การออกแบบบันไดหนีไฟ
- Tarkoon Suwansukhum
- October 5, 2012
- Wellness
- architecture, Building Code, construction, Design, FENN DESIGNERS, Interior Design, Law, Regulations, Tarkoon Suwansukhum
- 0 Comments
บันไดหนีไฟ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ที่มีกฎหมายอาคารออกข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผู้ออกแบบยึดเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สอยอาคาร กฎหมายอาคารที่ควบคุมรายละเอียดของบันไดหนีไฟ รวมถึงมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบันไดหนีไฟ มีดังต่อไปนี้
- กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง)
- กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (ใช้สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร)
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2544
- ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
- กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548
- ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ใช้ควบคุมอาคารในส่วนของบันไดหนีไฟ และเนื่องจากการที่มีการออกกฎหมายออกมาหลายฉบับนี่เอง จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และยึดโยงในส่วนข้อกำหนดของกฎหมาย หากจะแบ่งขนาดของอาคารเพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบ อาจแบ่งการออกแบบบันไดหนีไฟ ออกเป็นสองประเภทตามกฎหมายควบคุมอาคารดังนี้
- บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร
- บันไดหนีไฟสำหรับอาคาร
องค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับบันไดหนีไฟ เพื่อให้อาคารถูกต้องและเกิดความปลอดภัย สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร รองรับความต้องการของผู้พิการ อาจกำหนดได้ดังนี้
บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร
- ผนังทึบ ทนไฟ
- ประตูบันไดหนีไฟขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 850 มม สูง 2000 มม พร้อมอุปกรณ์ทำให้บานประตูปิดสนิท บานประตูเปิดเข้าสู่ตัวบันได ยกเว้นชั้นดาดฟ้า หรือชั้นล่างที่เข้า-ออก เพื่อหนีไฟสู่ภายนอกของอาคาร
- บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 900 มม และไม่เกิน 1500 มม
- ชานพักบันไดระหว่างประตูกับบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 1500 มม และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได
- ชานพักบันไดกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
- ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 220 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 200มม กรณีที่จะใช้บันไดนี้เป็นบันไดหลักสำหรับผู้พิกาด้วย ต้องออกแบบ ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 280 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 150 มม
- บันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องจัดให้มีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้ โดยให้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร
- ราวจับสูงจากพื้นไม่เกิน 900 มม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มม เมื่อติดที่ผนังส่วนที่ยื่นออกมาจะต้องไม่เกิน 100 มม
- ราวกันตก สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1100 มม ช่องเปิดของซี่ลูกกรงต้องมีขนาดที่ไม่สามารถให้วัตถุทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มม ลอดได้
- ป้ายบอกเลขชั้นของบันได ระบุชั้นล่างสุดและชั้นบนสุดในบันไดหนีไฟ และบอกทิศทางปล่อยออก
- ทางปล่อยออกต้องเปิดออกสู่ภายนอกอาคารที่เป็นลานโล่งหนีไฟ คำนวณจากจำนวนผู้ใช้อาคาร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร
บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูง
- ผนังทึบ ทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
- ประตูบันไดหนีไฟขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 850 มม สูง 2000 มม พร้อมอุปกรณ์ทำให้บานประตูปิดสนิท บานประตูเปิดเข้าสู่ตัวบันได ยกเว้นชั้นดาดฟ้า หรือชั้นล่างที่เข้าออก เพื่อหนีไฟสู่ภายนอกของอาคาร
- บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 900 มม และไม่เกิน 1500 มม
- ชานพักบันได ระหว่างประตู กับ บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 1500 มม และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได
- ชานพักบันไดกว้างไม่น้อยกว่า ความกว้างของบันได
- ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 220 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 200มม กรณีที่จะใช้บันไดนี้เป็นบันไดหลักสำหรับผู้พิการด้วย ต้องออกแบบ ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 280 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 150 มม
- บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องจัดให้มีระบบอัดลมภายในบันได ที่มีผนังสามารถเปิดระบายอากาศได้ ต้องมีช่องเปิดทุกชั้น เพื่อช่วยระบายอากาศ
- ราวจับสูงจากพื้นไม่เกิน 900 มม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มม เมื่อติดที่ผนังส่วนที่ยื่นออกมา จะต้องไม่เกิน 100 มม
- ราวกันตก สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1100 มม ช่องเปิดของซี่ลูกกรง ต้องมีขนาดที่ไม่สามารถให้ วัตถุทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มม ลอดได้
- ป้ายบอกเลขชั้นของบันได ระบุชั้นล่างสุด และชั้นบนสุดในบันไดหนีไฟ และบอกทิศทางปล่อยออก
- ทางปล่อยออกต้องเปิดออกสู่ภายนอกอาคารที่เป็นลานโล่งหนีไฟ คำนวณจากจำนวนผู้ใช้อาคาร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร
Related Posts
- Lydia Tiasiri
- September 16, 2012
Why shouldn’t a condominium be a home as well??
Let’s start today with a reflection: size isn’t everything some would say….bu ..