด้านล่าง งานก่อสร้างโดยรวมมักจะมีความอันตรายอยู่ในตัวอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า ที่ใดมีการก่อสร้างที่นั่นมักจะติดป้ายประกาศเตือน อาจจะเหมือนดังข้างล่าง ดังนั้นเมื่อทำงานอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างนอกจาก มีความตั้งใจทำงานอย่างไม่ประมาทแล้ว แล้วอุปกรณ์พื้นฐานจงสวมใส่อย่าได้ออมชอม ต้องสวมใส่ตลอดเวลาจนเป็นนิสัย ผมเคยทำงานที่ซาอุ ฯ เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว คนงานต้องปีนขึ้นไปผูกเหล็กเพื่อทำกำแพงสูงประมาณ 5 เมตร ได้ ปีนปายอย่างน่ากลัวเมื่อมองจากข้างล่าง เราต้องเรียกเขาลงมาให้ไปเบิกเข็มขัดนิรภัย ( Safety Belt) ใส่ ปรากฏว่า เขาใส่มันไว้เหมือนกัน แต่ไม่ได้ล็อคไว้กับเหล็ก แต่กลับคล้องไว้ที่บ่าแทน คล้ายๆกับว่า เมื่อนายช่างสั่งผมก็ทำตามแต่ไม่ได้ทำจริง โชคดี ช่างเหล็กคนนั้นไม่ได้ตกลงมา ที่Site งาน เราจะแจกหมวก รองเท้านิรภัย และถุงมือหนังให้คนงานทุกคน ในตอนนั้นผมต้องคุมงานอยู่กับช่างและกรรมกร นับร้อยคน หมวกนิรภัย ( Hard Hat) ช่วยป้องกันศรีษะผมได้อย่างดี ผมเองก็ชอบเดินไปชน ไม้แบบ หรือสิ่งกีดขวาง …
Continue Reading
The Dangers of Air-Conditioning
เครื่องปรับอากาศ กลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีวิตของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทย และหลายๆประเทศในโลก เครื่องปรับอากาศให้ประโยชน์มากมายในการดำรงชีวิต ทำให้คนส่วนใหญโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานในสำนักงาน ถ้าปราศจากเครื่องปรับอากาศ คงทำให้ผลิตภาพ และผลิตผลจากการทำงานในแต่วันลดน้อยลงมากมาย หรือ บางคนอาจจะทนทำงานไม่ได้เลย แม้นแต่การดำรงชีวิตตามปรกติของผู้คนในบ้านก็ต้องอาศัยความเย็นสบายของเครื่อง ปรับอากาศ เพื่อให้การอยู่อาศัยทำกิจวัตรต่างๆได้อย่างไร้กังวลกับความร้อน เหงื่อไหล และกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ฯลฯ เครื่องปรับอากาศ มีมากมายหลายชนิดในปัจจุบัน ให้เราได้เลือกใช้ตามขนาดความจำเป็น ของแต่ละกิจกรรม และ กำลังทรัพย์ อย่างไรก็ตามเครื่องปรับอากาศจะเป็นแบบไหน ชนิดใด ต่างก็ย่อมมีข้อด้อยที่เหมือนกันคือ เป็นตัวนำความอันตรายมาสู่ ผู้อยู่อาศัยภายใต้เครื่องปรับอากาศนั้นๆ อันตราย อย่างไรหรือ ? เครื่องปรับอากาศภายในบ้านถ้าไม่หมั่น ตรวจตรา และทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศแล้ว ตัวเครื่องปรับอากาศเองส่วนที่อยู่ภายในห้อง หรือที่เรียกว่า ส่วนส่งลมเย็น (Fan Coil) อาจจะเป็นอย่างภาพที่เห็นข้างบน เมื่อเครื่องปรับอากาศใช้งานไปเป็นเวลานาน แผ่นกรองอากาศที่ติดอยู่กับเครื่องปรับอากาศเกิดสกปรก โดยทั่วไปเมื่อสิ่งสกปรกเกิดขึ้นมากๆ มักจะส่ออาการให้เราทราบเบื้องต้น คือ เมื่อเวลาเริ่มเปิดแอร์ใหม่ๆจะมีกลิ่น ที่ไม่ประสงค์ ออกมาโดยสามารถรู้สึกได้โดยทันที เช่นถ้าคุณเคยไปรอห้างสรรพสินค้าตอนเปิดร้านใหม่ กลิ่นที่ออกมาจากช่องส่งลมเย็นนั้นเนื่องจาก เกิดเชื้อรา (legionella) ภายในเครื่องปรับอากาศ ตามช่องปล่อยอากาศ หรือบางครั้งช่องส่งลมเย็น เกิดอุดตัน ทำให้ลมเย็นไม่ค่อยออกมา หรือเกิดปัญหาที่เรียกว่า แอร์ไม่เย็น ซ้ำร้ายฝุ่นละอองที่เรามองไม่เห็นก็จะออกมาได้มากขึ้นเนื่องจาก แผ่นกรองอากาศที่ปล่อยประจุไฟฟ้า …
Continue Reading
The Dangers of Road Constructions
เมื่อช่วงวันหยุดสงกรานต์ ที่ผ่านมาผมได้เดินทางออกจากบ้านไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ขับรถวิ่งผ่านไปตามถนน ร่มเกล้า ถนนสายนี้ คือส่วนหนึ่งของคันกั้นน้ำตามโครงการพระราชดำริ (King’s Dike) คือมีค่าระดับความสูงของถนน เทียบเท่ากับ + 2.5 เมตร จากค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (MHL) แต่เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี พศ 2554 ช่วงเดือน ตค ถึง ธค ถึงแม้นว่า ระดับน้ำที่ท่วมสูงสุด ยังไม่สามารถขึ้นมาถึงระดับ + 2.5 เมตร ก็ตาม ทางการก็ได้ทำการติดตั้งแท่งคอนกรีตตรงกลางถนน จากถนนสายไหมมาสิ้นสุดที่ปลายถนนร่มเกล้า ใครนะช่างคิดผลาญเงินภาษีของเราท่านได้แยบยลอย่างน่าเสียดาย ว่าการทำอย่างนี้ จะกันน้ำได้ เท่ากับเอาเงินไปเรียงทิ้งเอาไว้ ที่ยังไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์อันใดนอกจากการขีดเส้นเน้นชัดว่า พื้นที่อีกฝั่งของแท่งคอนกรีตคือพื้นที่น้ำท่วมได้ และพื้นที่ฝั่งตรงกันข้ามก็จะปั๊มน้ำเข้าไปในพื้นที่น้ำไท่วมได้นั้น เงินจำนวนที่ทางการทำการวางแท่งคอนกรีตนี้ มีจำนวนถึง 300 ล้านบาท ตัวเลขกลมๆ เงินจำนวนนี้สามารถสร้างสรรสิ่งที่ดีมีประโยช์นอย่างอื่นได้อีกมากนัก ที่ประเทศนี้ต้องการ แต่นั่นไม่ใช้ ประเด็นที่จะพูดถึงในครั้งนี้ ความจริงตั้งใจจะเขียนเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ บนท้องถนนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มาตรการการเตือนและการป้องกันเพื่อให้ผู้ที่สัญจรไปมา ตลอดเวลาจะได้รับความเดือดร้อน และอุปสรรคในการขับขี่น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาค่ำคืน ดังนั้นผมจึงถือเอาการก่อสร้างแท่งคอนกรีตกันน้ำ เป็นกรณีศึกษา เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ที่หน่วยงานภาครัฐ ปล่อยให้ผู้รับเหมาทำการก่อสร้างอย่างหละหลวม โดยไม่มีการป้องกันแต่อย่างใด ดูภาพประกอบด้านล่าง …
Continue Reading
Bangkok’s Multi-functional Footpaths
-
Geerati Tiasiri
-
March 21, 2013
-
Ponder
-
: ขยะบนฟุตบาท, Bangkok's Footpaths, Bangkok's Multi-functional Footpaths, FENN DESIGNERS, Footpaths in Bangkok, Geerati Tiasiri, ประโยชน์ของฟุตบาท, ภัตตาคารข้างถนน, วินมอเตอร์ไซด์บน, แผงลอยบนฟุตบาท
-
0 Comments
มนุษย์ เราช่างมีความคิดสร้างสรรเสียจริง ทางเท้า หรือ ฟุตบาทที่ทางการได้ทำการก่อสร้างให้คนเดินเท้าได้อาศัยเดินไปไหนต่อไหน เพื่อความสะดวกและปลอดภัย แต่ก็มีคนที่มีความคิดอีกแบบหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากฟุตบาทได้อย่างแยบยล ภาพด้านล่างจะอธิบายได้ดีครับ -ใช้เป็นที่กองขยะไม่สนใจว่าคนเดินได้หรือเปล่า -เป็นตลาดคนเดิน -ใช้เป็นที่ตั้งของภัตตาคารข้างถนน ใช้เป็นที่จอดวินรถมอร์เตอร์ไซด์ -ตกกลางคืนใช้เป็นที่จอดรถสำหรับนักท่องราตรี ด้วยความมักง่ายของผู้คน ประกอบกับทางการบ้านเราได้ใช้หลักมนุษยธรรมฟุ่มเฟือยโดยการหลับตาข้างหนึ่งมากเกินไป กฏก็ไม่เป็นกฎ จึงทำให้บ้านเมืองเข้าสู่สภาพที่เห็นนับวันแต่จะมากขึ้น และมากขึ้น จนทำให้สิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นได้พัฒนากลายเป็นปัญหาถาวรที่ทางการแก้ไขไม่ได้แล้วหรือเปล่า โดยเริ่มต้นจากตัวเราเอง ดังได้เห็นตัวอย่างข้างต้นแล้วจงช่วยกัน ลด ละ เลิก กิจกรรมทั้งหลายเพื่อจะได้ไม่เป็นการส่งเสริมให้พฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นได้ขยายตัวไปมากกว่านี้ เมื่อทุกคนร่วมใจ กรุงเทพบ้านเราอาจจะเป็นดังภาพข้างล่างได้
Continue Reading
Street Hawkers: Mae Kha Solution
การลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ ผลของการเลือกตั้ง ก็ได้สรุปผลเป็นที่เรียบร้อย ท่ามกลางคำมั่นสัญญา จะทำโน้นแก้ไขนี่ ก่อนวันเลือกตั้งเราก็ได้แต่กระพริบตารอคอยดูคำมั่นสัญญานั้นว่าผลจะเป็นประการใด การหาบเร่แผงลอย จะยังคงคู่ทางเท้าของเราไปชั่วนิรันตรใช่ไหม? นโยบายของผู้ว่าฯจะสามารถแก้ปัญหาการหาบเร่แผงลอยได้หรือไม่ ความจริงปัญหาหาบเร่แผงลอยไม่ใช่จะเลวร้ายไปเสียทีเดียว ถ้ามองอย่างใจกว้าง ข้าวของที่วางขายตามท้องถนนและทางเท้าต่างก็ช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยไม่ว่าจะซื้อของ หรือ รับประทานอาหารในราคาย่อมเยาว์ สะดวกไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไกลข้าวของ อาหารเช้า กลางวัน เย็น หรือ รอบดึกต่างก็มารออยู่เกือบชิดรั้วบ้านหรือสถานที่ทำงาน ช่างสะดวกสบายเสียจริงประเทศไทย ก็ให้โอกาสคนจนได้มีโอกาสทำมาหากินบ้างสิเขาจน และดูสิพวกเขามอซอทั้งนั้น ขายของก็เพียงหาเช้ากินค่ำเท่านั้นเอง ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง พวกหาบเร่แผงลอย ต่างกรีดขวางทางเดินเท้า บางที่เราต้องเดินหลบลงไปบนถนนเพื่อเดินต่อไปข้างหน้าเกือบโดนรถที่วิ่งผ่านมาพอดีชนเอา บางพื้นที่ตามที่เราทราบไม่มีทางเท้า แม่ค้าหาบเร่ก็ตั้งภัตตาคารสัญจรของเขาบนส่วนหนึ่งของถนน ทำให้รถที่วิ่งผ่านไปมาต้องคอยหลบเพราะจะเฉียวชนเอาคนที่นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ภัตตาคารนั้น พวกหาบเร่แผงลอยขายของได้เงินไม่มีการเสียภาษี ดังเช่นมนุษย์เงินเดือนอย่างพวกเรา น่าอิจฉาไหม ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นชาวหาบเร่แผงลอยส่วนใหญ่มีรถปิคอัพเป็นของตัวเอง ขับมาแต่เช้าขนข้าวของที่จะขาย หรือ สัมภาระที่ใช้ในการทำอาหารขายเมื่อเอาของลงหมดแล้วก็ขับรถไปจอดไว้ตามที่ต่างๆ พอตกเย็นก็มาขนของกลับไปทำอย่างนี้ทุกวันเว้นวันอาทิตย์ เนื่องจากไม่มีผู้มาทำงานในวันนั้น บรรดาร้านอาหารบนทางเท้า ตกตอนเย็นก็จะทำความสะอาดจานชาม เศษอาหารที่เหลือส่วนหนึ่งใส่ถุงทิ้งตามทางเท้าเพราะกทมมาเก็บไปแต่เช้ามืด อีกส่วนหนึ่ง รวมเศษน้ำมันก็มักจะเททิ้งลงตรงท่อระบายน้ำที่ติดกับภัตตาคารของเขานั่นเองใกล้ดี ส่วนข้าวของก็วางกองไว้ที่นั่นเลย บางรายเอาผ้าคลุมไว้ พอตกกลางคืนบรรดา สัตว์เลี้ยง และที่ไม่เลี้ยงก็ออกคุยหาเศษอาหารก็ทำให้อิ่มท้องได้ทุกวัน อนิจจา สุขอนามัยคนกรุง โดยเฉพาะอาหารที่ขาดสุขลักษณะที่ดี อย่างที่กล่าวมาทำให้คนกรุงได้รับเชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายทุกครั้งที่ทานอาหารแบบนี้อย่างจำยอม อัตราผู้ได้รับเชื้อก็เพิ่มขึ้น ทั้งอหิวาตกโรค โดรท้องร่วง …
Continue Reading
Motorcycle Dilemma (part 2)
-
Geerati Tiasiri
-
March 4, 2013
-
Ponder
-
Bangkok, FENN DESIGNERS, Geerati Tiasiri, Motorcycle Dilemma, Motorcycles, Motorcycles in Bangkok, กีรติ ตียาสิริ, ผู้ซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์, มอเตอร์ไซด์รับจ้าง, วินมอเตอร์ไซด์, สถิติการเกิดอุบัติเหตุ, อุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน
-
0 Comments
การที่เรามีขบวนการรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างหรือที่กลายสภาพเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดจิ๋ว ถึงแม้นว่าจะช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางไปทำงานได้อย่างรวดเร็ว สะดวก แทบจะเดินออกจากบ้านก็สามารถเดินทางไปถึงที่ทำงานได้เลย เมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบการขนส่งมวลชนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งต้องเดินออกจากบ้านมาขึ้นรถ 2 แถวออกจากซอยหน้าบ้านไปยังถนนใหญ่ เพื่อนั่งรถเมล์ อีก 1-3 ต่อกว่าจะไปถึงที่ทำงานได้ดังนั้นระบบรถมอเตอร์ไซด์จึงเจริญเติบโตมาได้เท่าทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามเราก็ได้รับผลกระทบของการมีระบบขนส่งมวลชนขนาดจิ๋วนี้ แตกต่างกันไป ดังเช่น พวกเขาจอดรถขวางทางเท้า บางที่แทบไม่มีที่ให้คนเดินเอาเสียเลย พวกเขาจอดรถขวางทางรถยนต์ ต้องเบียดรถพวกเขาเข้าออกในซอยเล็กๆ บางที่เจอเขาเดินมาบอกว่า อย่ามาจอดรถตรงนี้ เพราะที่นี่ คือ วินมอเตอร์ไซด์ (ไม่ทราบใครเสียภาษีบำรุงกรมขนส่งทางบกมากกัน) เคืองแต่ก็ต้องหลบเพราะกลัวเขากรีดรถหรือ เอาตะปูแทงยางรถเรา พวกเขาทำกำบังฝนและแดด แฮนเมด ด้วยเศษวัสดุต่างๆ ที่พอหาได้ เป็นมลพิษทางสายตาอย่างยิ่ง ท่ามกลางความสดวกสบายในการเดินทางไปทำงานของผู้คน และก็ลืมไปว่าการนั่งรถมอเตอร์ไซด์นั้นอันตรายเพียงใด อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถึงแม้นว่ารัฐจะออกกฎหมายให้ผู้ซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์ต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย แต่ด้วยความมักง่าย หรือ เรื่องสุขลักษณะส่วนตัวทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ยอมสวมหมวกนิรภัย สำนักสถิติแห่งชาติ ได้สรุปผลการสำรวจจากประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปในปี 2553 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 50.3 ล้านคน – ผู้ที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน จำนวน 48.7 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 96.9 – และมีผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางถนนจำนวน 1.6 …
Continue Reading
Motorcycle Dilemma
ในน้ำมีปลา ในถนนมีรถเยอะมาก ประเทศไทยนี่อุดมสมบรูณ์ จริงเชียว การเดินทางของผู้คนในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพ ช่างมีรูปแบบในการเดินทาง หลากหลายเสียจริง ลองมองดูตามท้องถนนเล่นๆ ในกรุงเทพมีระบบขนส่งมวลชน ครบถ้วนตั้งแต่ขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดเล็กแบบนาโน เลยที่เดียว ขนาดใหญ่ แท็กซี่ ที่สร้างสีสรรมากมายในบ้านเรา คนต่างชาติมักกล่าวขวัญถึงเสมอ ตุ๊ก ตุ๊ก ต่างชาติมาไทยถ้าไม่ได้ขึ้น ถือว่า มาไม่ถึงเมืองไทยทีเดียว ขนาดจิ๋วแต่แจ๋ว เทียบชั้นนาโน ระบบขนส่งมวลชนระบบนี้ ที่มีที่เดียวในโลกก็ว่าได้ “มอเตอร์ไซด์” ที่สามารถส่งผู้โดยสารถึงที่ รวดเร็ว ตรงเวลา ตื่นเต้น เร้าใจ หวาดเสียวตลอดการเดินทาง เมื่อนั่งโดยสารไปกับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเหล่านี้ ระบบมอเตอร์ไซด์ได้กลายเป็นสัญญลักษณ์หนึ่งของการเดินทางที่คล่องตัว ปราดเปรียว ที่เกิดจากการช่วยเหลือตัวเองของกลุ่มคนที่ต้องการเดินทางจากบ้านไปทำงาน เพื่อผจญกับการครองชีพอย่างในกรุงเทพ และที่ได้อาศัยอยู่ในประเทศที่รัฐบาลดำเนินการแต่ละอย่างชักช้า กว่าจะตั้งงบประมาณซื้อรถเมล์ หรือ สร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแต่ละที และรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างจึงได้ค่อยๆก่อกำเหนิด ขึ้นมาท่ามกลางการขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนในการเดินทางสำหรับเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร รถมอเตอร์ไซด์รับจ้างขนคนได้ที่ละคน แต่ก็รวดเร็ว และเพิ่มจำนวนขึ้นมากมายในปัจจุบันทำให้หลายคนอาศัยระบบนี้ และระบบนี้ได้ช่วยชีวิตเราท่านหลายต่อหลายครั้ง เมื่อจะต้องไปที่ใดก็ตามให้ทันเวลา ไปในที่ที่รถติดมากๆๆ ซึ่งเป็นของแถมที่ไม่อยากได้บนท้องถนน และนับวันรถมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล ที่สนับสนุนให้คนหนุ่มมีรถคันแรก และก็เอาภาษีของคนที่จ่ายภาษีไปแถมให้คนที่ซื้อรถคันแรก คนละแสน
Continue Reading
Traffic Signs in Thailand
AH12 Asian Highway # 12 คนเราย่อมมีการเดินทางเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิต ไม่ว่าจะเดินทางใกล้ไกลเพียงใด ภายในจังหวัด อำเภอหรือ เดินไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วไทย ป้ายบอกทางจราจร ช่วยให้เราเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางมานับครั้งไม่ถ้วน ลองนึกภาพดูว่าถ้าไม่มีป้ายบอกทาง เราคงไปไหนต่อไหนลำบาก ถ้าไม่รู้จัก หรือคุ้นเคยกับสภาพท้องที่นั้นๆ ผมคนหนึ่งถ้าปล่อยให้ผมขับรถไปเอง ในที่ๆ ผมไม่คุ้นเคยเช่นในกทม ผมคงจอดถามชาวบ้านข้างทางนับครั้งไม่ถ้วน ป้ายจราจรได้ให้ความสะดวกในการเดินทางแก่เรามากมาย ผมยังคงเป็นคนโบราญ ที่มักศึกษาเส้นทางก่อนการเดินทาง ยังคงดูแผนที่ทางหลวงเมื่อจะเดินทางไปในต่างจังหวัดที่ไม่เคยไป จากนั้นก็อาศัยป้ายจราจรนี่แหละช่วยนำทางไปยังจุดหมายที่ต้องการไป ป้ายบอกทางนอกจากจะบอกว่าไปทางไหนแล้วยังบอกระยะทางให้เราได้ทราบว่าเราอยู่ใกล้ไกลที่ไหนแล้ว ทำให้เราคะเนได้คร่าวๆว่าเมื่อไหร่จะถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะไป ในปัจจุบัน ป้ายทางหลวงระหว่างเมืองเราจะเริ่มเห็นป้าย สีน้ำเงินเขียนว่า AH12 หมายถึง ถนนเอเชี่ยนไฮเวย์หมายเลขที่ 12 (Asian Highway #12) ผมก็เข้าใจว่า ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกต่างก็ทำป้ายรูปลักษณ์เดียวกันนี้ ติดตามถนนสายสำคัญเพื่อรองรับกการเปิดประเทศในกลุ่ม AEC ในปีพศ 2558 และเป็นการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ AEC ด้วยกัน ให้สามารถเดินทางได้สะดวกปลอดภัยมากขึ้น ขึ้นชื่อว่าประเทศไทย ท่านทราบหรือไม่ว่า ในแต่ละวัน ป้ายจราจร หรือป้ายบอกทางถูกขโมยไปมากมาย คนพวกนี้เพียงเอาเศษเหล็กจากตัวป้ายไปขายได้ไม่กี่บาทเท่านั้นเอง แต่ก็เป็นเรื่องให้ปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทอย่างมาก …
Continue Reading
Understanding the Dynamics of Water to Prevent Flood
คนส่วนใหญ่คงจำได้เรื่องฝนพันปีที่เคยท่วมทำความเสียหายให้แก่ประเทศไทย และ กรุงเทพมากมาย เมื่อสมัยที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ปี 2528 และทุกคนคงจำได้ไม่ลืมเลือนถึงความตระหนกกลัว เมื่อปีที่แล้ว(2554) ที่มวลน้ำเหนือไหลบ่าเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร ผสมโรงกับน้ำฝนที่ไหลหลั่งลงมาจากฟากฟ้าวันแล้ววันเล่า เท่าที่จำความได้ ยังไม่เคยมีปีไหนที่น้ำเหนือจะไหลบ่าลงมาด้วยมวลน้ำที่มากมายมหาศาลขนาดนี้ จาก 2 เหตุการณ์ที่กล่าวถึงข้างต้น ต่างเกิดจากธรรมชาติ ช่างโหดร้ายเหลือเกิน ที่ทำให้ฝนตกมากผิดปรกติ เหตุการณ์แรกเขื่อนที่อยู่ด้านเหนือน้ำ ได้รับการบริหารจัดการอย่างดี เก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนในปริมาณที่เหมาะสม กรุงเทพจึงต่อสู้กับภัยจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ส่วนเหตุการณ์ที่ 2 ที่ผ่านเราไปหยกๆ เขื่อนต่างๆ ไม่ได้รับการบริหารจัดการที่เหมาะสม หรืออีกนัยหนึ่งคือ เขื่อนทุกเขื่อนต่างเก็บกักน้ำไว้เต็มปริมาณความจุของตัวเขื่อน เมื่อเกิดเหตุผิดปรกติ คือ มีดีเปรสชั่นเกิดขึ้น 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน และด้วยเคราะห์กรรมซ้ำเติม ที่ทำให้ปริมาณน้ำฝนจำนวนมหาศาลไปตกหลังเขื่อน หมายความว่า เขื่อนเหล่านั้นที่มีน้ำเต็มเขื่อนอยู่แล้ว ไม่สามารถรับน้ำฝนที่ไหลเข้าเขื่อนเพิ่มเติมได้อีก ต่างต้องรีบปล่อยน้ำออกจากเขื่อน อย่างมากมายเพราะกลัวเขื่อนพังทลาย เป็นธรรมดาที่น้ำย่อมไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ น้ำจากเขื่อน จึงไหลท่วมจังหวัดต่างๆ ที่อยู่ท้ายเขื่อน อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทมุธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานครในที่สุด ดังนั้น เราต้องตั้งสติให้ดี วิเคราะห์ให้ถูกจุดว่า จะรับมืออย่างไรกับธรรมชาติ หน่วยงานของรัฐต้องมีวิสัยทัศน์ …
Continue Reading
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
This is fantastic! Keep up the good work. ❤️
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…